วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2567

เกาะกระแส Social network SMEs ไทยเติบโตอย่างไรในยุค ออนไลน์

by Smart SME, 4 กันยายน 2557

กระแส Social network ได้ย่างก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่อย่างมาก ด้วยจุดเด่นเข้าถึงง่าย และมีความหลากหลาย ถือเป็นโอกาสน่าสนใจที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะมาสร้างแต้มต่อให้ธุรกิจ

                       โดยข้อมูลสถิติ โซเชียลเน็ตเวิร์ค ในช่วงต้นปี 2557 ประเทศไทยมี ประชากร ไทยมีจำนวน 67.4 ล้านคน เป็นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งหมด 23.8 ล้านคน (35% ของประชากรทั้งหมด และ จากทั้งหมดนั้นเป็นคนที่ใช้ โซเชียลเน็ตเวิร์ค ทั้งหมดประมาณ 18 ล้านคนเมื่อลงลึก ถึงการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ประเภทต่างๆ พบว่า 18 ล้านคนที่ใช้ Social network นั้นสร้าง Social network Account ออกมามากกว่า 50 ล้าน Account โดยแบ่งได้ดังนี้  Facebook มีผู้ใช้ ในไทย 24 ล้าน Accounts (ในกรุงเทพประมาณ14 ล้านคน) ต่อมาคือ LINE มีผู้ใช้กว่า 20 ล้าน Accounts  มีแบรนด์สินค้ารายใหญ่ๆ ที่เข้ามาทำ LINE Marketing กว่า 30 แบรนด์ ด้าน Twitter มีผู้ใช้ประมาณ 1.73 ล้าน Accounts  ส่วน Instragram มีผู้ใช้ใน 1.5 ล้าน Accounts และสุดท้ายคือ Linkedin มีผู้ใช้ไทย 7 แสน Accounts  

                       โดยมีกรณีศึกษาจาก 2 ผู้ประกอบการSMEsไทย ที่ต่างใช่ Social network เป็ยกลยุทย์ในการทำการตลาดเพราะมองเห็นโอกาศจากตัวเลขในข้างต้น ซึ่งทั้งสองจะมาบอกเรื่องราวข้อคิดในการทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ เพื่อเป็นบทเรียนให้ผู้ประกอบการSMEsท่านอื่นๆ เก็บเกี่ยวไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจตัวเองอีกด้วย

 

รายแรกเป็นตัวอย่างจาก  Thitaya cake  ร้านเค้กสไตส์โฮมเมด  คุณแม่ที่ทำขนมอร่อย กับลูกชายผู้อยากมีร้านกาแฟเล็กๆ กลางซอยอารีย์ โปรโมทร้านอย่างไร จนทำให้ cake มะพร้าวอ่อน ทำแทบไม่ทัน

                      คุณอาทิตย์ วงศ์ยฤทธิ์ หรือ คุณก้าว เล่าว่า เริ่มทำธุรกิจนี้มา 4 ปีแล้ว โดยเริ่มแรกจะขายพวกเค้กเบเกอรี่ผ่าน FacebookกับInstragram เท่านั้นไม่มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง   เพราะ ตอนนั้นต้องทำงานประจำด้วย   เลยอาศัยทำแล้วถ่ายรูปลง FacebookกับInstragram ถ้าลูกค้าสนใจก็จะลงมือทำ และ ลูกค้าก็มารับของที่บ้านของคุณเก้าว หรือไม่ คุณก้าวก็จะไปส่งให้ที่ BTS   เพิ่งมามีหน้าร้านแบบจริงๆจังได้สัก ปีกว่าๆ เนื่องจากกะแสเรียกร้องจากลูกค้าที่อยากให้เปิดหน้าร้าน

                         ในช่วงแรกที่ทำนั้นคุณเก้าเล่าให้ฟังว่า ทำตลาดออนไลน์แบบสะเปะสะปะ คิดเองทำเองเสียทุกอย่าง ส่วนใหญ่ก็จะแค่โพสแนะนำสินค้าต่างๆ เท่านั้น ซึ่งมียอดกด “ไลค์”ในเฟซบุ๊ก เพียงแค่หลักร้อย แต่พอลองทำไปสักพักยอดไลค์ ก็เริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากกระแสปากต่อปาก แต่ก็ไม่มากถึงกับหวือหวา

                       พอยอดไลค์เริ่มนิ่งก็ลองลงทุนซื้อโฆษณากับทางFacebook เพื่อกระตุ้นยอดไลค์ให้มากขึ้น ยอดก็เพิ่มเป็นหลักพัน แต่เชิงการสร้างผลตอบรับด้านการสร้างแบรนด์ หรือการรับรู้ของลูกค้าเป้าหมายก็ยังไม่ดีนัก แถมเสียเงินไปจำนวนมาก

