วันจันทร์, เมษายน 29, 2567

ฟิลิปปินส์เดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าไทย ปมพิพาทคดีบุหรี่

by Pagon.p, 29 เมษายน 2564

กรมการค้าและอุตสาหกรรม (DTI) ฟิลิปปินส์เผย เตรียมระงับสิทธิประโยชน์ทางศุลกากรสินค้านำเข้าจากไทยตามแผน ตามติดกระบวนการแก้ไขปัญหาไทยไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินองค์การการค้าโลก พิพาทคดีภาษีบุหรี่

นายเซเฟอริโน โรดอลโฟ (Ceferino Rodolfo) ปลัดกระทรวงพาณิชย์ของฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ฟิลิปปินส์เตรียมระงับสิทธิประโยชน์ทางศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้าจากไทย ซึ่งจะทำให้ผู้นำเข้าสินค้าไทยบางประเภทต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงขึ้น โดยฟิลิปปินส์จะเริ่มดำเนินการดังกล่าวเมื่อกำหนดการขยายเวลาการเจรจาระงับข้อพิพาท คดี DS 371 ผ่านกระบวนการขององค์การการค้าโลก (WTO) ได้สิ้นสุดลง

ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังอยู่ในระหว่างการติดตามความคืบหน้าการเจรจาแก้ไขปัญหาที่ไทยยังคงไม่ยอมปฏิบัติตามคำตัดสินของ WTO ในกรณีข้อพิพาทคดีภาษีบุหรี่นำเข้า ซึ่งกระบวนการดังกล่าวกำลังดำเนินการอยู่ในกรุงเจนีวา โดยมีผู้อำนวยการหารือ (Facilitator) เป็นผู้ดูแล โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาทางออกอย่างครอบคลุมให้กับปัญหานี้

“อย่างไรก็ตาม เราต้องทำให้ประเทศไทยเข้าใจว่า เราสามารถระงับตัดสิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยได้ทุกเมื่อ เพื่อตอบโต้ที่ไทยยังคงเพิกเฉยต่อคำคำตัดสินของ WTO แต่เราจะปฏิบัติตามกฎและขั้นตอนของ WTO” นายโรดอลโฟ กล่าว

เมื่อเดือนธันวาคม 2563 ฟิลิปปินส์และไทยได้ตกลงที่จะเจรจาภายใต้การนำของผู้อำนวยการหารือ ซึ่งกำหนดให้ผู้อำนวยการหารือรายงานผลการเจรจาต่อองค์กรระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement Body: DSB) ภายในวันที่ 31มีนาคม 2564 ทว่า ผู้อำนวยการหารือสามารถแนะนำให้ดำเนินการเจรจาต่อไปโดยปราศจากอคติได้ ไม่เกินวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ยกเว้นแต่ในกรณีที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงเป็นอื่น

นายโรดอลโฟเสริมว่า WTO กำลังประเมินว่าจะสามารถขยายกำหนดเวลาเพื่อให้โอกาสประเทศไทยในการปฏิบัติตามคำแนะนำของ WTO เพื่อยุติข้อพิพาทได้หรือไม่ โดยไทยต้องคืนภาษีให้กับฟิลิปปินส์ เนื่องจากไทยได้เก็บภาษีบุหรี่ที่นำเข้าจากฟิลิปปินส์เกินไปถึง 600 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2550

ระหว่างที่การเจรจายังคงดำเนินอยู่ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา คณะกรรมการพิกัดอัตราภาษีศุลกากรของฟิลิปปินส์ (Tariff Commission) ได้จัดทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับกลุ่มสินค้าที่จะถูกระงับสิทธิประโยชน์ทางศุลกากร โดยมีสินค้าประมาณ 37 รายการภาษี ซึ่งรวมถึงยานยนต์ ที่อาจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มอัตราภาษีนำเข้า

“เชื่อว่าเราเป็นประเทศที่ดีและปฏิบัติกฎ เราได้ตกลงที่จะใช้กระบวนการเจรจาระงับข้อพิพาทหากกระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้สามารถหาทางออกที่ครอบคลุมให้แก่ฟิลิปปินส์และไทยได้ ทว่าเราต้องการให้กระบวนการดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด และหากเราได้ทำทุกทางแล้ว เราก็ต้องกลับไปขอความช่วยเหลือจาก DSB” นายโรดอลโฟกล่าว

ข้อพิพาทเรื่องกรณีภาษีนำเข้าบุหรี่ระหว่างสองประเทศ เริ่มต้นในเดือนกันยายนปี 2551 โดยฟิลิปปินส์ได้ยื่นฟ้องไทยต่อ WTO เพื่อให้ตัดสินเรื่องการประเมินภาษีบุหรี่ที่นำเข้าจากฟิลิปปินส์ โดย WTO ได้ตัดสินให้ประเทศฟิลิปปินส์ชนะ แต่ประเทศไทยกลับไม่ยอมรับคำตัดสินดังกล่าว ต่อมา WTO ได้มีคำตัดสินอีกครั้งในปี 2554 ให้ประเทศไทยแก้ไขการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องที่ส่งผลกระทบต่อฟิลิปปินส์

“ประเทศไทยยังคงไม่ยอมปฏิบัติตามคำตัดสินของ WTO ในคดี DS 371 เราจำเป็นต้องดำเนินการระงับสิทธิประโยชน์ทางศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้าจากไทยเป็นมูลค่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐ” นายโรดอลโฟ กล่าวทิ้งท้าย


Mostview

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

หาคำตอบ? เพราะอะไรลูกค้าถึงรำคาญการตั้งราคาของแบรนด์อาหารจานด่วน

เครือร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดขึ้นราคาเมนูอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยอ้างปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนวัตถุดิบ, การขาดแคลนแรงงาน ตลอดจนความไม่สงบระหว่างรัสเซีย-ยูเครน

SmartSME Line