วันเสาร์, พฤษภาคม 11, 2567

จุฬาฯ เปิดเมืองนวัตกรรมแห่งสยาม อัดงบ 100 ล้านบาทหนุนสตาร์ทอัพ เข้าถึงแหล่งเงินทุน

by Smart SME, 30 ตุลาคม 2560

จุฬา เปิด เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม (Siam Innovation District หรือ SID) อัดงบกว่า 100 ล้านบาท สนับสนุนสตาร์ทอัพ ผ่านโครงการส่งเสริมนวัตกรรมแห่งสยาม 100 SID เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจใหม่ที่มีนวัตกรรม 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มไลฟ์สไตล์ กลุ่มดิจิตอลและหุ่นยนต์ กลุ่มความยั่งยืนทางทรัพยากร กลุ่มเมืองอัจฉริยะ และกลุ่มนวัตกรรมการศึกษา ทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อผลักดันเศรษฐกิจและประโยชน์ต่อการพัฒนานวัตกรรมของประเทศไทย

[caption id="attachment_78845" align="aligncenter" width="421"]รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลชัย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลชัย[/caption] รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ผู้อำนวยการโครงการเมืองนวัตกรรมแห่งสยาม กล่าวว่า โครงการเมืองนวัตกรรมแห่งสยาม (Siam Innovation District หรือSID) ภายใต้การดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นโครงการต้นแบบในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การค้าทั่วไปให้เป็นแหล่งอุดมปัญญาสำหรับการแก้ปัญหาของประเทศ โดยเมืองนวัตกรรมจะเป็นพื้นที่สำหรับความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อเอื้อต่อการเกิดธุรกิจใหม่ๆ หรือธุรกิจที่จะสร้างประโยชน์ หรือแก้ปัญหาของประเทศ สำหรับโครงการเมืองนวัตกรรมแห่งสยามมีพันธกิจอยู่ 4 ด้าน คือ 1.การสร้างพื้นที่เพื่อให้เกิดพรสวรรค์ นั่นคือการพัฒนาคน 2.การสร้างต้นแบบที่ใช้งานได้ของเมืองแห่งอนาคต 3.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน รัฐบาล และมหาวิทยาลัยเพื่อร่วมกันสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ หรือแก้ปัญหาของประเทศ และ 4.การสร้างพื้นที่ให้เกิดการเจอกันระหว่างคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ หรือไอเดียและคนที่สามารถทำได้จริง ซึ่งความคิดสร้างสรรค์จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเข้าถึงเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมต่างๆง่ายขึ้น “จุฬาฯ ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนา หรือขับเคลื่อนธุรกิจสตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีด้วยนวัตกรรมอย่างมาก ซึ่งประเทศไทยจะพัฒนาและก้าวไปสู่ที่เรียกว่าไทยแลนด์ 4.0 อย่างเต็มรูปแบบได้นั้น ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่ๆ จะทำให้เกิดนวัตกรรม ถือเป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวกด้วยนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาหรือแก้ปัญหาของประเทศ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ไปจนถึงสถาบันการศึกษา ดังนั้นเมืองนวัตกรรมแห่งสยามนี้จะต้องทำให้ลดความเลื่อมล้ำของการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านการผลิตและการบริโภค”รศ.ดร.ณัฐชา กล่าว รศ.ดร.ณัฐชา กล่าวต่อว่า จากพันธกิจของโครงการเมืองนวัตกรรมแห่งสยามที่กล่าวมานั้นจึงทำให้เกิดโครงการส่งเสริมนวัตกรรมแห่งสยาม 100 SID ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องการผลักดันให้นวัตกรรมรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่ในการจัดแสดงผลงาน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความร่วมมือทางธุรกิจ ตลอดจนการเป็นโครงการต้นแบบในการนำนวัตกรรมใหม่ๆ ไปต่อยอดการใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับโครงการส่งเสริมนวัตกรรมแห่งสยาม 100 SID จะเปิดรับผลงานนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจเกิดใหม่ (Seed Fund) และเพื่อส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจใหม่ (Scale Up Fund) โดยมีเงินทุนสนับสนุนให้แก่โครงการต่างๆ รวมเป็นเงินกว่า 100 ล้านบาท โดยจะกระจายให้แก่โครงการต่างๆ ที่น่าสนใจ โดยไม่กำหนดจำนวนโครงการที่มาขอรับการสนับสนุน เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจสตาร์ทอัพของไทย พัฒนาขีดความสามารถและสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงในระยะยาว เพราะธุรกิจสตาร์ทอัพนับว่ามีความสำคัญมากขึ้นและส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต        โดยกลุ่มนวัตกรรมที่จะได้รับการสนับสนุน ต้องเป็นโครงการนวัตกรรมที่มีความเป็นไปได้ในการนำไปผลิตหรือเปิดให้บริการได้ภายในอนาคตอันใกล้ สามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวม โดยโครงการที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีเป้าหมายในการดำเนินงานด้านใดด้านหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ 1. Lifestyle นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิต 2. Sustainable Development นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนทางทรัพยากร (อาหาร พลังงาน และน้ำ) 3. Inclusive Community & Smart City นวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์สังคมและเมืองอัจฉริยะ 4. Digital Economy & Robotics นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและวิศวกรรมหุ่นยนต์ และ5. Innovative Education นวัตกรรมเพื่อการศึกษา ทั้งนี้เงินทุนที่สนับสนุนแบ่งเป็น 1.ประเภทเงินทุนเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจเกิดใหม่ (Seed Fund) ทุนละ 1 ล้านบาท โดยเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล ที่มีสัญชาติไทยอย่างน้อย 1 คน หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย และมีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยอย่างน้อย 1 คน ที่มีต้นแบบ (Prototype) หรือมีแผนการพัฒนาโครงการ (Project Development) ที่มีกระแสตอบรับ (traction) แล้ว เช่น มีผลการดำเนินงาน ยอดขาย ยอด Like ยอดดาวน์โหลด จำนวนผู้ใช้ Website หรือผลการตอบรับใดๆที่สามารถวัดค่าได้ 2. ประเภทเงินทุนเพื่อสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจใหม่(Scale Up Fund) ทุนละ 5 ล้านบาท โดยเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย และมีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยอย่างน้อย 1 คน ที่มีโครงการนวัตกรรมพื้นฐานด้านใดด้านหนึ่งที่พร้อมออกสู่ตลาดแล้ว และต้องการแรงสนับสนุนในการพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น รศ.ดร.ณัฐชา กล่าวว่า ผู้สมัครสามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้มากกว่า 1 โครงการ โดยให้แยกการสมัครออกจากกัน สำหรับผู้ที่ผ่านการคัดเลือก คณะกรรมการจะจัดหาคณะที่ปรึกษาโครงการ และติดตามผลงานตามความเหมาะสม โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกโครงการที่จะได้รับเงินสนับสนุนออกเป็นดังนี้1.ประโยชน์โดยตรงต่อผู้ได้รับเงินสนับสนุน 25%  คือ โครงการดังกล่าวสามารถนำไปสู่การสร้างผลประโยชน์ต่อกิจการและความสำเร็จของกิจการอย่างไรที่วัดและพิสูจน์ได้ 2.ประโยชน์ต่อประเทศชาติ 20% คือ โครงการดังกล่าวก่อให้เกิดผลประโยชน์ใดต่อประเทศที่วัดและพิสูจน์ได้ และ 3.ประโยชน์ต่อโครงการเมืองนวัตกรรมแห่งสยาม 55% คือ โครงการดังกล่าวจะช่วยสร้างความยั่งยืนมั่นคงทางทรัพยากร ช่วยสร้างชื่อเสียงที่ดี และช่วยสร้างองค์ความรู้หรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่สนใจสอบถามได้ที่ Call Center หมายเลข 02-579 4777 หรือ Line ID : 100sid โดยเปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (ไม่เกินเวลา24.00น.ของวันที่31 ตุลาคม 2560)  และประกาศผลการคัดเลือกในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 ทาง E-mail และหน้าเพจ Facebook - Siam Innovation District: เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม อย่างไรก็ตามขณะนี้มีผู้สนใจสอบถามและสมัครเข้ามาเป็นจำนวนมากทางคณะกรรมการอาจจะพิจารณาขยายเวลารับสมัครออกไป โครงการส่งเสริมนวัตกรรมแห่งสยาม *โครงการส่งเสริมนวัตกรรมแห่งสยาม 100 SID เป็นหนึ่งในโครงการเมืองนวัตกรรมแห่งสยาม (Siam Innovation District หรือ SID) จัดตั้งขึ้นเพื่อที่จะผลักดันให้นวัตกรรมรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่ในการจัดแสดงผล งาน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความร่วมมือทางธุรกิจ ตลอดจนการเป็นโครงการต้นแบบในการนำนวัตกรรมใหม่ๆ ไปต่อยอดการใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างเป็น รูปธรรม  

