วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2567

โอกาสส่งออก ‘สินค้าสำหรับเด็ก’ ในตลาดมาเลเซีย

by Smart SME, 16 ตุลาคม 2561

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เผยข้อมูลจาก The Nielsen Global Survey ว่า ครัวเรือนในมาเลเซียร้อยละ 10 จะมีเด็กในบ้านที่มีอายุต่ำกว่า 1 ขวบจำนวน 1 คน ถือเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในภูมิภาคและสูงกว่าสัดส่วนเฉลี่ยของโลก และคาดว่าประชากรมาเลเซียจะเพิ่มขึ้นเป็น 34.9 ล้านคนในปี ค.ศ. 2025 โดยมีประชากร 1 ใน 4 เป็นทารกและเด็ก ซึ่งสินค้าสำหรับเด็ก ที่ผลิตภายในประเทศยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมาเลเซียส่วนใหญ่ เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย ราคาย่อมเยา และมีคุณภาพที่ยอมรับได้

ส่วนสินค้าจากต่างประเทศที่เป็นที่นิยม ได้แก่ รถเข็นเด็ก คาร์ซีต และแปลเด็ก เนื่องจากการออกแบบที่ดี มีฟังก์ชั่นหลากหลาย สวยงามและทันสมัยมากกว่าสินค้าในประเทศ อีกทั้งยังสามารถหาซื้อได้ทางเว็บไซต์ ซึ่งราคาแทบไม่แตกต่างจากสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ สำหรับแนวโน้มความต้องการที่น่าสนใจในตลาดมาเลเซีย มีดังนี้

ผู้บริโภคมาเลเซียเกือบร้อยละ 50 ให้ความสำคัญกับแบรนด์สินค้าที่เชื่อถือได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการผลิตสินค้าสำหรับเด็กและทารกที่ต้องการขยายตลาดในมาเลเซียจะต้องมีการลงทุนเพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับในตลาด

ตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคร้อยละ 80 มีการเปลี่ยนยี่ห้อผ้าอ้อมในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยปัจจัยหลักในการเปลี่ยนแบรนด์ที่ใช้มาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การส่งเสริมตราสินค้า (brand promotion), การแนะนำจากเพื่อนและครอบครัว และปัจจัยด้านราคา

สำหรับปัจจัยการเลือกซื้ออาหารสำหรับเด็กและทารก ได้แก่ คุณค่าทางโภชนาการโดยรวมที่ดี (overall nutrition) รองลงมาเป็นส่วนผสมและขั้นตอนการผลิตที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน ตามมาด้วยปัจจัยราคาหรือมูลค่า ส่วนอาหารประเภทออร์แกนิกหรืออาหารจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (organic/all natural foods) มีผู้บริโภคมาเลเซียราวร้อยละ 25 ใช้เป็นปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า เนื่องจากผู้บริโภคมาเลเซียมีความใส่ใจต่อสุขภาพและโภชนาการมากขึ้น

ทั้งนี้ ผู้บริโภคมาเลเซียร้อยละ 40 มักจะหาคำแนะนาจากเพื่อนและครอบครัวก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ส่วนอีกร้อยละ 36 จะหำคาแนะนาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็ก สำหรับสินค้าอาหาร ผู้บริโภค จะใช้แหล่งข้อมูลจากทั้งจากออฟไลน์และออนไลน์ อาทิ เว็บไซต์ (ร้อยละ 22) นิตยสาร (ร้อยละ 21) โซเชียลมีเดีย (ร้อยละ 19)

Tag :

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

SmartSME Line