วันศุกร์, พฤษภาคม 17, 2567

อ่างเก็บน้ำมวกเหล็กและฝายบ้านซับตะกอง ขุมทรัพย์มีค่าของชาวสระบุรี

by Smart SME, 9 กรกฎาคม 2562

โครงการฝายบ้านซับตะกอง

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทานส่งมอบฝายบ้านซับตะกองพร้อมระบบส่งน้ำให้ อบต.ลำพญากลางเป็นผู้ดูแลต่อ

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทานส่งมอบฝายบ้านซับตะกองพร้อมระบบส่งน้ำให้ อบต.ลำพญากลางเป็นผู้ดูแลต่อ

สำหรับโครงการฝายบ้านซับตะกอง ตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ 12 บ้านซับตะกองตำบลลำพญากลาง อำเภอมวกเหล็กมีลักษณะเป็นฝายทดน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กพร้อมระบบส่งน้ำ ความสูง 3.50 เมตร ยาว 34 เมตร ระบบคลองด้านหน้าฝาย ระยะทางประมาณ 1.50กิโลเมตร ก่อสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนน้ำสำหรับการทำการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในพื้นที่ และเป็นโครงการที่นำ Agri-map มาดำเนินการออกแบบระบบส่งน้ำ ตามนโยบายของ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในขณะนั้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ กรมชลประทานจึงดำเนินการส่งมอบภารกิจให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลลำพญากลางเป็นผู้ดูแลต่อไป

บรรยากาศรอบฝายบ้านซับตะกอง

บรรยากาศรอบฝายบ้านซับตะกอง

บรรยากาศรอบฝายบ้านซับตะกอง

บรรยากาศรอบฝายบ้านซับตะกอง

ด้านนายชูพงศ์ อิศรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้าง สำนักงานชลประทานที่ 10 กล่าวว่า “ได้มีการดำเนินการพิจารณาก่อสร้างฝายบ้านซับตะกอง ความจุประมาณ 75,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อสนับสนุนการทำการเกษตรแบบแปลงใหญ่ พื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 2,000 ไร่ โดยก่อสร้างแล้วเสร็จไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562 จากนั้นได้ส่งมอบภารกิจให้องค์การบริหารส่วนตำบลโครงการลำพญากลางเป็นผู้ดูแล มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำฝายบ้านซับตะกองพร้อมระบบส่งน้ำเพื่อบริหารจัดการน้ำให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับน้ำอย่างทั่วถึง”

นายชูพงศ์ อิศรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสำนักงานชลประทานที่ 10

นายชูพงศ์ อิศรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสำนักงานชลประทานที่ 10

การก่อสร้างฝายบ้านซับตะกอง ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินให้ใช้พื้นที่ 8 ไร่เศษ เพื่อขุดแก้มลิง ก่อสร้างอาคารเก็บกักน้ำ และวางท่อส่งน้ำใต้ผิวดิน แม้ว่าพื้นที่บนดินจะยังสามารถทำการเกษตรได้ แต่เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างอาคารและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ทำให้เจ้าของที่ดินต้องเว้นการเพาะปลูก สูญเสียโอกาสในการเกษตร อย่างไรก็ตาม หากมองถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ เจ้าของที่ดินก็ได้ให้ความยินยอม

นายสมนึก เริงรมย์ เจ้าของที่ดินผู้บริจาคสร้างฝายซับตะกอง

นายสมนึก เริงรมย์ เจ้าของที่ดินผู้บริจาคสร้างฝายซับตะกอง

นายสมนึก เริงรมย์ เจ้าของที่ดินผู้บริจาคสร้างฝายซับตะกอง กล่าวว่า “พื้นที่ของตนมีการทำฟาร์มโคนมและปลูกอ้อย ได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนน้ำ ซึ่งหลังจากที่กรมชลประทานมีการอนุมัติก่อสร้างฝายซับตะกองและลงมาสำรวจพื้นที่ พร้อมทำความเข้าใจกับเกษตรกรถึงการก่อสร้างและผลประโยชน์ที่จะได้รับ ตนในฐานะเจ้าของที่ดินก็ได้ยินยอมให้ใช้พื้นที่ 8 ไร่เพื่อก่อสร้างฝาย ใช้ระยะเวลาร่วม 1 ปีกว่าจะแล้วเสร็จ แม้จะทำให้ต้องสูญเสียประโยชน์จากการใช้พื้นที่ไปบ้าง แต่เมื่อเทียบกับประโยชน์ของส่วนรวมและที่ตนจะได้รับ ก็ถือว่าคุ้มค่ามาก”

