วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2567

เมื่อการให้ ≠ การได้รับ

by พิพัฒน์ ยอดพฤติการ, 16 ตุลาคม 2562

ธุรกิจต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงที่ว่า ปัญหาทางสังคมหรือความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้น มีการเปลี่องค์กรยนแปลงไปได้ตลอดเวลา ฉะนั้นโอกาสที่ทิศทางการดำเนินงาน CSR ตลอดจนแผนงานและกิจกรรมที่องค์กรได้กำหนดขึ้น จะไม่ตรงกับความต้องการหรือปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเช่นกัน

อุปสรรคในการดำเนินงาน CSR ที่ไม่เข้าตาของสังคมอีกประการหนึ่งก็คือ การมุ่งเน้น “ผลผลิต” (output) จากการดำเนินงาน CSR หรือผลที่องค์กรจะให้แก่สังคม มากกว่า “ผลลัพธ์” (outcome) จากการดำเนินงาน หรือผลที่สังคมจะได้รับจากองค์กร จึงทำให้การออกแบบกระบวนการดำเนินงานมิได้ตอบโจทย์ในสิ่งที่ควรจะเป็นอย่างแท้จริง

ตัวอย่างเช่น การไปให้ความรู้แก่ชาวบ้านในชุมชน บ่อยครั้งที่ เราได้ไปให้ความรู้แก่ชาวบ้านจริง แต่ชาวบ้านเข้าใจหรือนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่ การตั้งคำถามลักษณะนี้ จะทำให้เกิดการพัฒนาตัววิทยากรและกระบวนการ (โดยไม่อ้างว่า ชาวบ้านไม่รู้หนังสือจึงไม่เข้าใจ แต่จะหันกลับมาทบทวนตัวเองว่า เหตุใดเราจึงถ่ายทอดให้ชาวบ้านเข้าใจไม่ได้)

หรือการออกคลีนิกหรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ หากวัดที่ผลผลิตก็คือ ได้ไปตรวจรักษาให้ชาวบ้านครบตามจำนวน ตามเวลา แต่ชาวบ้านจะหายหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งสิ่งนี้ก็คือ ผลลัพธ์ที่พึงจะได้ตามที่เรามุ่งหมายให้มีโครงการนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นนั่นเอง

การออกแบบการประเมินการดำเนินงาน CSR จึงควรสนับสนุนให้มีตัวชี้วัดการดำเนินงาน ที่มุ่งผลลัพธ์มากกว่าผลผลิต และพิจารณาใช้เครื่องมือในการจัดการและวัดผลการดำเนินงานเพื่อยกระดับการดำเนินงาน CSR โดยมีการตรวจสอบเกณฑ์ดำเนินงานให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง

การวัดผลเรื่อง CSR อย่างมีสัมฤทธิภาพ ซึ่งมุ่งวัดผลการดำเนินงานที่เป็นผลลัพธ์ มากกว่าผลผลิต อาจใช้วิธีตั้งคำถามง่ายๆ ว่า ในการดำเนินงาน CSR ขององค์กรนั้น สังคมที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย “เขาได้รับอะไรจากเรา” มากกว่าที่จะวัดว่า “เราได้ให้อะไรกับเขา” เนื่องจากในระหว่างทาง จะมีทั้งสิ่งรบกวน (noise) และการรั่วไหล (leak) ต่างๆ นอกเหนือจากคุณภาพของผู้ให้และผู้รับ ที่เป็นปัจจัยซึ่งต้องได้รับการควบคุมและจัดการอย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ หากองค์กรได้เข้าใจถึงความแตกต่างของคำถามทั้งสองนี้อย่างลึกซึ้ง จะทำให้กระบวนการในการดำเนินงาน CSR ที่จะเกิดขึ้น มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ หนึ่งในผู้บุกเบิกงานด้าน CSR ในประเทศไทย เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันไทยพัฒน์ องค์กรสาธารณประโยชน์ที่ทำงานด้านการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ร่วมกับภาคเอกชน ภายใต้บริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน | ติดตามความคิด บทสัมภาษณ์ และบทความของผู้เขียน ได้ที่ http://pipat.com
Tag : SmartCSR

Mostview

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

พาชมงาน MONEY EXPO 2024 โซน Franchise SMEs มีธุรกิจอะไรน่าลงทุน

เริ่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับงาน MONEY EXPO 2024 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยภายงานในงานได้มีสถาบันทางการเงินที่นำบริการสินเชื่อต่าง ๆ มานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจมองหาแหล่งทุนสำหรับนำไปใช้ในเรื่องต่าง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

SmartSME Line