วันศุกร์, พฤษภาคม 10, 2567

“เกมเมอร์” ว่าไง ? "อีสปอร์ต" เติบโตทุกปี ปั้นคนเล่นเกม สู่อาชีพทำเงินมหาศาล

by Smart SME, 9 ตุลาคม 2566

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีอะไรร้อนแรงเท่ากับประเด็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับ 'เด็ก' กับ 'เกม' โดยประเด็นสังคมนั้น เราไม่ขอพูดถึง แต่จะขอชวนเพื่อน ๆ ขบคิดในมุมที่ว่า.. แท้จริงแล้ว 'เกมทำให้เด็กเสียคน' ?

เพราะยังมีตัวอย่างของเยาวชนอีกหลายคนที่เล่นเกมไปด้วย เรียนไปด้วย เล่นกีฬาไปด้วย ทำกิจกรรมกับครอบครัว กับสังคมไปด้วย แต่ผลการเรียนก็อยู่ระดับดี และใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติสมวัย ไม่ได้ก่อเรื่องหรือทำตัวเป็นปัญหาสังคมแต่อย่างใด ซึ่งยังมีเยาวชนเก่ง ๆ เหล่านี้อีกจำนวนมากในประเทศ

โดยปัจจัยหลัก ๆ ที่จะทำให้เยาวชน Work-Life Balance หรือ Work hard Play harder อยู่ที่พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นพื้นฐาน หากลองสังเกต ยังมีอีกหลาย ๆ ครอบครัวที่เปิดใจคุย และเปิดโอกาสให้กับบุตรหลานได้เล่นเกม แต่ผู้ปกครองกลุ่มนี้ จะสร้างกฎระเบียบขึ้นมาในการเล่น การแบ่งเวลา อ่านหนังสือ ทำกิจกรรมกับครอบครัว ฯลฯ เหมือนเป็นโล่คุ้มครองป้องกันภัยให้กับบุตรหลาน ซึ่งครอบครัวเหล่านี้ มักจะไม่ค่อยมีปัญหาหรือได้ยินคำว่า 'เด็กติดเกม , เกมทำให้เด็กเสียคน' ออกมาอย่างแน่นอน


ปัจจุบันนี้ เกมไม่ได้ทำให้เด็กเสียคน อย่างที่ผู้ใหญ่คิดหรือมองแบบนั้นซึ่งเป็นภาพจำมานาน หลังจากที่โลกเข้าสู่ยุคออนไลน์ และดิจิทัลอีคอมเมิร์ซ ทำให้หลาย ๆ คน ได้รู้จักกับกีฬา 'อีสปอร์ต' (E-SPORT) โดยถูกบรรจุให้กลายเป็น กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบหนึ่งในระดับสากล

'อีสปอร์ต' ทำให้หลายประเทศทั่วโลกให้การยอมรับและมีการผลักดันเยาวชน หรือปลุกปั้นนักกีฬากลุ่มนี้ เพราะมันสร้างมูลค่าทางการตลาด มีการถ่ายทอดสด มีผู้สนับสนุน มีเงินรางวัลในการแข่งขัน กลายเป็นธุรกิจยุคดิจิทัล อีคอมเมิร์ซ ที่โกยรายได้และมีผู้ชมทั่วโลกให้ความสนใจ และชื่นชอบจำนวนมหาศาล

'อีสปอร์ต' นิยามง่าย ๆ คือ'การเล่นเกม' และ 'การแข่งขันกีฬา' นำมาผสมผสาน ผนวกเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งแอดมิน กำลังจะบอกว่า สำหรับผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง หากบุตรหลานของท่าน ชื่นชอบการเล่นเกม ก็สามารถเปิดใจ พูดคุย กับพวกเขาในเรื่อง Balance การเรียน การเล่นเกม และการใช้ชีวิตของพวกเขาได้

รวมถึงสามารถผลักดัน สนับสนุนบุตรหลานของท่าน หากชื่นชอบจริง ก็ต้องบอกเขาให้พยายามพัฒนาตนเอง แสวงหาโอกาส ฝึกฝน'อีสปอร์ต' ในทางสว่าง ! กล่าวคือ ไม่โดดเรียนแอบไปเล่นเกม เป็นต้น

