วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2567

เจาะกลยุทธ์ Fly-Food แพลตฟอร์มส่งอาหาร เมื่อไม่มีนักท่องเที่ยวจีนต้องเอาตัวรอดอย่างไร

by Anirut.j, 22 เมษายน 2564

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจด้านอาหาร และด้านการท่องเที่ยว ต่างได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน ลองคิดดูหากเป็นธุรกิจที่ต้องพึ่งพาทั้งสองด้านตามที่กล่าวไป จะเจ็บหนักขนาดไหนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เช่นเดียวกับ Fly-Food แพลตฟอร์มส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ที่ดูเหมือนว่าจะได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ไปเต็ม ๆ เพราะรูปแบบการให้บริการที่รวบรวมร้านอาหารจีนหลากหลายเมนูเข้ามารวมไว้ด้วยกัน แน่นอนว่ากลุ่มเป้าหมายของพวกเขา คือนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเฉลี่ยปีละ 10 ล้านคนต่อปี แต่ปัจจุบันแทบไร้เงากลุ่มคนเหล่านี้ เนื่องจากยังไม่สามารถเปิดเดินทางอย่างเต็มรูปแบบได้

แม้ว่า Fly-Food จะเติบโตอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาดำเนินงานเพียงไม่กี่ (ก่อตั้งในปี 2561) จนขยายบริการไปยังจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น กรุงเทพฯ, พัทยา, เชียงใหม่, ภูเก็ต และระยอง ซึ่งเป็นสถานที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวจีน แต่วิกฤตในครั้งนี้กลายเป็นความท้าทายของ Fly-Food ที่ต้องก้าวผ่านไปให้ได้

พลิกวิกฤตช่วงโควิด-19

อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยลดลงจากเดิมเป็นอย่างมาก จนส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่รายได้หดหายไป โดยต้า เผิง ผู้ก่อตั้ง Fly-Food พูดถึงเรื่องนี้ว่า นักท่องเที่ยวจีนลดลง ทำให้การสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มลดลงตาม และคนจีนที่ยังอยู่ในประเทศไทยมีความระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายเงินมากยิ่งขึ้น

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ Fly-Food ต้องใช้กลยุทธ์แก้วิกฤตช่วงโควิด-19 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยการเปิดตัวบริการที่มีชื่อเรียกว่า “มินิโปรแกรมบนอาลีเพย์” อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าชาวจีนที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ซึ่งปัจจุบันมียอดเฉลี่ยสั่งซื้อสูงถึง 700 รายการต่อวัน มีร้านอาหารบนแพลตฟอร์มมากกว่า 1,500 ร้าน และร้านค้าเกินครึ่งมียอดสั่งซื้อมาจาก Fly-Food

อีกทั้ง Fly-Food ยังมีแคมเปญที่ทำร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แจกคูปองดิจิทัลให้กับชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยให้เดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย ตามมาตรการป้องกันของภาครัฐฯ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ ต่อลมหายใจให้กับธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ


Mostview

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

SmartSME Line