วันเสาร์, เมษายน 27, 2567

ไขมันทรานส์อันตรายแค่ไหน เหตุใดจึงต้องห้ามผลิต ห้ามนำเข้า ห้ามจำหน่าย

by Anirut.j, 10 มกราคม 2562

ย้อนกลับไปเมื่อ 2561 กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศให้ไขมันทรานส์ และอาหารที่มีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย โดยมีผลบังคับใช้ใน 180 วัน ซึ่งเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2562 เป็นวันครบกำหนดที่กฎหมายไขมันทรานส์มีผลบังคับใช้

นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ที่มีไขมันทรานส์มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2562 เพื่อคุ้มครองสุขภาพของคนไทย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด

“การห้ามนำเขาไขมันทรานส์มาใช้ในการผลิตอาหารเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคภัยที่เป็นอันตรายต่อร่างกายให้กับผู้บริโภค จึงขอให้ผู้บริโภคตระหนักในเรื่องการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย”
นอกจากนี้ หากพบผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท ตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522

ทั้งนี้ ไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีการออกกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา ซึ่งได้รับคำชื่นชมจาก WTO ที่รับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน เพื่อให้การสื่อสารไปถึงผู้บริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 


Mostview

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line