วันเสาร์, เมษายน 27, 2567

ก.ขนส่ง เตรียมจัดรถเมล์เสริมวิ่งเส้นทางรถตู้หมดอายุ เริ่ม 1 ต.ค. นี้

by Smart SME, 25 กันยายน 2561

แผนรองรับรถตู้สาธารณะ เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลประกาศหยุดวิ่ง หลังจากหมดอายุ 10 ปี ก.ขนส่ง เตรียมรถเมล์วิ่งแทน เน้นจอดรับส่งผู้โดยสารในจุดใหญ่ๆ คาดไม่ส่งผลกระทบประชาชน

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 61 ที่ผ่านมา ได้มีการร่วมแถลงข่าวชมรมรถตู้โดยสารปรับอากาศร่วมบริการสาธารณะเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลประกาศหยุดวิ่ง 1,800 คัน ในวันที่ 1 ต.ค.61 จากกรณีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ไม่อนุมัติขยายอายุการใช้งานรถตู้ นายเชิดชัย สนั่นศรีสาคร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า ปัจจุบันรถตู้ทุกหมวด 1, 2, 3 และ 4 ทั่วประเทศ มี 12,716 คัน แบ่งเป็นรถตู้หมวด 1 วิ่งให้บริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล  4,221 คัน หมดอายุการใช้งาน ปี 61 จำนวน 954 คัน ปี 62 จำนวน 892 คัน ปี 63 จำนวน 1,441 คัน, ปี 64 จำนวน 419 คัน, ปี 65 จำนวน 115 คัน, ปี 66 จำนวน 62 คัน, ปี 67 จำนวน 43 คัน, ปี 68 จำนวน 53 คัน, ปี 69 จำนวน 48, ปี 70 จำนวน 20 คัน ปี 71 จำนวน 9 คัน ส่วนรถตู้หมวด 2 เส้นทางกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัดระยะทางไม่เกิน 300 กม.หมดอายุปี 61 จำนวน 379 คัน ผู้ประกอบการบางรายได้ทยอยเปลี่ยนรถตู้เป็นรถโดยสารขนาดเล็กไม่เกิน 20 ที่นั่ง (ไมโครบัส) แล้ว ส่วนที่คาดว่าประชาชนได้รับผลกระทบจากรถตู้ ในเส้นทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีนบุรี จตุจักร และรังสิตนั้น จากสำรวจพบว่า รถหมดอายุปี 61 วินอนุสาวรีย์ชัยฯ 11 เส้นทาง 260 คัน วินมีนบุรี 7 เส้นทาง 191 คัน จตุจักร 1 เส้นทาง1 คัน และ รังสิต 1 เส้นทาง 28 คัน ขบ. ได้เตรียมแผนรองรับรถตู้ ที่หมดอายุใช้งานแล้ว โดยมอบให้ ขสมก.จัดเตรียมรถเมล์วิ่งให้บริการที่เพียงพอ โดยเฉพาะช่วงเร่งด่วน เช้า – เย็น ในเส้นทางอนุสาวรีย์ชัยฯ หากไม่เพียงพอให้ประสาน เพื่อจัดหารถโดยสารไม่ประจำทาง (รถ 30) มาวิ่งให้บริการแทน เช่น รถตู้ 10 คัน จะใช้รถบัส 2-3 คัน ซึ่งรถที่จัดวิ่งให้บริการแทนนี้จะเน้นจอดรับส่งผู้โดยสารในจุดใหญ่ๆ เพื่อไม่ให้เสียเวลาเดินทาง และสร้างความมั่นใจให้ประชาชนที่ใช้บริการ ส่วนข้อกังวลของผู้ประกอบการที่มองว่าเมื่อเปลี่ยนรถตู้แล้วจะไม่คุ้มทุน โดยเฉพาะเส้นทางที่ก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น ขบ. ได้จ้างที่ปรึกษาศึกษาจัดเส้นทางรถตู้ให้เป็นระบบฟีดเดอร์และไม่ทับซ้อนกับรถไฟฟ้าซึ่งจะแล้วเสร็จกลางปี 62 เพื่อรองรับรถไฟฟ้าที่ทยอยสร้างเสร็จใน 3 - 4 ปีข้างหน้า ส่วนบทลงโทษผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนนำรถตู้หมดอายุมาให้บริการจะได้รับโทษฐานประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท และจำคุกไม่เกิน 5 ปี อย่างไรก็ตามจะเชิญผู้ประกอบการรถตู้มาหารือในเร็วๆ นี้ พันเอกสมบัติ ธัญญะวัน พล. ม.2 รอ กล่าวว่า รถตู้ที่หมดอายุใช้งาน หากนำมาวิ่งบริการจะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดอุบัติเหตุ เพราะไม่ได้รับการคุ้มครองจากประกันภัย และเกิดมลภาวะทางถนน ทั้งนี้ผู้ประกอบการรถตู้หมวด 1 จะยังเปลี่ยนเป็นรถตู้ได้เหมือนเดิม จนกว่าจะมีผลบังคับใช้ให้เปลี่ยนเป็นไมโครบัสทั้งหมดใน 30 ก.ย.62 ขณะที่มาตรการเยียวยาผู้ประกอบการที่จะเปลี่ยนรถตู้เป็น ไมโครบัส นั้น ขบ.ธนาคารกรุงไทย บขส. และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ในโครงการเปลี่ยนรถตู้โดยสารประจำทางขนาดเล็กแทนรถตู้โดยสาร วงเงินโครงการ 2,000 ล้านบาท ปล่อยกู้ 20 ล้านบาทต่อราย ในอัตราดอกเบี้ยต่ำและประกันชีวิต นายจิรศักดิ์ เยาว์วัชสกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด กล่าวว่า ในปี 61 รถตู้หมวด 2 หมดอายุ 379 คัน สำหรับรถตู้ทยอยหมดอายุ บขส. ได้จัดหารถ 30 มาให้บริการเสริมในเส้นทางที่รถไม่เพียงพอ เพื่อไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ส่วนปี 61 มีรถตู้หมวด 1 หมดอายุ 480 คัน ขณะนี้มีผู้ประกอบการได้ยื่นความประสงค์ขอเปลี่ยนรถตู้ใหม่แล้ว 500 กว่าคัน ทยอยเปลี่ยนแล้ว 100 กว่าคัน ส่วนที่จะหมดอายุวันที่ 1 ต.ค.นี้ ขสมก. ได้เตรียมจัดรถเมล์เสริมให้บริการแล้ว ข่าวอื่นๆ คลิก

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line