วันศุกร์, พฤษภาคม 17, 2567

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจค้าปลีกไทย ปี 2019

by Phawanthaksa, 14 พฤษภาคม 2562

ปัจจุบันธุรกิจค้าปลีก ถือเป็นอีกธุรกิจที่เติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ๆ อย่างเซเว่นฯ ที่รวมเอาทุกอย่างไว้ในร้านแบบ One Stop Service ตั้งแต่ของใช้ อาหาร การจัดสงพัสดุ ไปจนถึงการฝาก-ถอนเงิน ซึ่งการปรับตัวที่สูงขึ้นนี้ เป็นผลมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจออกไปสู่รอบนอก และการท่องเที่ยวในประเทศ ทำให้ธุรกิจนี้แข่งขันสูงขึ้น

สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดในธุรกิจร้านค้าปลีก คงหนีไม่พ้นการปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ในร้านโชห่วยขนาดเล็ก ที่ต่างประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และระบบบริหารจัดการใหม่ๆมาใช้เพื่อไม่ให้ค้าปลีกสมัยใหม่กลืนกิน

เนื่องจากผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ส่วนใหญ่จะเป็นนายทุนใหญ่ จึงสามารถใช้กลยุทธ์ขายสินค้าได้ในราคาถูกและต่ำกว่าร้านค้าปลีกดั้งเดิม เพราะมีอำนาจกำหนดเงื่อนไข สามารถลดการพึ่งพาผู้ค้าส่ง และการมีสาขาจำนวนมากก็ทำให้มีอำนาจต่อรองเหนือผู้ผลิตหรือตัวแทน มีการจัดการระบบขนส่งและศูนย์กระจายสินค้าที่ทันสมัย รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีปฏิบัติการมาสร้างความได้เปรียบด้านการตลาด โดยร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

  • ห้างสรรพสินค้า หรือ ดีพาร์ทเมนท์ สโตร์ ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เน้นขายสินค้าทันสมัย รวมถึงแบรนด์เนม เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ โรบินสัน
  • ดิสเคาน์สโตร์, ไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือ ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ ร้านค้าปลีกที่เน้นขายสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ใช้กลยุทธ์ขายสินค้าราคาต่ำกว่าตลาด เช่น บิ๊กซี โลตัส
  • ร้านสะดวกซื้อ, คอนวีเนี่ยนสโตร์, เอ็กซ์เพรส หรือ มินิมาร์ท ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก เน้นขายสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน เน้นความสะดวกลูกค้าเป็นหลัก เช่น เซเว่น แฟมิลี่มาร์ท รวมถึงร้านโชห่วยของคนในชุมชน
  • ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง หรือ สเปเชียลตี้สโตร์ ร้านค้าปลีกที่เน้นความหลากหลายในรูปแบบสินค้า เช่น วัตสัน บู๊ทส์ ซูเปอร์สปอร์ต และมีการพัฒนารูปแบบแตกย่อยอีกหลายประเภท เช่น ร้านขายสินค้าราคาเดียว ไดโซะ ฯลฯ

หากมองถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจค้าปลีกไทย ก็ต้องบอกว่าธุรกิจค้าปลีกรายเล็กๆ อย่างโชห่วยก็ยังมีโอกาสโตอีกมาก โดยเฉพาะร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าในกลุ่ม Grocery หรือร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภค เพราะไม่ว่าจะเป็นเทรนด์การเลือกซื้อสินค้า-บริการที่ใส่ใจเรื่องจริธรรม ก็ยิ่งทำให้คนรุ่นใหม่ตระหนักต่อความรับผิดชอบต่อสังคม และนิยมใช้สินค้า-บริการจากคนท้องถิ่นมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีแนวโน้มอื่นๆ ดังนี้

ร้านไม่ต้องใหญ่ แค่หาให้เจอว่าสินค้าตัวไหนลูกค้าชอบ

พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การใช้ชีวิตโสดมากขึ้น รวมถึงขนาดครอบครัวที่เล็กลง ทำให้คนหันมาซื้อสินค้าน้อยลงและบ่อยขึ้น ส่งผลให้ร้านค้าปลีกแบบไฮเปอร์มาร์เก็ตมีอัตราขยายตัวลดลง และปรับเปลี่ยนเป็นร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กมากขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่สินค้ำขายดี ขายเร็ว และกลุ่มสินค้าราคาประหยัด มาตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กของคนท้องถิ่นจึงต้องปรับรูปแบบธุรกิจ เช่น การจับมือกับซัพพลายเออร์ เพื่อผลิตสินค้าที่โดดเด่นแต่มีราคาถูกลง หรือแม้แต่การนำสินค้าจากแบรนด์เล็กๆมาวางขาย เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มรายได้น้อย ซึ่งก็คือการนำกลยุทธ์ของดิสเคาน์สโตร์มาใช้นั่นเอง

