วันอังคาร, พฤษภาคม 21, 2567

ภาษี ที่ SME ควรต้องรู้.....ก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ (ตอนที่ 10)

by ดร.สกล อยู่วิทยา, 18 ธันวาคม 2561

การประกอบธุรกิจในรูปของห้างหุ้นส่วนสามัญดีไหม

ห้างหุ้นส่วนสามัญคืออะไร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติไว้เป็นใจความสำคัญว่า คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจะลงหุ้นด้วยเงินหรือทรัพย์สินสิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้

ห้างหุ้นส่วนสามัญ หากประกอบการแล้วขาดทุน ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ซึ่งจะต่างจากบริษัทจำกัด คือจะจำกัดความรับผิด โดยรับผิดไม่เกินมูลค่าหุ้นที่ตนยังคงค้างชำระกับบริษัทเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

การเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ จะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ หากจดทะเบียนก็จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ถ้าไม่จดทะเบียนก็จะมีสภาพเป็นเหมือนบุคคลธรรมดา และเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ก่อนหน้านี้ คือ ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2558 มีผู้นิยมจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ทนายความ ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นๆ หรือผู้ประกอบการทั่วไป เนื่องจากว่าสามารถกระจายรายได้เพื่อทำให้เสียภาษีเงินได้น้อยลงจากการกระจายหน่วยภาษี ตัวอย่างเช่น แพทย์หากเปิดคลินิกที่เดียว จะเสียภาษีในอัตราสูง อาจถึงเกณฑ์อัตราภาษีสูงสุดของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (35%) แต่หากกระจายเปิดเป็นหลายๆ คลินิก ร่วมกับเพื่อนแพทย์ ก็จะทำให้เสียภาษีในอัตราที่ต่ำลงเป็นอย่างมาก

การเสียภาษีในรูปของห้างหุ้นส่วนสามัญในช่วงก่อนวันที่ 1 มกราคม 2558 นั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญชำระภาษีเงินได้เรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างถือว่าเสร็จสิ้น คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนในห้างหุ้นส่วนนั้นจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับจากห้างหุ้นส่วนสามัญมาคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีแต่อย่างใด กล่าวคือ จะเสียภาษีเพียงแค่ 1 ครั้งเท่านั้น (ประมวลรัษฏากร มาตรา 42 (14) ) แต่ในปัจจุบัน กฎหมายดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป ซึ่งมีผลทำให้เงินส่วนแบ่งกำไรที่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนในห้างหุ้นส่วนสามัญได้รับ ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะต้องมีหน้าที่ต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณกับเงินได้อื่นๆ ของตนเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของตนเองอีกด้วย เท่ากับต้องเสียภาษีถึง 2 ครั้งด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีกฎหมายกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากเงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ที่ได้รับจาก 2 กรณี ดังนี้

(1)การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธ์รวมอันได้มาโดยทางมรดก หรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(2)ดอกเบี้ยเงินฝาก (ตามประมวลรัษฏากร มาตรา 40 (4) (ก) ) ซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย อัตราร้อยละ 15 (ตามประมวลรัษฏากร มาตรา 50 (2) ) ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้คืนหรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

จากข้อมูลทั้งหมดดังกล่าวนี้ทุกท่านตัดสินใจได้แล้วใช่ไหมครับว่าเราควรหรือไม่ควรที่จะจัดตั้งธุรกิจในลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ที่ [email protected]

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปของนิติบุคคล

ดร.สกล อยู่วิทยา
ดร.สกล อยู่วิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายภาษีอากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธรรมสมจิตร์ จำกัด (ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ การตลาด และกฎหมาย) บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Mostview

พาชมงาน MONEY EXPO 2024 โซน Franchise SMEs มีธุรกิจอะไรน่าลงทุน

เริ่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับงาน MONEY EXPO 2024 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยภายงานในงานได้มีสถาบันทางการเงินที่นำบริการสินเชื่อต่าง ๆ มานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจมองหาแหล่งทุนสำหรับนำไปใช้ในเรื่องต่าง

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

6 วิธีสร้างแนวคิดอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจของคุณ แถมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

การยึดมั่นในเรื่องของความยั่งยืนไม่ได้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังส่งผลเชิงบวกให้กับแบรนด์อีกด้วย ดังนั้น เรามาดูกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่คนเป็นผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ ผ่านวิธีการเหล่านี้

SmartSME Line