                      จากผลที่ลองซื้อโฆษณาทำให้เขาเริ่มจับประเด็นจับได้ว่า ในการทำตลาดผ่าน Social network นั้นต้อง มุ่งไปที่การเอาใจกลุ่มลูกค้า การมีช่องทางออนไลน์ ไม่ใช่แค่หน้าร้านนิ่งๆ แต่ต้องบริหารจัดการร้านนั้นอย่างมีกลยุทธ์ด้วย สำหรับ “Thitaya cake ” เลือกทำให้หน้าเว็บเพจมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา และเน้นการพูดคุยกับลูกค้าสม่ำเสมอทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนได้รับการใส่ใจ

                    ณ ตอนนี้ยอดไลด์ยอดติดตามทั้งFacebookและInstragram   ก็ถืออยู่ในระดับที่คุณก้าวพอใจอยู่พอสมควร แม้จะไม่ได้อยู่ในระดับที่สูงมากๆแต่ก็ถือเป็นยอดไลค์ที่มีคุณภาพเนื่องจากเป็นยอด ที่มาจากลูกค้าที่เคยทานเค้กของร้านจริงๆ

            นอกจากนี้ คุณก้าว ยังกล่าวอีกว่า“ข้อดีของการทำตลาดผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คเรื่องแรกก็คือ ลดต้นทุนการตลาด ถ้าจะลงโฆษณานิตยสาร มูลค่าก็สูงมากแล้วไม่รู้ว่าจะได้ผลหรือเปล่า ข้อดีข้อต่อมาคือ เป็นมีคนช่วยการันตีสินค้าให้ฟรีๆ ต่อให้เราโฆษณาว่าสินค้าเราดีแค่ไหน  แต่ถ้า ลูกค้าที่ไม่เคยชิม ก็ยากจะเชื่อ แต่เมื่อมีลูกค้าท่านอื่นๆ ที่เคยซื้อไปแล้ว มาช่วยแนะนำสินค้าของเรา ก็มีทำให้ความเชื่อมั่นแก่ลูกค้ารายใหม่ ทั้งนี้เราก็ต้องรักษาคุณภาพไว้ เพราะในโลก Social network ถ้าของเราไม่ดี เท่ากับเป็นการทำลายชื่ออแบรนด์ตัวเองอย่างรวดเร็ว

                      “ถ้าถามว่าโซเชียลเน็ตเวิร์ค มีความจำเป็นแค่ไหนกับผู้ประกอบการไทยในยุคนี้ต้องบอกเลยว่าสำคัญในระดับหนึ่งเพราะถือเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการสามารถมันเขาถึงลูกได้ได้อย่าง และในอนาคตคิดว่าการแข่งการตลาดทางโซเชียลเน็ตเวิร์คมีแนวโน้มที่เริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นตอนนี้ใครที่ลังเลว่าจะทำออนไลน์ดีหรือเปล่า บอกเลยว่า “ต้องทำ” เพราะตอนนี้ถือเป็นโอกาสที่จะสามารถเติบโตได้พอสมควร ดีกว่าปล่อยคู่แข่งได้ทำไปล่วงหน้าโดยที่เรายังยืนอยู่ที่เดิม “คุณก้าว กล่าวทิ้งท้าย

 อีกหนึ่งกรณีศึกษาก็คือ “Mango Mania” ธุรกิจสมูทตี้มะม่วงน้ำดอกไม้ ถือเป็นอีกเจ้าหนึ่ง ที่เลือกเดินมาทางนี้เช่นกัน

                คุณการัญญา จารุธาณินทร์หรือคุณแพน เจ้าของแบรนด์,และการตลาด Mango Mania เล่าให้ฟังว่าสำหรับแมงโก้มาเนียเองซึ่งเป็นธุรกิจที่ใหม่ มีจุดเด่นคือเป็นเครื่องดื่มพรีเมี่ยมสมูทตี้ แบบไม่มีน้ำตาลให้กังวลใจ เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ ดังนั้นการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักจดจำ และการเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

                 จากจุดประสงค์ที่ข้างต้น คุณแพนจึงเริ่มศึกษาข้อดีข้อเสียของสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค พอศึกษาไปสักระยะแล้วเห็นข้อดีที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ จึงเริ่มใช่สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คมาตอบสนองความต้องการและวัตถุประสงค์ในการใช้งานของ“Mango Mania” โดยกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจ ที่คุณแพนใช้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึง ณ ขณะนี้ ซึ่งก็เป็นเวลา ปี กว่าๆ คือการใช่ Faebook เป็นช่องทางในความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค โดยคุณแพนย้ำว่าการจะสร้าง Fan Pageให้น่าสนใจนั้น จำเป็นต้อง มีข้อมูลต่างๆที่น่าสนใจอัพเดทและนำเสนออยู่ตลอด พยายามพูดคุยหรือตอบคำถามกับลูกค้าให้แล้วเร็วที่สุดเพราะพฤติกรรมผู้เล่นสื่อประเภทนี้มักต้องการความรวดเร็วเสมอ ซึ่งที่ผ่านผลตอบรับของ“Mango Mania” ในสื่อตรงนี้ถือว่าดีพอสมควรลูกค้าหลายๆคนก็รู้จัก“Mango Mania”ผ่านทางนี้ และหลายคนก็รับข้อมูลผ่านทางFan Page  Mango Mania เช่นกัน

