วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 9, 2567

อัพเดตมาตรการช่วยเหลือของ 12 ธนาคาร เยียวยาลูกค้าช่วงโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่

by Smart SME, 19 มกราคม 2564

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบในธุรกิจหลายอาชีพ ที่การเปิดให้บริการ ขายสินค้าไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ซึ่งเป็นไปตามมาตรการขอความร่วมมือของรัฐบาล

จากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจย่อมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น รายได้ที่ลดน้อยลงจากเดิมจึงส่งต่อการบริหารจัดการที่อาจขาดสภาพคล่อง ดังนั้น เหล่าธนาคารในประเทศไทยจึงได้ออกมาตรการช่วยลูกค้าให้ผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปให้ได้ ซึ่งแต่ละธนาคารจะมีมาตรการอะไรบ้างนั้น มาดูกัน

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

โครงการบรรเทาหนี้

พักชำระหนี้

  • พักหนี้ทั้งระบบ 1 ปี
  • พักหนี้ 28 จังหวัดที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด

ลดภาระหนี้

  • ชำระดีมีคืน/โครงการลดภาระหนี้
  • ลดภาระดอกเบี้ยสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

ขยายเวลา

  • มาตรการขยายเวลาชำระหนี้
  • บริหารจัดการหนี้การเกษตรกร
  • ช่วยเหลือผู้ประกอบการและสถาบัน

โครงการฟื้นฟูธุรกิจ

  • สินเชื่อฉุกเฉิน 20,000 บาท ดอกเบี้ย 0.10% ต่อเดือน ปลอดต้น 6 เดือน
  • สินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาท ดอกเบี้ย 4%
  • สินเชื่อระยะสั้น 100,000 บาท ดอกเบี้ย 4%
  • สินเชื่อพอเพียง 10,000 บาท ดอกเบี้ย 0% 3 เดือน
  • สินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด 60,000 บาท 0% 3 เดือน
  • สินเชื่อแก้หนี้นอกระบบ 8,000 บาท ดอกเบี้ย 1% ต่อเดือน
  • สินเชื่อ SMEs 45,000 บาท ดอกเบี้ย 2%

 

 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

มาตรการที่ 1 ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ

บัตรเครดิต

  • จาก 10% เหลือ 3% ถึงวันที่ 31 ธ.ค.64
    มาตรการที่ 2 สำหรับลูกค้าที่มีบัญชีปกติ

บัตรเครดิต

  • ปรับลดเป็นดอกเบี้ยพิเศษ 12%
  • ขยายการผ่อนสูงสุด 99 เดือน

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ปรับลดเป็นดอกเบี้ยพิเศษ 22%
  • ลดการผ่อนชำระขั้นต่ำเหลือ 3% หรือขยายการผ่อนสูงสุด 99 เดือน

มาตรการที่ 3 สำหรับลูกค้าที่มียอดค้างชำระ

บัตรเครดิต

  • ปรับลดเป็นดอกเบี้ยพิเศษ
  • ขยายการผ่อนสูงสุด 99 เดือน

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ปรับลดเป็นดอกเบี้ยพิเศษ
  • ขยายการผ่อนสูงสุด 99 เดือน

 

 

ธนาคารทิสโก้

สินเชื่อเงินกู้ (จำนำทะเบียนรถ)

  • ลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม โดยการขยายเวลาการผ่อนชำระ และดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี

สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

  • ปรับลดค่างวด โดยขยายเวลาการผ่อนชำระ

สินเชื่อที่อยู่อาศัย

  • เลื่อนการจ่ายเงินต้น 3 เดือน และลดดอกเบี้ยตามความเหมาะสม
  • ลดค่างวดโดยขยายเวลาชำระหนี้

 

 

ธนาคารกสิกรไทย

บริการที่ลดดอกเบี้ยให้อัตโนมัติ

  • บัตรเครดิต ลดจาก 18% เหลือ 16%
  • บัตรเงินด่วน ลดจาก 28% เหลือ 25%
  • สินเชื่อเงินด่วน จาก 28% เหลือ 25%
  • สินเชื่อรถ จาก 28% เหลือ 24%

สินเชื่อบ้าน

ทางเลือกที่ 1

  • จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยและลดดอกเบี้ยลง 0.1% 3 เดือน

