วันเสาร์, พฤษภาคม 11, 2567

บ่นกันหนาหู ส่งออกดีแต่เอสเอมอีไม่ได้ประโยชน์

by Smart SME, 30 ตุลาคม 2560

นายพรหมวรัท ประดิษฐ เศรษฐกรอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกบทวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ มองต่างมุม : ส่งออกดีแต่เอสเอมอีไม่ได้ประโยชน์ จริงหรือ โดยระบุว่าปัจจุบันผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอมอี) ของไทยยังเผชิญกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่เติบโตอย่างต่อเนื่องได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอียังทำประกันความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ซึ่งปัจจุบันเอสเอ็มอีทำประกันความเสี่ยงไม่ถึง 20%

ส่งออกดีแต่เอสเอมอีไม่ได้ประโยชน์

มีเสียงบ่นกันว่า แม้การส่งออกดีขึ้น จะทำให้รายได้ของ เอสเอมอีเพิ่มขึ้น แต่หากเปลี่ยนแปลงกลับมาเป็นรูปเงินบาทแทบจะไม่เหลืออะไรเลย ซึ่งหากดูโครงสร้างการชำระเงินค่าสินค้าออก โดยดูข้อมูลจากใบขนสินค้า พบว่า เอสเอมอี ใช้เงินบาทในการค้าขายมากกว่ากลุ่มส่งออกรายใหญ่ เพราะเอสเอมอี มีตลาดส่งออกหลักคือกลุ่มประเทศกัมพูชา-ลาว-เมียนมา-เวียดนาม(ซีแอลเอมวี)ซึ่งใช้เงินบาทค่อนข้างมาก ดังนั้น เอสเอมอีจะได้รับผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่าน้อยกว่าผู้ส่งออกรายใหญ่ นายพรหมวรัท กล่าวว่า ถึงแม้เอสเอมอีจะได้รับผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นน้อยกว่าผู้ส่งออกรายใหญ่ แต่เอสเอมอียังมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินเพราะเอสเอมอีส่วนใหญ่มักใช้วัตถุดิบในประเทศ จึงมีต้นทุนในรูปเงินบาทมากกว่าผู้ส่งออกรายใหญ่ ดังนั้น เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น แม้รายรับในรูปเงินบาทของเอสเอมอีและผู้ส่งออกรายใหญ่จะลดลงในอัตราเดียวกัน แต่รายจ่ายจากการนำเข้าวัตถุดิบที่ของผู้ส่งออกรายใหญ่จะลดลงได้มากกว่าเอสเอมอี และทำให้ผู้ประกอบการเอสเอมอีได้รับผลกระทบในรูปของการทำกำไรและผลประกอบการจากค่าเงินมากกว่า สำหรับผลการศึกษาของธปท. ที่ผ่านมา และการสำรวจของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซิม แบงก์ พบว่า บริษัทที่ใช้เครื่องมือบริหารอัตราแลกเปลี่ยนไม่ถึง 20% ของเอสเอมอีที่ส่งออกทั้งหมด ขณะที่ผู้ส่งออกรายใหญ่มีการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสม่ำเสมอ ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้เอสเอ็มอีไม่ค่อยทำประกันความเสี่ยง หรือใช้เครื่องมือทางการเงินในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจาก เอสเอมอีไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือในการป้องกัน ต้นทุนของการใช้เครื่องมือค่อนข้างสูง โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ค่าเงินผันผวน ดังนั้นทำให้ผู้ประกอบการเลือกรับความเสี่ยงไว้เอง ธปท. ยืนยันว่า ธปท.ไม่สามารถฝืนกลไกตลาดหรือแนวโน้มของโลกได้ดังนั้นผู้ส่งออกเองจะต้องหมั่นสอดส่องดูแลและใช้เครื่องมือทางการเงินในการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมมือกัน เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถ และส่งเสริมความรู้ให้กับเอสเอมอี ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

Mostview

4 สิ่งของคนเลี้ยงลูกประสบความสำเร็จไม่เคยสอนตอนเมื่อลูกยังเล็ก

ครอบครัวถือเป็นสถาบันหลักสำคัญในการสั่งสอนลูกว่าจะเป็นคนอย่างไร โดยช่วงเวลาที่ผ่านมาเราได้ยินว่าควรทำอย่างไรกับลูกของเรา และเรื่องไหนที่ไม่ควรทำกับลูกของเรา

เศรษฐกิจไม่ดี! KFC-Pizza Hut ในจีน ดึงกลยุทธ์สุดฤทธิ์เรียกลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

Yum China Holdings เจ้าของ KFC และ Pizza Hut เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในจีน วางแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ยังไม่เคยเปิด โดยใช้กลยุทธ์ขายเมนูในราคาต่ำเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในจำนวนมาก

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

เกษตรกรเวียดนามไม่ทนหันปลูกทุเรียนส่งออกจีนแทนปลูกกาแฟที่ขาดแคลน แถมราคาถูกกว่า

ราคากาแฟโรบัสต้าทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยเวียดนามซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ที่สุด กำลังต่อสู้กับภัยแล้ง รวมถึงเกษตรกรได้เปลี่ยนมาปลูกทุเรียนแทน

แม็คโคร-โลตัส ไตรมาสแรกปี 2567 ทำรายได้รวม 127,020 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT เผยผลประกอบการในช่วงไตรมาส 1/67 พบว่ามียอดรายได้รวม 127,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน มีกำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีก่อน

SmartSME Line