 

 “การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าชั้นเยี่ยมแบบนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะคนกลุ่มนี้จะช่วยเป็นกระบอกเสียงให้กับสินค้าโดยที่เราไม่จำเป็นต้องเสียเงินค่าโฆษณาด้วยซ้ำและการสื่อสารกับลูกค้า เราไม่ได้ยืนอยู่ต่อหน้าลูกค้าจริงๆ  การใช้คำพูดในการเขียน เราต้องรอบคอบ ไม่ให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกไม่ดีกับเรา รวมถึง รูปที่ถ่ายก็ควรสวยงาม ชวนให้หยุดดู ไม่เช่นนั้น คนเล่นเฟซบุ๊กก็จะสไลด์ผ่านไปเลย ไม่สนใจ คุณแพนกล่าว 

                    ทั้งนี้คุณแพนยังเผยอีกว่าถึงแม้โซเชียลเน็ตเวิร์ค   จะมีข้อดีมากแค่ไหนก็ย่อมมีข้อเสียด้านให้คำนึกถึงเสมอถึงแม้ทาง“Mango Mania”จะมีการศึกษาและวางแผนการใช่โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างดีแค่ไหนก็มีข้อเสีย ข้อผิดพลาดหลุดเล็ดรอดมาให้เห็น   เช่นเรื่องการแอบอ้างการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลไม่ใช่ข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็นในด้านลบเกี่ยวกับสินค้าผ่านทาง Fan Page  ซึ่งตรงนี้อาจนำมาซึ่งผลเสียกับธุรกิจ ทาง Mango Mania ก็แก้ปัญหาโดยการสร้างความเข้าใจกับลูกค้าและตรวจสอบสอบสินค้าคุณภาพสินค้าอย่างสม่ำเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจมากขึ้น

                           ในด้านความสำคัญและแนวโน้มของโซเซียลเน็ตเวิร์คในอนาคต นั้นคุณแพนมองว่า สำหรับ  SMEs ไทยยุคนี้ คือต้องไล่ตามคู่แข่งให้ทัน ถ้ายังคิดว่า โซเชียลมีเดีย ไม่จำเป็นสำหรับธุรกิจ ก็ลองมองด้านการแข่งขันดู อย่าลืมว่าถ้าสมมุติคู่แข่งของเราทำ Fan Page ซึ่งมีจำนวนแฟนๆ มากมายและมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับกลุ่มลูกค้าจนความสัมพันธ์เหนียวแน่นจนไม่เหลือที่ว่างให้ธุรกิจของเราจะเป็นอย่างไร

                   ถือได้ว่าช่องทางการ ตลาดผ่าน Social network ยังมีโอกาสสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่สนใจ การศึกษา Social networkเพื่อประยุกค์ใช้กับธุรกิจของตนเองก็นับว่ามีประโยชย์อยู่ไม่น้อย แต่จะใช้เป็น เพิ่มยอดขายให้แก่สินค้าหรือบริการของตัวเองได้มากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของผู้ประกอบการเอง

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

- ข้อมูลผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและ Mobile บางส่วน ประเทศไทยหน้า 192-199 - http://www.slideshare.net/wearesocialsg/social-digital-mobile-in-apac

- ข้อมูลจำนวนผู้ใช้งาน Mobile ในไทย - http://www.veedvil.com/news/thailand-mobile-in-review-q3-2013/

- ข้อมูล Twitter - http://www.marketingoops.com/media-ads/social-media/twitter-social-media/twitter-users-in-thailand/

- จำนวนผู้ใช้งาน Instagram - http://zocialrank.com/instagram/?cat=1&cc=TH

- จำนวนผู้ใช้งานใน Line ในไทย - http://www.blognone.com/node/51409

- จำนวนผู้ใช้ Linkedin ในไทย - http://www.socialbakers.com/countries/linked-in-country-detail/thailand

- ข้อมูล Fouresquare - http://zocialrank.com/location/


Mostview

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

พาชมงาน MONEY EXPO 2024 โซน Franchise SMEs มีธุรกิจอะไรน่าลงทุน

เริ่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับงาน MONEY EXPO 2024 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยภายงานในงานได้มีสถาบันทางการเงินที่นำบริการสินเชื่อต่าง ๆ มานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจมองหาแหล่งทุนสำหรับนำไปใช้ในเรื่องต่าง

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

SmartSME Line