ทางเลือกที่ 2

  • ลดค่างวด 50% 3 เดือน

ทางเลือกที่ 3

  • พักชำระ 3 เดือน

สินเชื่อเงินด่วน

ทางเลือกที่ 1

  • พักชำระเงินต้น 6 รอบบัญชี

ทางเลือกที่ 2

  • ลดค่างวด 30% 6 รอบบัญชี ดอกเบี้ยเหลือ 22% ต่อปี

บัตรเครดิตและบัตรเงินด่วน

ทางเลือกที่ 1

  • พักชำระเงินต้น 6 รอบบัญชี

ทางเลือกที่ 2

  • เปลี่ยนยอดค้างเป็นผ่อนชำระ 48 งวด ดอกเบี้ยเหลือ 12% และ 22% ต่อปี
    สินเชื่อรถยนต์

ประเภทจำนำทะเบียนรถ

  • ลดค่างวด 30% ดอกเบี้ย 22% ต่อปี
    ประเภทโอนเล่มทะเบียนรถ/รถใหม่, เก่า

ทางเลือกที่ 1

  • พักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย 3 เดือน ขยายเวลาผ่อนอีก 3 เดือน
    ทางเลือกที่ 2
  • ลดค่างวด 50% เป็นเวลา 6 เดือน ขยายเวลาผ่อนอีก 3 เดือน

 

 

ธนาคารยูโอบี

บัตรเครดิต

  • ปรับลดผ่อนชำระขั้นต่ำเดิม 10% ปี 63-64 เหลือ 5%, ปี 65 เหลือ 8% และปี 66 เหลือ 10% ตามเดิม

บัตรกดเงินสด

  • ปรับลดผ่อนชำระขั้นต่ำเดิม 5% ปี 63-65 เหลือ 2.5% และปี 66 เหลือ 5% ตามเดิม

ปรับโครงสร้างหนี้ โดยรวมหนี้

  • สินเชื่อบ้าน, บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภท

 

 

SME D Bank

พักชำระหนี้

  • พักหนี้เงินต้น 6 เดือน ไม่เกิน 31 ธ.ค.64 ขึ้นอยู่กับผลกระทบหนักเบา
    เติมทุนใหม่

สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash

  • วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาท ดอกเบี้ย 3% คงที่ 2 ปี
  • ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
    สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน
  • วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท ดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.875% นาน 3 ปี

 

 

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ลูกหนี้ที่เคยเข้าร่วมโครงการ

  • ลดเงินงวดผ่อนชำระ 25%, 50% หรือ 75% ของเงินงวดปัจจุบัน
  • ระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค.64)
  • ลงทะเบียน 15-29 ม.ค.64

ลูกหนี้ที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการ

  • ลดเงินงวดผ่อนชำระ 25%, 50% หรือ 75% ของเงินงวดปัจจุบัน
  • ระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค.64)
  • ลงทะเบียน 1-26 ก.พ.64

ลูกหนี้ NPL และปรับโครงสร้างหนี้

  • ลดเงินงวดผ่อนชำระ 25%, 50% หรือ 75% ของเงินงวดปัจจุบัน
  • ระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค.64)
  • ลงทะเบียน 15 ม.ค.-26 ก.พ.64

ลูกค้า SMEs สินเชื่อประเภทแฟลต

  • ลดเงินงวดผ่อนชำระ 25%, 50% หรือ 75% ของเงินงวดปัจจุบัน
  • ระยะเวลาถึง มิ.ย.64
  • ลงทะเบียน 1 ม.ค.-31 มี.ค.64

 

 

ธนาคารออมสิน

มาตรการเยียวยาลูกค้าสินเชื่อในพื้นที่ควบคุม 28 จังหวัด

  • พักชำระเงินต้น
  • พัก/ลด ดอกเบี้ย ตามความรุนแรงของผลกระทบ
  • ระยะเวลา 3-12 เดือน

มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

  • สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย (สำหรับอาชีพอิสระ วงเงินสูงสุด 10,000 บาท ดอกเบี้ย 0.10% ต่อเดือน
  • สินเชื่อเสริมฐานราก ไม่ต้องค้ำประกัน วงเงินสูงสุด 50,000 บาท ดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน
  • SMEs มีที่มีเงิน กู้สูงสุด 70% ดอกเบี้ย 5.99% ต่อปี
  • ช่วยเหลือ SMEs ภาคท่องเที่ยว วงเงินสูงสุด 500,000 บาท ดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี
  • ฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย วงเงินสูงสุด 100 ล้านบาท ดอกเบี้ย 2% ต่อปี

