วันเสาร์, พฤษภาคม 18, 2567

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

by Smart SME, 3 พฤศจิกายน 2566

"ESG" กลายเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ที่ผู้ประกอบการธุรกิจทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญ และเริ่มนำมาปรับใช้อย่างจริงจังมากขึ้นในหลาย ๆ แบรนด์และองค์กร ภายใต้กรอบแนวคิดดังกล่าวของการทำธุรกิจ ประกอบด้วย..

 

• เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environment : E)
• มีส่วนช่วยสังคม และสังคมได้ประโยชน์ (Social : S)
• การกำกับดูแลกิจการให้มีธรรมาภิบาล (Governance : G)

 

ซึ่งการนำกรอบแนวคิด ESG มาพิจารณาในการดำเนินธุรกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ในฐานะองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และยังช่วยเสริมความน่าเชื่อถือในสายตาของคู่ค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลูกค้า หรือนักลงทุน

เนื่องจากในการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานแนวคิด ESG จะมีกระบวนการตรวจสอบและกำกับดูแล โดยหน่วยงานมาตรฐานกลางหรือหน่วยงานภายนอก จึงเป็นการยืนยันความโปร่งใสอีกชั้นหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ การดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ ESG ยังช่วยยกระดับผลิตภาพ (Productivity) ความสามารถในการแข่งขัน ผลประกอบการ และผลกำไรได้ด้วย

ปัจจุบัน มีธุรกิจSME ที่ตระหนัก ให้ความสำคัญ และดำเนินกิจการภายใต้กรอบดังกล่าว ซึ่งที่น่าสนใจมีอยู่จำนวนไม่น้อย

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

 

หนึ่งในนั้น คือ "THAIS" (ธาอีส) ผลิตภัณฑ์กระเป๋า/สัมภาระ ที่ผลิตจากวัสดุหนังเหลือใช้ ซึ่งถือเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพไทย ที่น่าจับตามองมาก ๆ ในชั่วโมงนี้

ด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรม "ปลุกชีพเศษหนัง" ให้กลับมาใช้ประโยชน์ ได้เบ็ดเสร็จเป็นรายแรกของโลก ก่อประโยชน์ทั้งด้านเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

 

ข้อมูลธุรกิจ Thais Ecoleathers (ธาอีส)

บริษัท ธาอีส อิโคเลทเธอร์ จำกัด

วันที่จดทะเบียนจัดตั้ง : 25 ก.ย. 2561

ทุนจดทะเบียน : 1 ล้านบาท

บริหารโดย : คุณพัณณ์ชิตา ธราดลศิริฐิติกุล และ คุณธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล

 

ผลประกอบการ

ปี 2563
รายได้รวม : 1.3 ล้านบาท
กำไร : 40,033 บาท


ปี 2564
รายได้รวม : 5.8 ล้านบาท
กำไร : 9 แสนบาท


ปี 2565
รายได้รวม : 6.7 ล้านบาท
กำไร : 498,000 บาท

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

 

THAIS หรือ "ธาอีส" ก่อกำเนิดขึ้นจาก Pain point ที่ผู้บริหารทั้งสอง คือ "คุณพัณณ์ชิตา ธราดลศิริฐิติกุล" และ "คุณธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล" มองหาคุณค่าของ 'เศษหนัง' ซึ่งเดิมทีเป็นของดีมีมูลค่าสูง แต่กลายเป็นขยะไร้ค่า ถูกทิ้งไว้เกลื่อนกลาดใน Cycle ของอุตสาหกรรมเครื่องหนัง

คุณธันยวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและพัฒนาแบรนด์ "ธาอีส อีโคเลทเธอร์" บอกว่า เริ่มต้นธุรกิจแปลงเศษวัสดุเครื่องหนังมาประมาณ 4 ปีแล้ว เพราะความหลงใหลในความคลาสสิคของเครื่องหนัง บวกกับการไม่อยากทนเห็นขยะเศษเครื่องหนังในโรงงานอุตสาหกรรมรองเท้าและอื่น ๆ ที่กองมหาศาลถูกโละทิ้งโดยแบบไร้ค่า มูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท ต่อปี

โดยพบว่า ประเทศในแต่ละปี จะมีเศษหนังเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมสูงกว่า 10,000 ตันต่อปี ซึ่งหากกำจัดด้วยวิธีการเผา จะทำให้เกิดสารคาร์ซิโนเจน (Carcinogen) และสารไดออกซิน (Dioxins) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง หรือเมื่อนำไปฝังกลบก็จะกอให้เกิดก็วซคาร์บอนไดออกไซด์

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

 

ด้วยเหตุนี้ จึงต่อยอด R&D ในการหากระบวนการเพื่อรีไซเคิล 'เศษหนัง' ให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100% ซึ่ง "ธาอีส" ทำการทดลองจนสำเร็จเป็น Regenesis Process หรือ "นวัตกรรมรีไซเคิลเศษหนังที่จดสิทธิบัตรในเวลาต่อมา" ด้วยเพราะเป็นนวัตกรรมแรกที่ไม่ซ้ำแบบใคร

ซึ่ง "ธาอีส" คว้ารางวัลระดับโลกจาก UNIDO หรือองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ ซึ่งจะมอบรางวัลทุก ๆ 4 ปี จาก 12 ปีที่ผ่านมามีบริษัท 3 แห่งในโลกที่ได้รางวัลนี้ และ "ธาอีส" เป็นบริษัทไทยแห่งเดียวที่เป็นผู้ชนะ

