วันจันทร์, พฤษภาคม 20, 2567

กรณีศึกษา แป้ง Johnson & Johnson เมื่อข่าวลือทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดจนสินค้าขายไม่ออก

by Anirut.j, 21 พฤษภาคม 2563

เรียกได้ว่าการทำธุรกิจนั้นความเข้าใจระหว่างผู้ผลิต และผู้บริโภคต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน หากส่วนใด ๆ ส่วนหนึ่ง ๆ มองไม่เหมือนกันโอกาสที่สินค้าชิ้นนั้นจะประสบความสำเร็จ ขายดิบขายดีในตลาด ย่อมเป็นไปได้ยากอย่างในกรณีเดียวกับ Johnson & Johnson

ย้อนกลับไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์แป้งเด็ก “Johnson&Johnson” ถูกกล่าวหาว่าเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยจำนวน 19,400 ราย เป็นมะเร็งรังไข่ในผู้หญิง ทางเดินหายใจ และมะเร็งปอด แม้จะไม่มีงานวิจัยออกมายืนยันในเรื่องนี้ก็ตาม ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีกรณีร้านค้าปลีกรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น วอลมาร์ท, ซีวีเอส เฮลธ์ คอร์ป และไรท์ เอด ตัดสินใจระงับการจำหน่ายแป้งเด็ก “Johnson&Johnson” หลังมีการระบุว่ามีการปนเปื้อนแร่ใยหิน

จากเหตุการณ์ที่กล่าวมาทำให้ “Johnson&Johnson” ถูกฟ้องร้องถึง 19,400 คดี โดยในการต่อสู้คดีที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า “Johnson&Johnson” ชนะ 12 คดี, แพ้ 15 คดี และคดีที่ลูกขุนยังไม่สามารถตกลงกันได้ 7 คดี ส่วนคดีที่แพ้ทั้งหมดนั้นยังคงอยู่ในขั้นอุทธรณ์ หรือถูกยกคำร้องอุทธรณ์ให้ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้น

เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นที่มีต่อแบรนด์ “Johnson&Johnson” ของผู้บริโภคชาวอเมริกา และแคนาดาเป็นอย่างมาก

ยุติขายแป้งเด็กในสหรัฐ-แคนาดา

แม้ว่า “Johnson&Johnson” จะออกมาแก้ข่าว และงานวิจัยส่วนใหญ่ออกมายืนยันว่าแป้งเด็กโรยตัวของบริษัทมีความปลอดภัย และไม่ได้ก่อให้เกิดมะเร็งตามที่กล่าวหาอย่างแน่นอน แต่ก็ไม่สามารถเรียกคืนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ได้ เพราะพวกเขาต่างมีความระแวง และมีพฤติกรรมการเลิกใช้แป้ง จนส่งผลกระทบต่อยอดขายของบริษัทที่ลดลง

ทาง “Johnson&Johnson” ออกมาพูดถึงกรณียุติการจำหน่ายแป้งเด็กในสหรัฐฯ และแคนาดาว่า ความต้องการแป้งเด็กของผู้บริโภคในอเมริกาเหนือมีความต้องการลดลงจากการเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมของผู้บริโภค, ข้อมูลที่ถูกกล่าวหา รวมถึงการต่อสู้คดีในชั้นศาล

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจยุติการขายแป้งเด็กในสหรัฐและแคนาดามีขึ้นในขณะที่บริษัทยกเลิกการผลิตสินค้าเพื่อสุขภาพผู้บริโภคประมาณ 100 รายการ และตั้งเป้าให้ความสำคัญมากกว่ากับผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการสูงท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

อาจจะกล่าวได้ว่าภาพลักษณ์ของแบรนด์มีความสำคัญในโลกของการทำธุรกิจอยู่ไม่น้อย เพราะหากลูกค้ามีมุมมองผลิตภัณฑ์ในแง่ลบ เชื่อว่าเป็นอย่างที่กล่าวอ้างจริง โอกาสที่จะสร้างยอดขาย ตีตลาดให้ประสบความสำเร็จคงจะกลายเป็นเรื่องยาก แม้ว่าข้อเท็จจริงจะไม่ใช่อย่างที่พูดก็ตาม

ข้อมูลประกอบ :japantoday

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


Mostview

พาชมงาน MONEY EXPO 2024 โซน Franchise SMEs มีธุรกิจอะไรน่าลงทุน

เริ่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับงาน MONEY EXPO 2024 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยภายงานในงานได้มีสถาบันทางการเงินที่นำบริการสินเชื่อต่าง ๆ มานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจมองหาแหล่งทุนสำหรับนำไปใช้ในเรื่องต่าง

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

6 วิธีสร้างแนวคิดอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจของคุณ แถมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

การยึดมั่นในเรื่องของความยั่งยืนไม่ได้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังส่งผลเชิงบวกให้กับแบรนด์อีกด้วย ดังนั้น เรามาดูกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่คนเป็นผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ ผ่านวิธีการเหล่านี้

SmartSME Line