ปรับโมเดลร้านค้าปลีกให้ตอบความต้องการผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม

ปัจจุบันเราจะเห็นธุรกิจค้าปลีกประเภทต่างๆ พยายามออกแบบโมเดลธุรกิจออกแบบมาให้ตอบโจทย์ต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มมากขึ้น หรือแม้ในบางร้านยังสามารถตอบโจทย์ได้ในระดับความต้องการส่วนบุคคล Personalization เช่น ร้านเสื้อผ้าคนอ้วนแบบสำเร็จรูปที่มีโซลูชั่นปรับแก้ไซส์ให้ลูกค้าได้ตามความเหมาะสม ร้านโชห่วยชุมชนที่เต็มไปด้วยสินค้าออแกนิกส์ของแบรนด์จากท้องถิ่น หรือแม้แต่ร้านเครื่องสำอาง ที่มีหลากหลายวัตถุดิบ ส่วนผสม ให้แต่ละคนได้เลือกปรุงสูตรได้แบบตามแบบฉบับของตัวเอง นอกจากนั้น ผู้ประกอบการต้องตอบโจทย์ทุกช่องทางการสั่งซื้ออีกด้วย

ออนไลน์ยังไม่กระทบร้านค้าปลีก แต่ควรเพิ่มบริการที่หลากหลาย

ปัจจุบันแม้ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคของร้านสะดวกซื้อจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยอดขายออนไลน์ก็ยังน้อยอยู่เพียง 2-3% เท่านั้นจากมูลค่ารวมทั้งหมด นั่นเพราะผู้บริโภคมองว่าการไปที่ร้านมีความสะดวก และสนุกกับการเลือกซื้อด้วยตัวเอง ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกต้องเพิ่มความหลากหลายในการให้บริการมากขึ้น เช่น การพัฒนารูปแบบร้านให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคในแต่ละทำเล มีบริการชำระค่าสินค้าผ่านทางออนไลน์มากขึ้น รวมไปถึงการปรับเพิ่มโซนนั่งกินอาหารในร้าน เช่น การดื่มชากาแฟ เบเกอรี่ และอาหารอุ่นร้อนอื่นๆ เนื่องจากมีแนวโน้มได้รับความนิยมสูง

เน้นการผสานเทคโนโลยีใหม่ มาช่วยสร้างประสบการณ์ลูกค้า

ล่าสุดเราจะเห็นร้านเซเว่นฯ ดึงเอาการสะสมพอยท์ หรือคูปอง ที่ใช้กันมายาวนานในร้านค้าปลีกของประเทศญี่ปุ่น มาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี AI พร้อมเอาใจผู้บริโภคแบบ Customer First ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เกิดการซื้อซ้ำแล้ว ยังช่วยให้สามารถรู้ถึงความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมการซื้อ เพื่อนำ Data มากำหนดโปรโมชั่นที่ตอบโจทย์ในระดับ Personalization

สำหรับใครที่ต้องการต่อยอดโอกาสธุรกิจ มองหาคอนเน็กชั่น หรือสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ อย่าลืมแวะไปที่งาน Smart SME EXPO 2019 ในแนวคิด #ที่เดียวจบพบทางรวย 4-7 กรกฎาคม 2562 ฮอลล์ 7-8 อิมแพ็คอารีน่า เมืองทองธานี

โดยผู้เข้าชมจะได้พบกับการรวบรวมแนวคิดการทำธุรกิจไว้มากมาย อาทิ โซนธุรกิจสุขภาพ-ความงาม โซนธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม โซนนวัตกรรม โซนแฟรนไชส์ โซนสถาบันการเงิน และโซนสนับสุนนการทำธุรกิจ SMEs


Mostview

4 สิ่งของคนเลี้ยงลูกประสบความสำเร็จไม่เคยสอนตอนเมื่อลูกยังเล็ก

ครอบครัวถือเป็นสถาบันหลักสำคัญในการสั่งสอนลูกว่าจะเป็นคนอย่างไร โดยช่วงเวลาที่ผ่านมาเราได้ยินว่าควรทำอย่างไรกับลูกของเรา และเรื่องไหนที่ไม่ควรทำกับลูกของเรา

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

SmartSME Line