วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2567

เมนูอาหารไทยโด่งดั่งติดตลาดญี่ปุ่น

by Smart SME, 27 มีนาคม 2558

         เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าอาหารไทยมีรสชาติอร่อยกลมกล่อม และไม่เลี่ยนเหมือนชาติอื่น ๆ เนื่องจากคนไทยมีภูมิปัญญาอันชาญฉลาดในการปรุงรสอาหาร มีการตัดหวาน ตัดเปรี้ยว และเลือกใช้วัตถุดิบได้อย่างลงตัว อีกทั้งยังมีวิธีรับประทานที่สอดคล้องกับสุขภาพอีกด้วย

        อาหารไทยเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ใครจะไปคิดว่าชาวญี่ปุ่นจะนิยมรับประทานอาหารไทย เพราะโดยพื้นเพแล้วรสชาติอาหารของชาวญี่ปุ่นค่อนข้างจืดกว่าอาหารไทยมาก แต่ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นกลับนิยมรสชาติอาหารไทยที่เผ็ดร้อนและจัดจ้านของไทย แต่อาจจะไม่เผ็ดเท่าอาหารไทยแบบดั้งเดิม ผู้ประกอบการควรปรับให้ความเผ็ดน้อยลงเพื่อให้ชาวญี่ปุ่นสามารถรับประทานได้ที้งนี้ควรใช้วัตถุดิบที่มีไขมันน้อยและมีความมันของอาหารให้น้อยลง เพราะชาวญี่ปุ่นมีพฤติกรรมที่รักสุขภาพ แต่มีเพียงอาหารไทยบางประเภทเท่านั้นมีไขมันเยอะ อย่างไรก็ดีสำหรับชาวญี่ปุ่นที่คุ้นเคยกับการรับประทานอาหารไทยอยู่แล้ว จะสั่งให้ทางร้านเพิ่มความเผ็ดและความจัดจ้านของอาหารตามแบบดั้งเดิม ซึ่งมีเมนูที่ได้รับความนิยม อาทิ ไก่ย่าง ส้มตำ ยำวุ้นเส้น หมูสะเต๊ะ ปอเปี๊ยะสด ทอดมันกุ้ง ลาบไก่ ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน แกงมัสมั่น กระเพราไก่ ผัดผักบุ้งไฟแดง ผัดผักคะน้า ออส่วน ปลาทอดสามรส ปูผัดผงกระหรี่ ปูนิ่มผัดพริกไทยดำ ผัดไทย ข้าวมันไก่ และข้าวผัด เป็นต้น

        ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักประมาณร้อยละ 70 เป็นกลุ่มลูกค้าผู้หญิงที่เป็นกลุ่มแม่บ้านและผู้หญิงทำงานช่วงอายุระหว่าง 30–40 ปี สำหรับมื้อกลางวันจะมีผู้ชายวัยทำงานเป็นลูกค้าที่นิยมอาหารชุด ส่วนในมื้อเย็นเป็นกลุ่มบริษัทที่พาลูกค้ามาเลี้ยงรับรอง และวันหยุดเป็นลูกค้ากลุ่มครอบครัว ทั้งนี้ ยอดขายอาหารไทยในฤดูร้อนมีสูงกว่าฤดูหนาว เนื่องจากภาพลักษณ์อาหารไทยสำหรับชาวญี่ปุ่นนั้นเป็นอาหารที่เหมาะกับการทานในฤดูร้อน

แนวโน้มยอดขายสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม

        1. ร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาต และชาวญี่ปุ่น ทั้งนี้ต้องมีความสะดวกสบายในการเดินทาง โดยเฉพาะหากตั้งอยู่ย่านการค้าและธุรกิจ พบว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้น เนื่องจากกลุ่มนักท่องเที่ยว อาทิ ไต้หวัน จีน เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ ก็นิยมบริโภคอาหารไทย รวมถึงชื่อของเมนูอาหารไทยเองก็โด่งดังติดตลาดญี่ปุ่น ส่งผลให้ระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ช่วยดึงดูดลูกค้าชาวญี่ปุ่นให้เข้าร้านเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

         2. ร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในทำเลชานเมืองและย่านที่อยู่อาศัย พบว่ามียอดขายน้อย เนื่องจากผู้บริโภคต้องปรับตัวจากการขึ้นภาษีการบริโภคของรัฐบาลญี่ปุ่นจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 8 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 เป็นต้นมา ประกอบกับวัตถุดิบนำเข้ามีราคาสูงขึ้นจากค่าเงินเยนอ่อนตัว

         อย่างไรก็ดี อาหารไทยก็เป็นที่รู้จักคุ้นเคยในตลาดญี่ปุ่นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากในช่วง1 ปีที่ผ่านมา มีบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารรายใหญ่ของญี่ปุ่น เลือกใช้เมนูอาหารไทยในการผลิตเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการจัดเทศกาลอาหารไทยในโรงแรมชื่อดังในญี่ปุ่น ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่อาหารไทย ดังนั้น การร่วมมือกับผู้ผลิตและผู้ประกอบการรายใหญ่ของญี่ปุ่นย่อมเป็นช่องทางที่ดี ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อาหารไทยให้เป็นที่นิยมและคุ้นเคยติดตลาดได้ง่าย โดยต้องเน้นในผู้บริโภคเข้าใจว่าอาหารไทยมีหลากหลายเมนูให้เลือกทานได้ในทุกฤดู เช่น ในฤดูหนาวมีเมนูหม้อไฟต้มยำ แกงจืด และสุกี้ยากี้ไทย 
        ทั้งนี้ การดำเนินการที่ผ่านมาของ สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในญี่ปุ่น ได้มีการจัดโครงการประชาสัมพันธ์ร้านอาหารไทยที่ได้รับตรารับรอง Thai Select และมีการสร้างเว็ปไซด์ ภาษาญี่ปุ่น http://thaiselect.jp/ เพื่อนำเสนอข้อมูลร้านอาหารไทยที่ได้รับการรับรองทั้งหมดในญี่ปุ่น และเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสนับสนุนอาหารไทยให้แพร่หลายในตลาดมากขึ้นอีกด้วย
 
 
ประเทศญี่ปุ่น สคร. ฟูกูโอกะ
 

 


Mostview

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line