วันศุกร์, พฤษภาคม 10, 2567

ธุรกิจฮาลาลในมาเลเซีย โอกาสทองของไทย ในการลงทุน

by Smart SME, 16 กันยายน 2558

          มาเลเซียเป็นประเทศที่ถือว่าเป็นตลาดอาหารฮาลาลที่มีคุณภาพและมีความประสบความสำเร็จมากที่สุดในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ มีความมั่นคง จึงทำให้มาเลเซียมีตลาดอาหารฮาลาลที่มีขนาดใหญ่จึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปขยายตลาดอาหารฮาลาลในมาเลเซียจึงเป็นที่ยอมรับและตั้งเป้าให้มาเลเซียเป็นศูนย์กลางอาหารฮาลาลของโลก

          การพัฒนาเศรษฐกิจของมาเลเซียนั้นมีประสิทธิภาพและเติบโตมีความเสถียรภาพมากที่สุดประกอบกับการเมืองนั้นมีความมั่นคง ทางรัฐบาลจึงมีการผลักดันให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2563 ภายใต้แนวคิดต้นแบบเศรษฐกิจใหม่ ตามที่ได้ประกาศไว้เมื่อปี 2554 ซึ่งปัจจุบันประชากรของมาเลเซียนั้นมีประชากรราว 30 ล้านคนจึงขอนับว่ามีประชากรที่นับถืออิสลามร้อยละ 60 ที่นับถืออิสลาม มาเลเซียจึงเป็นตลาดอาหารฮาลาลที่ใหญ่ได้รับมาตรฐานสินค้าจาก OIC ทำให้ทั้ง 57 ประเทศยอมรับในทางเศรษฐกิจ นับว่าเป็นโอกาสของไทยที่จะได้เข้าไปขยายตลาดอาหารฮาลาลในมาเลเซียและเข้าถึงตลาดขนาดใหญ่อื่น ๆ ต่อไป

ศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของมาเลเซีย

           ถามถึงประชากรมุสลิมทั่วโลกมีมากถึง 2,200 ล้านคน คิดเป็น 23% ของประชากรโลก มีประชากรประมาณ 20 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในมาเลเซีย  มาเลเซียเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญมากกับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเพราะนับว่าเป็นยุทธศาสตร์การส่งออกอาหารฮาลาลระดับแนวหน้าของเอเชีย จากมูลค่าการส่งออกตั้งเป้าหมายไว้ในปีนี้ 2558  การค้าทั้งสองฝ่าย ให้มีมูลค่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐช่วงในปี 2561 เศรษฐกิจมาเลเซียพึ่งพาเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการมีสัดส่วนร้อยละ 87 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์รวมทั้งในประเทศ ถึงแม้มาเลเซียจะมีมูลค่าส่งออกน้อยกว่าอยู่ที่ราว 5,168 (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) แต่กลับมีสัดส่วนเทียบกับการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมดของประเทศที่สูงกว่าอยู่ที่ราวร้อยละ 22.2 สะท้อนถึงศักยภาพและโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่สามารถหันมาทำตลาดอาหารฮาลาลและขยายธุรกิจในกลุ่มนี้ได้ โดยใช้ความได้เปรียบทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนประเทศมาเลเซียเป็นประเทศที่มีการนำเข้าอาหาร โดยในปี2555 มาเลเซีย มีการนำเข้าสินค้าอาหารกว่า 15,000 (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)  และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยร้อยละ 23 ต่อปี มูลค่าการส่งออกได้มีการผลิตอาหารแปรรูปและอุตสาหกรรมมูลค่าเกือบ 10% ของการผลิตทั้งหมด ในปี 2556 มีการจัดส่งอาหารแปรรูปกว่า 200 ประเทศ คิดเป็นมูลค่า 4.2 (พันล้านเหรียญสหรัฐ)  ส่วนในปี 2557 นั้นมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 187.9 พันล้านริงกิต 60 (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 