และพาตัวเองไปแข่งขันตามเวทีต่าง ๆ เพื่อเก็บโปรไฟล์ สร้างชื่อเสียง สร้างเครดิตให้เป็นที่รู้จัก แถมยังได้เงินด้วย และในอนาคต ยังต่อยอดสามารถทำงานหรือหารายได้ โดยสร้างตัวตนบนโลกโซเชียล บนพื้นฐานอาชีพสุจริตได้อีกด้วย

สำหรับ กีฬา 'อีสปอร์ต' (E-SPORT) ซึ่งกลายเป็นธุรกิจที่สร้างเม็ดเงินจำนวนมากให้กับผู้เกี่ยวข้องใน Chain นี้ ปัจจุบัน (ข้อมูลปี พ.ศ.2565) ภาพรวมเกี่ยวกับธุรกิจเกี่ยวกับเกมในประเทศไทยตัวเลขสูงถึง 39,822 ล้านบาท โดยเติบโตขึ้นอีกกว่า 10% เมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ โดยมีอาชีพ 'เกมเมอร์' ซึ่งเป็นคนไทย ที่กำเนิดเกิดขึ้นจากแวดวงกีฬาหรือธุรกิจดังกล่าว จำนวนมากถึง 32 ล้านคน คิดเป็น 47% ของคนไทยทั้งหมด เลยทีเดียว !

และแน่นอนว่า อาชีพ 'เกมเมอร์' หรือนักกีฬา 'อีสปอร์ต' ค่าเฉลี่ยอายุส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียนและทำงาน เฉลี่ย 12 - 40 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มคนในเจเนอเรชั่น Y-Z ลงไป ที่เติบโตมาท่ามกลางยุคเทคโนโยโลยี โซเชียล และดิจิทัล อีคอมเมิร์ซนั่นเอง

ยังมีข้อมูลสถิติอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ โดยสื่อหลายสำนักในหลาย ๆ ประเทศต่างระบุว่า อุตสาหกรรมเกม โดยเฉพาะ 'ตลาดอีสปอร์ต' ของทั่วทุกมุมโลก ทำรายได้มหาศาล มูลค่าพุ่งทะลุราว 2,187 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (79,147 ล้านบาท) ไปแล้วในขณะนี้


ชวนเพื่อน ๆ ดูภาพรวมในระดับสากล สำหรับความนิยมของธุรกิจ หรือ กีฬา 'อีสปอร์ต' (E-SPORT) ไปข้างต้นแล้ว.. คราวนี้ ลองมาดูว่า เกมเมอร์ หรือ 'นักกีฬาอีสปอร์ต' หากสามารถยกระดับตัวเอง ไปสู่ นักเล่นเกมโดยอาชีพ เช่นนี้แล้ว จะสามารถหาเงิน หรือทำรายได้ในแวดวงนี้ ขนาดไหน อย่างไรกันบ้าง

 

• เกมเมอร์ หรือ 'นักกีฬาอีสปอร์ต' อาชีพนี้ มีเงินเดือนนะ เพราะอยู่ภายใต้สังกัดหรือนายทุนผู้สนับสนุนนั่นเอง

• แน่นอนว่า เมื่อมีทัวร์นาเมนต์ การแข่งขันเวทีต่าง ๆ อาชีพนี้ จะมีรายได้ที่เป็นเงินรางวัลจากการแข่งขันด้วย ไม่ว่าแพ้หรือชนะ ในจำนวนรายได้ที่แตกต่างกันออกไป

• ยกตัวอย่าง นักกีฬาอีสปอร์ตไทย ที่ได้ลงแข่งในเวทีระดับโลก สามารถทำรายได้ หรือกวาดเงินรางวัล เฉลี่ยรวม 498,448.74 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 18 ล้านบาท) ยกตัวอย่างคนที่มีชื่อเสียงในแวดงนี้คือ "อนุชา จิระวงศ์" หรือ "Jabz" โดยเขามีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,000-1,000,000 บาท จากการยกระดับตัวเองทำงานในอาชีพนี้

