วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2567

ธุรกิจพิซซ่า ปี2566 กำไรยังหนานุ่ม หรือช่วงนี้บางกรอบ !?

by Smart SME, 20 กันยายน 2566

ถ้าไม่ใช่.. "พิซซ่า" ก็ไม่สนลูกใคร ไม่ว่าหน้าไหน ๆ ทั้งนั้น ! ใจเย็นก่อน.. แอดมินแค่หัวร้อน เพราะกำลังโมโหหิว อยากกินอะไรที่สั่งด่วน ได้เร็ว กินอิ่มอร่อย ไม่ยุ่งยาก คิดไปคิดมา ก็มีอยู่เมนูเดียวเท่านั้น “พิซซ่า” ไงจ๊ะ

 

ไหน ๆ ก็จะสั่งพิซซ่ากิน ก็เลยขอแวะมาชวนเพื่อน ๆ นึกย้อนตามกันสักหน่อย ถึงกระแส "คนบริโภคพิซซ่า" ในสายตาเพื่อน ๆ บางคน ที่อาจมองว่า ช่วงนี้ดูแผ่ว ๆ รึเปล่า ?

เพราะปัจจุบันมี ธุรกิจร้านอาหาร เกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหารประเภทชาบู สุกี้ ที่เข้ามาตอบโจทย์คนกินได้ดีกว่า อิ่มกว่า คุ้มกว่า เมนูในร้านหลากหลายกว่า ฯลฯ อีกทั้ง พฤติกรรมคนกินยุคนี้ก็มักจะชื่นชอบทดลองร้านอาหารใหม่ ๆ ไปเรื่อย ๆ

แต่จุดแข็งของร้านพิซซ่า เขาก็มีของดีอยู่เยอะ ! ถ้าไม่เจ๋งจริง คงไม่อยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้ และสุดท้าย หากจะบอกว่า เมนูใดที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภควัยเรียน วัยทำงานได้ทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะช่วงเวลา Break-Time หรือ Meeting Time เชื่อว่าจะต้องมีเมนู "พิซซ่า" ติดโผเป็นอันดับต้น ๆ อย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย

 

อย่างที่บอกไปว่า "พิซซ่า" เป็นอาหารที่เน้นความอิ่มสะดวก ทานง่าย จบได้ทุกมื้อ เข้ากันดีกับคนไทยที่ชื่นชอบงานเลี้ยง สังสรรค์รื่นเริง โดยเฉพาะวัยเรียน วัยทำงานที่สามารถ Meeting ได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งวัฒนธรรมออฟฟิศแต่ละองค์กรก็มักจะมีการจัดเลี้ยง Meeting เลี้ยงวันเกิด เลี้ยงส่ง เลี้ยงถูกลอตเตอรี่ หัวหน้าเลี้ยงลูกน้อง สรวงเสเฮฮา กันอยู่บ่อย ๆ โดยเมนูอาหารแบบที่พร้อมทาน กินง่าย อร่อย หน้าไม่งอ..รอไม่นาน ไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยาก นั่นก็คือ "พิซซ่า"

ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ช่วงนี้เป็นช่วงปลายปี เข้าสู่ไตรมาสสุดท้าย หลาย ๆ องค์กร ปิดงบ ทำยอดขายบริษัทได้ถึงเป้า ก็จะหาเรื่องเลี้ยงฉลองกัน Smart SME ก็เลยขอถือโอกาสพาเพื่อน ๆ ไปอัปเดตธุรกิจร้านพิซซ่า ในเมืองไทยตอนนี้ ว่า แต่ละแบรนด์มียอดขายและกลยุทธ์การทำตลาด เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในประเทศเป็นอย่างไรกันบ้าง อ่านจบ เที่ยงนี้ยกหูสั่งเลย !