Mostview

เศรษฐกิจไม่ดี! KFC-Pizza Hut ในจีน ดึงกลยุทธ์สุดฤทธิ์เรียกลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

Yum China Holdings เจ้าของ KFC และ Pizza Hut เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในจีน วางแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ยังไม่เคยเปิด โดยใช้กลยุทธ์ขายเมนูในราคาต่ำเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในจำนวนมาก

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

แม็คโคร-โลตัส ไตรมาสแรกปี 2567 ทำรายได้รวม 127,020 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT เผยผลประกอบการในช่วงไตรมาส 1/67 พบว่ามียอดรายได้รวม 127,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน มีกำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีก่อน

CARS24 ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองยุติดำเนินกิจการในไทยอย่างเป็นทางการ

CARS24 ธุรกิจซื้อ-ขาย-เทิร์น รถยนต์มือสอง ได้ยุติกิจการในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย โดยในแถลงการณ์ของบริษัทระบุว่า

เกษตรกรเวียดนามไม่ทนหันปลูกทุเรียนส่งออกจีนแทนปลูกกาแฟที่ขาดแคลน แถมราคาถูกกว่า

ราคากาแฟโรบัสต้าทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยเวียดนามซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ที่สุด กำลังต่อสู้กับภัยแล้ง รวมถึงเกษตรกรได้เปลี่ยนมาปลูกทุเรียนแทน

SmartSME Line