 

 

ธนาคารกรุงเทพ

บัตรเครดิต

  • ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำจาก 10% เหลือ 5% จนถึง 31 ธ.ค.64
  • ลดดอกเบี้ยจาก 18% เหลือ 16%
  • ขยายวงเงินให้ลูกค้าประวัติชำระดีที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท จาก 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า จนถึง 31 ธ.ค.64

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ลดหย่อนผ่อนชำระ โดยขยายเวลาการชำระหนี้
    สินเชื่อที่อยู่อาศัย
  • ผ่อนผันปลอดการชำระเงินต้น
  • ลดยอดผ่อนชำระ โดยขยายเวลาการชำระหนี้

ปรับโครงสร้างหนี้

  • เป็นลูกค้าที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัย, บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลกับธนาคารกรุงเทพ
  • สินเชื่อที่อยู่อาศัยต้องไม่เป็น NPL ณ วันที่ 1 มี.ค.63
  • ลงทะเบียนได้ถึง 31 ธ.ค.64

สินเชื่อธุรกิจ SME

  • ดอกเบี้ย 2.0% ต่อปี 2 ปี โดย 6 เดือนแรกรัฐเป็นผู้ชำระแทน
  • ยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
  • ไม่คิดดอกเบี้ยผิดนัด และเบี้ยปรับในช่วง 2 ปี
  • ยื่นได้ถึง 18 เม.ย.64

 

 

อิออน ธนสินทรัพย์

มาตรการที่ 1 ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ

บัตรเครดิตอิออน

  • รอบชำระวันที่ 2 พ.ค.63- 2 ธ.ค.64 เหลือ 5%
  • รอบชำระวันที่ 2 พ.ค.65- 2 ธ.ค.65 เหลือ 8%
  • รอบชำระวันที่ 2 ม.ค.66 เป็นต้นไป เหลือ 10% ตามเดิม

มาตรการที่ 2 พักหรือลดค่างวด

สินเชื่อทุกประเภท

  • ยกเว้นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์, รถจักรยานยนต์ พักชำระหนี้ 3 เดือน สูงสุด 6 เดือน หรือลดค่างวด 30%-50% สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน
    มาตรการที่ 3 เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว
    สินเชื่อยัวร์แคช
  • สามารถขอเปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นระยาว ได้ดอกเบี้ย 12% ต่อปี ชำระคืนขั้นต่ำ 3% ต่อเดือน
  • ลงทะเบียนได้ถึง 30 มิ.ย.64

 

 

ธนาคารกรุงไทย

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • เปลี่ยนเป็นวงเงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา 48 งวด หรือขยายระยะเวลาตามความสามารถในการชำระหนี้

แบบกำหนดเวลา

  • ลดการผ่อนชำระลง 30% จากการผ่อนชำระตามสัญญากู้เดิม นานสูงสุด 6 เดือน
    สินเชื่อที่อยู่อาศัยและใช้เป็นหลักประกัน
    สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อ Home for Cash, สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน
  • พักชำระเงินต้น 3 เดือน หรือลดค่างวด โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้

 



ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก

มาตรการส่งเสริม

  • สำหรับผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มเติบโตได้
  • เสริมสภาพคล่องโดยให้วงเงินเพิ่มเติม

มาตรการผ่อนปรน

  • สำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ลดลง แต่ยังดำเนินกิจการได้
  • ช่วยขยายการชำระหนี้ออกไประยะหนึ่ง และเมื่อชำระได้หมดจะเพิ่มสถาพคล่องบางส่วน

มาตรการขยายระยะเวลา

  • สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการขยายเวลาในการชำระหนี้คืน
  • ให้ขยายการชำระหนี้ออกไปได้ไม่เกิน 2 ปี
    มาตรการประคับประคอง
  • สำหรับผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ
  • ปรับโครงสร้างหนี้ตามสภาพธุรกิจ

 

 


Mostview

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

เศรษฐกิจไม่ดี! KFC-Pizza Hut ในจีน ดึงกลยุทธ์สุดฤทธิ์เรียกลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

Yum China Holdings เจ้าของ KFC และ Pizza Hut เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในจีน วางแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ยังไม่เคยเปิด โดยใช้กลยุทธ์ขายเมนูในราคาต่ำเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในจำนวนมาก

SmartSME Line