วันจันทร์, เมษายน 29, 2567

ยอดจัดตั้งธุรกิจใหม่ปี 2566 ทะลุ 8.5 หมื่นราย สูงสุดในรอบ 10 ปี ทุนจดทะเบียนรวมกว่า 5.6 แสนล้านบาท

by Anirut.j, 23 มกราคม 2567

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย “ที่สุดแห่งปี 2566 ด้านการลงทุนในประเทศไทย” พบนักลงทุนไทยแห่จัดตั้งธุรกิจใหม่ 8.5 หมื่นราย ทุนจดทะเบียนรวมกว่า 5.6 แสนล้าน ส่วนต่างชาติหอบเงินลงทุนเข้าไทย แตะ 1.3 แสนล้านบาท ญี่ปุ่นอันดับ 1 ประเทศเข้าลงทุนมากที่สุด

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าเป็นธรรมเนียมทุกปีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะนำข้อมูลจากปีที่ผ่านมาจากคลังข้อมูลธุรกิจ DBD DataWarehouse+ มาวิเคราะห์ และทำการประมวลผลภาพรวมการลงทุนการลงทุนในประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดก่อนตัดสินใจลงทุนนำเสนอออกมาเป็น “ที่สุดแห่งปี 2566 ด้านการลงทุนในประเทศไทย

 

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 

สำหรับในปี 2566 มียอดจัดตั้งธุรกิจใหม่ทะลุ 85,300 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 8,812 ราย หรือ 12% ซึ่งเป็นยอดจัดตั้งธุรกิจสูงสุดในรอบ 10 ปี มีทุนจดทะเบียนรวมกว่า 562,469.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 132,640.83 ล้านบาท หรือ 31% แบ่งเป็นรูปแบบ บริษัทจำกัด 72,139 ราย, ห้างหุ้นส่วนจำกัดและห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 13,086 ราย และบริษัทมหาชนจำกัด 75 ราย โดยแบ่งเป็นธุรกิจขนาดเล็ก SMEs จำนวน 85,233 ราย และขนาดใหญ่ L จำนวน 67 ราย

โดย 5 ประเภทธุรกิจที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่

อันดับ 1 ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 6,524 ราย ทุน 13,236.72 ล้านบาท
อันดับ 2 ธุรกิจอังหาริมทรัพย์ จำนวน 6,393 ราย ทุน 29,289.12 ล้านบาท
อันดับ 3 ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 4,001 ราย ทุน 8,046.23 ล้านบาท
อันดับ 4 ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการอื่น ๆ จำนวน 2,046 ราย ทุน 4,034.23 ล้านบาท
อันดับ 5 ธุรกิจตัวแทนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 1,943 ราย ทุน 6,413.98 ล้านบาท


เมื่อทำการวิเคราะห์การจัดตั้งนิติบุคคลปี 2566 พบว่าจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเพิ่มขึ้นกว่า 12% ได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการทำธุรกิจในภาคต่าง ๆ ทั้งธุรกิจภาคบริการ ภาคค้าส่ง/ค้าปลีก และภาคการผลิต โดยในส่วนภาคบริการ คิดเป็น 58% ของจำนวนจัดตั้งทั้งหมด ซึ่งมีธุรกิจหลักที่ขับเคลื่อนให้เกิดการขยายตัวของการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น คือธุรกิจกิจกรรมเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ 366 ราย เติบโต 1.46 เท่า ธุรกิจกิจกรรมของสำนักงานจัดหางานหรือตัวแทนจัดหางาน 43 ราย เติบโต 1.39 เท่า และธุรกิจกิจกรรมบริการที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยได้รับค่าตอบแทนหรือตามสัญญาจ้าง 707 ราย เติบโต 1.36 เท่า

 

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 

ส่วนการเลิกประกอบธุรกิจในปี 2566 มีทั้งสิ้น 23,380 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 1,500 ราย มูลค่าทุนเลิกประกอบกิจการ 160,056.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 33,008.08 ล้านบาท โดยธุรกิจที่มีการเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 2,166 ราย 2.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1,146 ราย และ 3.ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 699 ราย

ขณะเดียวกัน ต่างชาติได้เข้ามาลงทุนในไทยแตะ 1.3 แสนล้านบาท โดย 3 ประเภทธุรกิจที่ได้รับความนิยม ได้แก่ บริการรับจ้างผลิต, บริการด้านคอมพิวเตอร์ และบริการให้คำปรึกษาแนะนำและบริหารจัดการ โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด มีนักลงทุนจำนวน 137 ราย เงินลงทุนรวม 32,148 ล้านบาท

 

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 

ด้านภาพรวมธุรกิจในปี 2567 คาดว่าจะได้รับปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวตามคาดการณ์ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.7-3.7% และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกไว้ที่ 2.7% สอดคล้องกับกระทรวงการคลังที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี จากปัจจัยสนับสนุนของการบริโภคภาคเอกชน การส่งออก และภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมาตรการภาครัฐด้านต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการบริโภคของภาคเอกชน เช่น โครงการ e-Refund, มาตรการลดหย่อนภาษี Easy E-receipt มาตรการแก้หนี้นอกระบบ และนโยบายสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ที่จะช่วยสร้างกระแส ความนิยม มูลค่าเพิ่มให้กับเรื่องต่าง ๆ


Mostview

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

หาคำตอบ? เพราะอะไรลูกค้าถึงรำคาญการตั้งราคาของแบรนด์อาหารจานด่วน

เครือร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดขึ้นราคาเมนูอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยอ้างปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนวัตถุดิบ, การขาดแคลนแรงงาน ตลอดจนความไม่สงบระหว่างรัสเซีย-ยูเครน

SmartSME Line