นวัตกรรมของ THAIS สามารถรีไซเคิลเศษหนังให้นำกลับใช้ใหม่ได้ 100% ในกระบวนการรีไซเคิลใช้สารเคมี 0% ลดการใช้ไฟฟ้า 50% โดยนำไปแปรรูปเป็นสินค้าได้หลากหลาย เช่น กระเป๋า แผ่นหนังบุเฟอร์นิเจอร์ แผ่นรองจาน เคสใส่แก็ดเจ็ทหรือแม้กระทั่ง งานคราฟท์ งานแฟชั่น หรือเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านก็ผลิตได้ เพราะหนังนวัตกรรมนี้ มีลวดลายและสีสันแปลกตา ฯลฯ

ด้านการตลาด "ธาอีส" วางแผนทำตลาดแบบ B2B (Business-to-Business) โดยส่งออกแผ่นหนังรีไซเคิลให้ผู้ผลิตสินค้าเครื่องหนัง ในกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญต่อเทรนด์รักษ์สิ่งแวดล้อม อาศัยเปิดตลาดผ่านการออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ซึ่งได้ผลตอบรับอย่างดีมาก มีออเดอร์จากหลากหลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มตะวันออกกลาง โดยจำหน่ายได้มูลค่าสูงถึงแผ่นละ 700-1,400 บาท (ขนาด 50×55 ซม.)

 

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

จุดเปลี่ยนการทำธุรกิจ มาเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อโลกเจอกับวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบ ทำให้ "ธาอีส" ต้องหันมาให้ความสำคัญกับตลาด B2C (Business-to-Customer)

เริ่มต้นโดยนำแผ่นหนังรีไซเคิลมาทำสินค้าต่าง ๆ เพื่อขายลูกค้าในประเทศ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ แบ่งเป็นกลุ่มสินค้า เครื่องใช้ในบ้าน เช่น วอลอาร์ต แผ่นรองจาน รองแก้ว ฯลฯ กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ เช่น กระเป๋า สมุดโน้ต แก็ดเจ็ต ฯลฯ และกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ เช่น โซฟา เป็นต้น โดยเมีทีมออกแบบของตัวเอง และสินค้าแต่ละชิ้น มีจุดเด่นลวดลายและผิวสัมผัสที่มีเอกลักษณ์

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก


สำหรับช่องทางตลาดในปัจจุบัน "ธาอีส" มีทั้งรับผลิตสินค้า ODM และ OEM ให้แก่ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์เนม และสินค้าพรีเมียมต่าง ๆ ควบคู่กับผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ “THAIS” ของตัวเอง

โดยช่องทางขาย ได้แก่ ร้านอีโคโทเปีย สยามดิสคัฟเวอรี่ และ ออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ www.thais-ecoleathers.com และแฟนเพจ : thais.ecoleathers เป็นต้น โดยเฉลี่ยมียอดรับซื้อเศษหนังประมาณ 1 ตันต่อเดือน และมีกำลังผลิตแปรรูปเป็นแหนังรีไซเคิลประมาณ 4 พันแผ่นต่อเดือน

 

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

 

สำหรับแผนธุรกิจในอนาคตทั้ง Short Term และ Long Term นั้น โดยผู้บริหารทั้งสอง คือ "คุณพัณณ์ชิตา ธราดลศิริฐิติกุล" และ "คุณธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล" มองว่า ในระยะสั้น ต้องการขยายกำลังผลิต เพื่อรองรับตลาด B2B ที่เชื่อว่า ยังมีความต้องการอีกมาก

รวมถึง กำลังพัฒนารีไซเคิลเศษขยะจากวัสดุอื่น ๆ ไม่เฉพาะแค่เศษหนังเท่านั้น เพื่อให้ “ธาอีส อีโคเลทเธอร์” เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมรีไซเคิล รวมถึงเชื่อมโยงชุมชนเป็นแรงงานผลิต ช่วยให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ เกิดประโยชน์ครบวงจร

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

 

ส่วนแผนระยะยาว ก็มีความต้องการที่จะขายลิขสิทธิ์นวัตกรรมรีไซเคิลให้แก่ประเทศที่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมสูง ซึ่งด้วยแนวคิดดังกล่าว ย่อมสร้างประโยชน์ ทั้งเชิงเศรษฐกิจ ควบคู่กับแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม นับเป็นนวัตกรรมจากเอสเอ็มอีไทย ที่พร้อมจะก้าวไกลสร้างประโยชน์ระดับโลก

 

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

“ธาอีส” สตาร์ทอัพคนไทย ชุบชีวิตเศษหนังไร้ค่า สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

 

นับว่าเป็นอีกหนึ่งแบรนด์เอสเอ็มอีน้ำดี ที่คนไทยควรชื่นชนและภาคภูมิใจไปด้วยกัน เพราะ "ธาอีส อีโคเลทเธอร์" ได้ปูทางและวางรากฐานอย่างมั่นคงและชัดเจน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ในการมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ, เศรษฐกิจหมุนเวียน และ เศรษฐกิจสีเขียว) การพัฒนาธุรกิจที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนจากฐานรากความเข้มแข็งของประเทศ และยังสอดคล้องกับแนวคิดล่าสุดของโลก ESG ด้วยเช่นกัน

 


Mostview

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

6 วิธีสร้างแนวคิดอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจของคุณ แถมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

การยึดมั่นในเรื่องของความยั่งยืนไม่ได้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังส่งผลเชิงบวกให้กับแบรนด์อีกด้วย ดังนั้น เรามาดูกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่คนเป็นผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ ผ่านวิธีการเหล่านี้

SmartSME Line