โครงการอ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก

ในส่วนของโครงการอ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก ตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลคำพรานอำเภอวังม่วง มีลักษณะเป็นเขื่อนดินแบ่งโซน กว้างประมาณ 9 เมตรสูงประมาณ 44 เมตร ยาวประมาณ 1,157 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ61 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมระบบส่งน้ำด้วยท่อฝั่งขวาและฝั่งซ้าย ครอบคลุมพื้นที่ชลประทานกว่า 25,500 ไร่ ในเขตอำเภอวังม่วง ทั้งยังใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับการผลิตน้ำประปาที่สำคัญในเขตเทศบาลตำบลวังม่วงด้วย

ปัจจุบันระบบส่งน้ำฝั่งขวาดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้ สำหรับส่งให้พื้นที่ชลประทานกว่า 5,500 ไร่ ส่วนระบบส่งน้ำฝั่งซ้ายอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างตามแผน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2562 นี้ หากก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถส่งน้ำสำหรับพื้นที่การเกษตรในเขตชลประทานได้กว่า 20,000 ไร่

นายศราวุธ สุวรรณจูฑะ นายอำเภอวังม่วง

นายศราวุธ สุวรรณจูฑะ นายอำเภอวังม่วง

ทั้งนี้ นายศราวุธ สุวรรณจูฑะ นายอำเภอวังม่วง กล่าวว่า “ผลที่เห็นเป็นรูปธรรมหลังจากที่มีการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก นอกจากแก้ปัญหาภัยแล้ง เก็บกักน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร อุปโภคบริโภค และผลิตน้ำประปายังสามารถรองรับความต้องการของประชาชนในอำเภอวังม่วงที่มีกว่า 4,500หลังคาเรือนได้อย่างยั่งยืนแล้ว อีกหนึ่งความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือ บริเวณรอบ ๆ อ่างเก็บน้ำ ลำห้วยเล็ก ๆ ตามธรรมชาติที่เคยประสบปัญหาภัยแล้งได้เริ่มมีความชุ่มชื้นจากน้ำใต้ผิวดินกลับมา โดยจากนี้ทางอำเภอจะดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มบริหารจัดการน้ำต่อไป”

เพื่อผลักดันให้เป็นขุมทรัพย์ที่มีค่าต่อชาวจังหวัดสระบุรี ทางอำเภอมีแผนที่จะสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยได้รับความอนุเคราะห์ใช้พื้นที่เป็นเส้นทางปั่นจักรยานส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมทั้งจัดวิ่งมินิมาราธอนและพัฒนาเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอวังม่วง ซึ่งหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ จะมีการจัดประชาสัมพันธ์อ่างเก็บน้ำมวกเหล็กและการท่องเที่ยวกับชุมชนอีกครั้ง

นายกฤษ ชมวิจิตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 บ้านดงน้ำฉ่า ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง

นายกฤษ ชมวิจิตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 บ้านดงน้ำฉ่า ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง

นายกฤษ ชมวิจิตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 บ้านดงน้ำฉ่า ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง กล่าวว่า “ปัจจุบันระบบการส่งน้ำฝั่งขวาได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและได้ทดสอบประสิทธิภาพของระบบการส่งน้ำ รวมทั้งอยู่ระหว่างหารือวิธีการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ร่วมกับสมาชิก โดยมีสำนักงานชลประทานที่ 10 คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนด้านน้ำ จากที่ในอดีตต้องอาศัยน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเท่านั้น แต่หลังจากที่มีการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก จะเป็นหนทางที่ทำให้มีน้ำเพื่อทำการเกษตร อุปโภคบริโภค รวมทั้งการผลิตน้ำประปาได้เพียงพอ”

ในอนาคตจะมีการพัฒนาบริเวณโดยรอบอ่างเก็บน้ำมวกเหล็กให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเป็นจุดชมวิวธรรมชาติที่งดงาม จัดกิจกรรมปั่นจักรยาน และวิ่งมินิมาราธอน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว และยังเป็นการช่วยส่งเสริมอาชีพนำผลผลิตทางการเกษตรมาขายสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

ภาพถ่ายจากโดรน โครงการอ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก

ภาพถ่ายจากโดรน โครงการอ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก

เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีโครงการ

โครงการอ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ดังกล่าว โดยสภาพปัญหาประชาชนในเขตท้องที่อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรีส่วนใหญประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก เช่น ปลูกอ้อย ข้าวโพดและทานตะวัน แต่ปัจจุบันได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากฝนทิ้งช่วงและภาวะภัยแล้ง เพราะถึงแม้ว่าพื้นที่อำเภอวังม่วงจะอยู่ใกล้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับพื้นที่

ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มาก จึงทำให้เป็นข้อจำกัดทางสภาพภูมิประเทศและหลักวิศวกรรมชลประทานที่ไม่สามารถส่งน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มาสนับสนุนได้หรือหากต้องดำเนินการรัฐบาลต้องใช้งบประมาณลงทุนจำนวนมาก


Mostview

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

SmartSME Line