         นอกจากนี้ทางรัฐบาลได้ร่วมสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลให้เป็นศูนย์กลางอาหารฮาลาลของโลก ปัจจุบัน มาเลเซียได้เปิดเป็นประเทศเสรีที่ให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นในโครงการอุตสาหกรรม ทั้งโครงการที่ตั้งขึ้นใหม่และโครงการขยายการลงทุน ได้ 100% และได้ผ่อนให้มีกฏเกณฑ์เกี่ยวกับการที่ต่างชาติจะเข้ามาร่วมลงทุนกับบริษัทในประเทศ โดยมีเงื่อนไขเพียงให้ชาวมาเลย์ถือหุ้นในกิจการนั้นอย่างน้อย  30% ของการลงทุน ส่วนในกิจการที่สำคัญในเชิงยุทธศาสตร์คือ การประชาสัมพันธ์ การประปา พลังงาน ธนาคาร และสุขภาพ ยังจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติเพียง 30% ของการลงทุน ปัจจัยที่สำคัญส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้การลงทุนในมาเลเซียให้ประสบความสำเร็จคือ  การคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนที่ดีและการเดินทางไปสำรวจพื้นที่ทางการลงทุนด้วยตนเองของผู้ประกอบการ การยกเว้นภาษีหรือการลดหย่อนภาษีเงินได้ ด้วยการหักค่าใช้จ่าย ที่เข้าเงื่อนไขในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในขณะที่สิทธิพิเศษทางภาษีโดยอ้อมจะอยู่ในรูปของแบบของการยกเว้นอากรนำเข้า ภาษีขายและอากรสรรพสามิต

โอกาสของผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดสินค้าอาหารฮาลาลในมาเลเซีย

ด้านการค้า   การที่จะลงทุนในมาเลเซียผู้ประกอบการไทยสามารถขยายตลาดสินค้าอาหารฮาลาลได้ทั้งอาหารสำเร็จรูปและวัตถุดิบมีปัจจัย ดังนี้

 มาเลเซียเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง   มาเลเซียมีประชากรประมาณ 30 ล้านคน โดยประชากรส่วนใหญ่นั้นมีรายได้สูงอาจจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  โดยในปี 2555 รายได้ต่อคนต่อปีอยู่ที่ 10,350 (ดอลลาร์สหรัฐฯ) หากเทียบกับประเทศไทยนั้นรายได้ต่อคนต่อปีอยู่ที่ 5,310 (ดอลลาร์สหรัฐฯ) และคาดว่าจะเพิ่มเป็น13,680 (ดอลลาร์สหรัฐฯ) ในปี 2558 ตอนนี้ทางรัฐบาลตั้งเป้าจะเพิ่มรายได้เฉลี่ยแล้วต่อคนต่อปีนั้นอยู่ที่ 15,000 (ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพื่อให้มีรายได้สูงบรรลุเป้าหมายในปี 2563  ส่วนประชากรที่มีกำลังซื้อสูงช่วงวัยทำงานพร้อมที่จะทดลองสินค้ามีอายุระหว่าง 25-54 ปี มาเลเซียส่วนใหญ่จะหาซื้อสินค้าใหม่ๆ ไม่ชอบทำอาหารรับประทานเอง จึงเป็นโอกาสของสินค้าอาหารฮาลาลของไทยโดยเฉพาะพร้อมรับประทานมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี

มาเลเซียนิยมสินค้าอาหารฮาลาลของไทย   ส่วนใหญ่ชาวมาเลเซียมีการใช้วัฒนธรรมเหมือนกับไทย โดยอาหารเช้าก็มีการทานโจ๊กและข้าวต้มเหมือนกัน มื้อกลางวันและเย็นก็เหมือนกันกับไทย จึงทำให้ชาวมาเลเซียนิยมบริโภคอาหารฮาลาลของไทยมาก ด้วยประชากรมีกำลังซื้อสูงจึงทำให้สินค้าอาหารนำเข้ามีราคาที่แพงกว่าภายในประเทศ

มาเลเซียขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตอาหารฮาลาล   มาเลเซียมีสภาพภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกทำการเกษตร จึงทำให้มีวัตถุดิบในการผลิตอาหารฮาลาลไม่เพียงพอ ประกอบกับปัจจุบันทางรัฐบาลเน้นและพัฒนาวัตถุดิบที่ใช้ผลิตอาหาร การผลิตอาหารฮาลาลนั้นได้มีการสนับสนุนจากหลายๆ ประเทศมากมาย ขณะที่ไทยได้ประโยชน์จากภาษีนำเข้าที่มาเลเซีย อัตราร้อยละ 0 จึงเป็นโอกาสให้สินค้าของไทยขยายตัวได้มาก

 