• อีกอาชีพหนึ่ง ที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ คือ Game Caster 'นักแคสเกม' นิยามหรือหน้าที่ของอาชีพนี้ คือ การเล่นเกมทุกแนว ไม่สนลูกใคร ! ไม่เลือกว่าจะเป็นเกมแนวไหน แล้วจะรีวิว พากย์เสียงตัวเอง ใส่อารมณ์ร่วม ผ่านสตรีมมิ่งบนโซเชียล โลกออนไลน์ เหมือนเอาตัวเองเป็นหนูทดลองเล่นเกมเป็นแนวทางให้คนอื่น ๆ ได้ดู ก่อนที่คนอื่น ๆ นั้นจะลองไปเล่นกันเองดูบ้าง เป็นต้น

ซึ่ง Game Caster เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่หากใครก็ตามที่มีพรสวรรค์ บวกพรแสวง มีบุคลิก เอกลักษณ์ สร้างตัวตนให้โดดเด่น เป็นที่รู้จัก มีคนติดตามเยอะ ก็สามารถหาเงินได้เยอะ ไม่แพ้นักกีฬาอีสปอร์ต

โดย Game Caster จะได้เงินจากค่าสมาชิก, สปอนเซอร์, โฆษณา เป็นต้น ซึ่งรายได้เฉลี่ย ของ Game Caste คิดเป็น 40,000-500,000 บาท/เดือน (โดยประมาณ) ซึ่งปัจจัยสำคัญ ในการกำหนดและแปรผันเรื่องตัวเลขรายได้ คือ จำนวน Subscribers ของผู้ติดตามนั่นเอง


Chain ธุรกิจนี้ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะยังมีผู้ที่เกี่ยวข้องในการผลิตและ R&D กีฬา 'อีสปอร์ต' อีกหลายฝ่ายหลายตำแหน่ง แต่ที่แอดมิน จะนำมาบอกอีกตำแหน่ง ซึ่งหากเพื่อน ๆ พัฒนาตนเองไปถึงจุดนี้แล้วล่ะก็ สามารถหาเงิน ทำรายได้สูงมาก ๆ เช่นกัน นั่นคือ Game Developer

• Game Developer หรือก็คือ 'นักพัฒนาเกม' คือฝ่ายเทคนิค คือผู้อยู่เบื้องหลัง คอยทำหน้าที่เขียนโค้ด โดยใช้ภาษาทางคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างเกม เรียกได้ว่าเป็นแกนหลักในการสร้างเกมเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ในการแก้ bug แก้ crash เวลาที่เกิดความผิดพลาดในเกมอีกด้วย ซึ่งรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ของคนทำงานตำแหน่งนี้ ประมาณการ 25,000-100,000 บาท

 

 

'ผู้ปกครอง' คือ แรงใจสำคัญ ผลักดันเยาวชน สู่อาชีพที่ชอบ ! รายได้ที่ใช่ !

มาถึงตรงนี้ เชื่อว่า หากผู้ปกครองได้อ่านคอนเทนต์นี้มาถึงตรงนี้แล้ว คงมีไม่น้อยที่อาจจะเปลี่ยนมุมมองความคิดบ้างว่า เกมไม่ได้เลวร้ายกับบุตรหลานของท่านเสมอไป..

อย่างที่บอกว่า พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ทุกท่าน สามารถสนับสนุน ผลักดันทักษะการเล่นเกมของบุตรหลานของท่านได้ ยกตัวอย่างเช่น พาพวกเขาเข้าคอร์สเรียนเสริม ตลอดจนวางอนาคต ชี้แนะ ชี้ให้เห็นผลดี และผลเสียต่าง ๆ ของการเล่นเกม และวางแนวทางพวกเขา สู่การเป็นคนที่ทำงานในสายพัฒนาเกมหรือโปรแกรมซอฟต์แวร์, ธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ อย่างจริงจังได้

โดยปัจจุบัน มีหลักสูตรการเรียนการสอนให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ที่ชื่นชอบและสนใจด้านเกมหรืองานพวกกราฟิก ให้ได้เข้ามาศึกษาต่อยอดพัฒนาตัวเอง เรียนจบไป สามารถเข้าสู่การทำงานกับบริษัทชั้นนำ และหาเงินในระดับมืออาชีพ ยกตัวอย่างเช่น

 

• คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์เกมและอีสปอร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต

• คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม หลักสูตรเกมและอินเทอร์แอคทีฟ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

• หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและการพัฒนาเกม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

• คณะดิจิทัลมีเดีย หลักสูตรการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม มหาวิทยาลัยศรีปทุม

• คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจเกมและอีสปอร์ต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

• โครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย (การพัฒนาเกม) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน ยังมีสถาบันการศึกษาชั้นนำ ที่เปิดหลักสูตรสอนเยาวชน นักเรียน รวมถึงผู้ที่สนใจเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานและอุตสาหกรรมประเภทคอมพิวเตอร์เกมและอีสปอร์ตอีกมาก

'อีสปอร์ต' คือกีฬาและธุรกิจ ที่จะมาช่วยปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ 'เด็กเล่มเกม' ที่ไม่ใช่แค่เล่นเกมไปวัน ๆ ดูไร้สาระ แต่จะช่วยยกระดับความสามารถ อัป Skill พวกเขาสู่อาชีพทำเงิน และต่อยอดการสร้างรายได้บนโลกโซเชียล แพลตฟอร์มออนไลน์ ในยุคธุรกิจดิจิทัล อีคอมเมิร์ซ์ เช่นนี้ได้อีกในหลาย ๆ สายงาน

 

เกม มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ไม่ต่างจากการเสพติดหรือหมกหมุ่นกิจกรรมประเภทอื่น ๆ หากมากจนเกินไป เพราะฉะนั้น ทั้งตัวของเยาวชน และพ่อแม่ผู้ปกครอง จะต้องต่างคนต่างรับฟัง และเสนอความคิดมุมมองของตนเองบนพื้นฐานหลักการและเหตุผล ปราศจากการใช้อารมณ์ และความคิดเอาแต่ใจฝ่ายเดียว

ซึ่งถ้าครอบครัวใดที่ Balance สามารถสร้างสมดุลได้ แอดฯ เชื่อว่า Win Win ทุกฝ่าย โดยเยาวชนได้ต่อยอดในสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ สู่ฝันและรายได้ที่เขาอยากจะไปให้ถึง แต่ก็ต้องเชื่อฟังพ่อแม่ผู้ปกครอง เรียน เล่น ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมอย่างสดใส สมวัยด้วยเช่นกัน ซึ่งหากรู้ว่า ไม่ชอบ รู้ตัวว่าไม่ใช่ เขาจะเปลี่ยนความสนใจไปตามวัยวุฒิตามธรรมชาติ

ในส่วนพ่อแม่ผู้ปกครอง สามารถให้คำปรึกษา คอยสังเกตการณ์ ไม่ปิดกั้น ไม่ตำหนิ แต่ต้องสร้างกฎระเบียบ สร้างตารางการเรียน เล่น ใช้ชีวิตให้กับพวกเขา ให้สมดุลและเหมาะสมที่สุดในแต่ละช่วงวัย

พร้อมกับผลักดัน ช่วยสนับสนุนจนถึงที่สุด ให้กำลังใจ ปลอบใจ อยู่กับพวกเขาในทุกสภาวะ แอดมินเชื่อว่า จะช่วยลดช่องโหว่และช่องว่างของการเกิดปัญหาความรุนแรง ทั้งในระดับครอบครัว และสังคม ได้ดีกว่านี้อย่างแน่นอน


Mostview

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

เศรษฐกิจไม่ดี! KFC-Pizza Hut ในจีน ดึงกลยุทธ์สุดฤทธิ์เรียกลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

Yum China Holdings เจ้าของ KFC และ Pizza Hut เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในจีน วางแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ยังไม่เคยเปิด โดยใช้กลยุทธ์ขายเมนูในราคาต่ำเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในจำนวนมาก

CARS24 ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองยุติดำเนินกิจการในไทยอย่างเป็นทางการ

CARS24 ธุรกิจซื้อ-ขาย-เทิร์น รถยนต์มือสอง ได้ยุติกิจการในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย โดยในแถลงการณ์ของบริษัทระบุว่า

เกษตรกรเวียดนามไม่ทนหันปลูกทุเรียนส่งออกจีนแทนปลูกกาแฟที่ขาดแคลน แถมราคาถูกกว่า

ราคากาแฟโรบัสต้าทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยเวียดนามซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ที่สุด กำลังต่อสู้กับภัยแล้ง รวมถึงเกษตรกรได้เปลี่ยนมาปลูกทุเรียนแทน

SmartSME Line