วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2567

กฎหมายการลงทุนต่างชาติในเมียนมา ที่นักลงทุนควรรู้

by Smart SME, 24 กรกฎาคม 2558

        เมียนมา เป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรมากมาย และปัจจุบันการเปิด AEC ได้กระตุ้นให้เมียนมาเกิดการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ มากขึ้น รวมถึงการเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติสามารถเข้าไปลงทุนในเมียนมาได้อีกด้วย

       ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะเปิดตลาดตลาดในเมียนมาได้มากขึ้น ทั้งนี้ก่อนการลงทุนใด ๆ ผู้ประกอบการจึงควรศึกษากฎหมายของที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ ด้วย โดยกฎหมายการลงทุนต่างชาติของเมียนมา (Foreign Investment Law) ได้ห้ามนักลงทุนต่างชาติลงทุนในกิจการ ดังต่อไปนี้

1. กิจการที่อาจมีผลกระทบต่อประเพณีและวัฒนธรรมของคนเมียนมา

2. กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาวะของประชาชน

3. ธุรกิจที่มีผลต่อสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศน์

4. การนำเข้าสารเคมีอันตรายและของเสีย

5. อุตสาหกรรมที่ใช้สารเคมีที่เป็นอัตรายตามความตกลงระหว่างประเทศ

6. การผลิตหรือการให้บรการที่สงวนไว้เฉพาะคนเมียนมา

7. อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี เครื่องจักร หรือวิธีการที่ยังอยู่ในขั้นทดลองหรือยังไม่ได้รับการรับรองตามมาตรสากลว่าปลอดภัย

8. การลงทุนด้านการเกษตรหรือการเพาะปลูกประเภทที่สงวนไว้เฉพาะคนเมียนมา

9. การผสมพันธุ์สัตว์ที่สงวนไว้สำหรับคนเมียนมาเท่านั้น

10. การประมงที่สงวนไว้เฉพาะคนเมียนมา

11. โครงการลงทุนที่ห่างจากชายแดนไม่เกิน 10 ไมล์ (ประมาณ 16 กม.) เว้นแต่ว่าอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่รัฐบาลอนุญาตแล้วเท่านั้น

        ในด้านของนโยบายการถือหุ้นของต่างชาติ นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100% หากเป็นการลงทุนในกิจการการร่วมค้า (Joint Venture) ระหว่างนักลงต่างชาติกับนักลงทุนชาวเมียนมา นักลงทุนต่างชาติจะต้องมีสัดส่วนการลงทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด และต้องโอนเงินฝากไว้กับ Myanmar Foreign Trade Bank (MFTB)

        ส่วนด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี หากมีการนำกำไรมาลงทุนต่อ จะได้รับการยดเว้นภาษีรายได้ในส่วนนั้นเพิ่มอีก 1 ปี และหากเป็นการลงทุนเพื่อการส่งออก จะเสียภาษีรายได้ในส่วนของกำไรร้อยละ 50 ในการนำเข้าเครื่องจักร อะไหล่ ส่วนประกอบ วัตถุดิบที่จำเป็นต้องนำเข้าในช่วงการก่อสร้าง โครงการจะได้รับยกเว้นภาษีศุลกากร ทั้งนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรในการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้สำหรับการผลิต เมื่อเริ่มโครงการแล้ว โดยจะได้รับการยกเว้นเป็นระยะเวลา 3 ปี หลังจากที่การก่อสร้างเสร็จแล้ว

       ส่วนการผลิตเพื่อการส่งออกจะได้รับการยกเว้นภาษีการค้า สำหรับนักลงทุนต่างชาติมีสิทธิใช้ที่ดินในประเทศเมียนมาโดยการเช่า ไม่ว่าจะเช่าหน่วยงานของรัฐหรือจากเอกชนเป็นระยะเวลา 50 ปี และสามารถต่อสัญญาเช่าได้ครั้งละ 10 ปี 2 ครั้ง ในช่วง 2 ปีแรกของการดำเนินงาน นักลงทุนต่างชาติสามารถจ้างแรงงานต่างชาติได้ แต่จะต้องมีการจ้างแรงงานสัญชาติเมียนมาในสัดส่วนอย่างน้อยร้อยละ 25 ของการจ้างงานทั้งหมด

        เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) รัฐบาลสหภาพเมียนมาประกาศกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ เมื่อเดือนมกราคม 2554 เพื่อรองรับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone : SEZ) แต่ละเขตจะมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกและระบบการขนส่งทั้งถนนและระบบราง และได้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรมส่งออก (Export Processing Zone : EPZ) ที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี

เขตเศรษฐกิจพิเศษ

ที่ตั้ง

อุตสาหกรรมเป้าหมาย

เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei)

เมืองทวาย รัฐตะนาวศรี

อุตสาหกรรมหนัก โรงไฟฟ้า โรงงานปิโตรเคมี โรงงานผลิต ประกอบรถยนต์ โรงงานแปรรูปต่าง ๆ

เขตเศรษฐกิจพิเศษเกาะรัมรีหรือจ๊อกผิ่ว (Kyauk Phyu)

เมืองจ๊อกผิ่ว รัฐยะไข่

โรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี โรงงานถลุงเหล็ก โรงงานแปรรูปต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า พลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น

เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa)

กรุงย่างกุ้ง

อุตสาหกรรมเบา ประกอบรถยนต์ โรงงานแปรรูปอาหาร ท่าเรือขนาดใหญ่เป็นศูนย์กระจายสินค้า และศูนย์กลางการขนส่งพื้นที่การศึกษาและที่พัก

 


Mostview

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line