ด้านการลงทุน   การลงทุนในธุรกิจฮาลาลในมาเลเซีย ก็ได้มีการตั้งแนวความคิดร่วมมือกับไทยเพื่อที่จะพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล โดยมีการอาศัยจุดแข็งของแต่ละประเทศในการผลิตให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและการมีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพจำนวนมาก แต่มักจะขาดกลยุทธ์ในการทำการตลาด ขณะที่มาเลเซีมีจุดแข็งทางด้านทำการตลาด การทำผ่านระบบโลจิสติกส์ สินค้าจึงได้รับการยอมรับสูง จึงเป็นโอกาสให้ไทยเข้าไปลงทุนผลิตอาหารฮาลาลในมาเลเซีย

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการส่งออกอาหารฮาลาลไปมาเลเซีย

         การที่จะทำการส่งออกอาหารฮาลาลไปมาเลเซียต้องมีการศึกษากฎระเบียบและมาตรการที่เกี่ยวกับสินค้าฮาลาลของมาเลเซียให้ละเอียด โดยเฉพาะเครื่องหมายฮาลาลบนผลิตภัณฑ์ ส่วนของไทยนั้นมีคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจเครื่องหมายฮาลาลเป็นหน่วยงานเดียวที่ JAKIM ให้การยอมรับในไทย นอกจากนี้ห้ามใช้เครื่องหมายฮาลาลหรือถ้อยคำที่ให้เกิดการสับสนแก่ผู้บริโภคชาวมุสลิม นอกเหนือจากที่ JAKIM ออกนั้น จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

         ถามถึงโอกาสทางการลงทุนของมาเลเซียนั้นมีการเปิดกว้างอยู่มาก เศรษฐกิจทางมาเลเซียก็ขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องมีความมั่นคงเสถียรภาพ จึงทำให้ผู้ประกอบการของไทยนั้นใช้โอกาสในช่วงของ AEC ในการขยายตลาดอาหารฮาลาลในมาเลเซีย แต่มาเลเซียนั้นมีปัญหาเริ่มขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบรวมไปถึงด้านการตลาดทางธุรกิจ ส่วนทางด้านเทคโนโลยีมาเลเซียและไทยมีความชำนาญที่แตกต่างกัน ทำให้ทั้งสองฝ่ายนั้นตกลงที่จะจับมือกันเพื่อแสวงหาโอกาสร่วมกันเพื่อขยายตลาดอาหารฮาลาลไปสู่ประเทศอื่น ๆ ทั้งในประเทศอาเซียนและประเทศมุสลิมทั่วโลก ปัจจุบันถือว่าเป็นการตลาดที่ใหญ่ทำให้นักลงทุนทั่วโลกร่วมกันให้ความสนใจเนื่องจากจำนวนประชากรชาวมุสลิมทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 1.57 พัน​ล้าน​คน​บน​โลก คิด​เป็น 23% ของ​จำนวน​ประชากร​ทั้ง​โลก และจะมีการเพิ่มขึ้นอีกของชาวมุสลิม​ทั่ว​โลก​จากปัจจุบันวัน​นี้ 1,600 ล้าน ไป​เป็น 2,200 ล้าน​คนในปี พ.ศ.2573 คิดเป็น 26.4%  ไป​จนถึง 20 ปี​ข้าง​หน้า มุสลิม​ทั้ง​โลก​ก็​จะ​เพิ่ม​จำนวน​เป็น 35% ของ​ประชากรโลก  ทำให้เศรษฐกิจทางการตลาดอาหารฮาลาลมีศักยภาพและมีบทบาทมากขึ้น จากจำนวนการเพิ่มของประชากรชาวมุสลิมทั่วโลก


Mostview

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

เศรษฐกิจไม่ดี! KFC-Pizza Hut ในจีน ดึงกลยุทธ์สุดฤทธิ์เรียกลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

Yum China Holdings เจ้าของ KFC และ Pizza Hut เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในจีน วางแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ยังไม่เคยเปิด โดยใช้กลยุทธ์ขายเมนูในราคาต่ำเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในจำนวนมาก

CARS24 ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองยุติดำเนินกิจการในไทยอย่างเป็นทางการ

CARS24 ธุรกิจซื้อ-ขาย-เทิร์น รถยนต์มือสอง ได้ยุติกิจการในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย โดยในแถลงการณ์ของบริษัทระบุว่า

เกษตรกรเวียดนามไม่ทนหันปลูกทุเรียนส่งออกจีนแทนปลูกกาแฟที่ขาดแคลน แถมราคาถูกกว่า

ราคากาแฟโรบัสต้าทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยเวียดนามซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ที่สุด กำลังต่อสู้กับภัยแล้ง รวมถึงเกษตรกรได้เปลี่ยนมาปลูกทุเรียนแทน

SmartSME Line