วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 9, 2567

ยอดจดทะเบียนธุรกิจ ม.ค. พุ่งกว่า 8,466 ราย “ก่อสร้าง-อสังหา-ร้านอาหาร” เยอะสุด

by Smart SME, 25 กุมภาพันธ์ 2566

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยถึงยอดการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ประจำเดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมามีรายละเอียดดังนี้

ผลการจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่ในเดือนมกราคม 2566 มีผู้ที่ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 8,466 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 20,847.11 ล้านบาท ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 704 ราย คิดเป็น 8% อันดับที่ 2 คือ ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ 545 ราย คิดเป็น 6% และอันดับที่ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 379 ราย คิดเป็น 4% เมื่อแบ่งตามช่วงทุน ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 5,787 ราย คิดเป็น 68.36% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 2,585 ราย คิดเป็น 30.53% ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 83 ราย คิดเป็น 0.98% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 11 ราย คิดเป็น 0.13%

สำหรับธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนมกราคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,297 ราย มีมูลค่าทุนจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ จำนวน 4,268.20 ล้านบาท ประเภทธุรกิจที่เลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 141 ราย คิดเป็น 11% ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 54 ราย คิดเป็น 4% และธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 44 ราย คิดเป็น 3% โดยธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุนดังนี้ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำรวน 911 ราย คิดเป็น 70.24% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 333 ราย คิดเป็น 25.67% ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 48 ราย คิดเป็น 3.70% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 5 ราย คิดเป็น 0.39%

สำหรับธุรกิจดำเนินกิจการอยู่เดือนมกราคม 2566 มีธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น จำนวน 857,511 ราย มูลค่าทุน 21.36 ล้านล้านบาท เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวนทั้งสิ้น 201,641 ราย คิดเป็น 23.52% บริษัทจำกัด จำนวน 654,488 ราย คิดเป็น 76.32% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน1,382 ราย คิดเป็น 0.16% แบ่งตามช่วงทุนดังนี้ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 503,956 ราย คิดเป็น 58.77% รวมมูลค่าทุน 0.44 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2.07% รองลงมา ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 259,557 ราย คิดเป็น 30.27% รวมมูลค่าทุน 0.88 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4.14% ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 76,550 ราย คิดเป็น 8.93% รวมมูลค่าทุน 2.10 ล้านล้านบาท คิดเป็น 9.84% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 17,448 ราย คิดเป็น 2.03% รวมมูลค่าทุน 17.93 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83.95%
ทั้งนี้ การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าวเดือนมกราคม 2566 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้นจำนวน 52 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จำนวน 22 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ จำนวน 30 ราย เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,129 ล้านบาท ลดลง 69% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา และลดลง 47% เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม ปี 2565 สำหรับนักลงทุนต่างชาติที่ได้เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด 3 สัญชาติแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น จำนวน 14 ราย เงินลงทุน 3,588 ล้านบาท สิงคโปร์ จำนวน 6 ราย เงินลงทุน 410 ล้านบาท และสหรัฐอเมริกา จำนวน 6 ราย เงินลงทุน 9 ล้านบาท


ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กองข้อมูลธุรกิจ


Mostview

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

เศรษฐกิจไม่ดี! KFC-Pizza Hut ในจีน ดึงกลยุทธ์สุดฤทธิ์เรียกลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

Yum China Holdings เจ้าของ KFC และ Pizza Hut เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในจีน วางแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ยังไม่เคยเปิด โดยใช้กลยุทธ์ขายเมนูในราคาต่ำเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในจำนวนมาก

SmartSME Line