จากข้อมูลธุรกิจ ของตลาดพิซซ่าในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ.2563-2564 ต้องบอกว่า เติบโต แต่ไม่เยอะ เหตุผลเพราะ เป็นช่วงที่ทั่วโลกรวมทั้งไทยเราด้วยที่กำลังพลิกฟื้นกลับสู่สภาวะปกติ หลังเผชิญวิกฤตโควิด-19 โดยสรุปตัวเลขตลาดพิซซ่า ได้ดังนี้

• มูลค่าตลาดพิซซ่าในประเทศไทย เฉลี่ย 13,000 - 15,000 ล้านบาท

• ปลายปี พ.ศ.2564 ไปจนถึงต้นปี พ.ศ.2565 เติบโตเฉลี่ย 7-8 %
• โดยช่วงพีค หรือ High-Season คือ ช่วงไตรมาส 4 หรือ 3 เดือนสุดท้ายของปี ยอดขายพิซซ่าแต่ละแบรนด์จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ผู้คนกล้าออกไปกินอาหารนอกบ้านมากขึ้น , มีการจัดเลี้ยงสังสรรค์บ่อยขึ้น, การกระตุ้นจัดทำโปรฯ เช่น ซื้อ 1 แถม 1 ถาด ของแต่ละแบรนด์ เป็นต้น
• จากสถิติที่มีข้อมูลสำรวจเคยระบุว่า คนไทยกินพิซซ่า เฉลี่ย 2 ครั้ง/ปี (ข้อมูลไม่ได้ระบุช่วงอายุ)
• คนไทยใช้จ่ายต่อบิลในการซื้อพิซซ่า เฉลี่ย 500 บาทขึ้นไป/ออร์เดอร์การสั่งซื้อ


ทีนี้ จะพาเพื่อน ๆ มาลองดูว่า ตลาดพิซซ่า ในบ้านเราขณะนี้ มีของแบรนด์อะไรบ้าง ที่ยังคงเป็นผู้นำในเรื่องยอดขายและได้รับความนิยมสำหรับผู้บริโภคคนไทยมาอย่างต่อเนื่อง จะมีแบรนด์ไหนที่เพื่อน ๆ สั่งกินเป็นประจำกันบ้างนะ ไปดูกันเลย !

 

 

The Pizza Company

The Pizza Company

The Pizza Company

The Pizza Company

The Pizza Company

ยังคงรั้งอยู่อันดับแรก ของยอดขายและได้รับความนิยมมากที่สุด ภายใต้การบริหารโดย เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป, ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

• เปิดบริการในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2544
• สาขาปัจจุบันในประเทศไทย กว่า 400 สาขา
• ยอดขายในประเทศไทย ราว ๆ 8,000 ล้านบาท (ข้อมูลปี พ.ศ.2564)
• กลยุทธ์การทำตลาด
- เน้นบริการเดลิเวอรี่ โดยยอดขายเดลิเวอรีเติบโต 20-25% (ข้อมูลปี 2564)
- Renovate ปรับหน้าร้านใหม่ รองรับลูกค้าทานที่ร้านมากขึ้น ดันยอดขายให้เติบโต
- R&D เมนูเพิ่ม เช่น บุกตลาดไก่ทอด 40,000 ล้านบาท ด้วยแบรนด์ Chick-A-Boom เมนูปีกไก่ทอดเคลือบซอสสูตรเฉพาะของทางร้าน ในราคาไม่แพง

 

 

 

Pizza Hut (พิซซ่า ฮัท)

Pizza Hut (พิซซ่า ฮัท)

Pizza Hut (พิซซ่า ฮัท)

Pizza Hut (พิซซ่า ฮัท)

Pizza Hut

ได้รับความนิยมชนิดที่เรียกว่า เบียดทุกโค้ง ตามมาติด ๆ ในทุก ๆ ยุคสมัย บริหารโดย บริษัท พีเอช แคปปิตอล จำกัด ภายใต้แบรนด์ Pizza Hut (พิซซ่า ฮัท) ในประเทศไทย

• เปิดบริการในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2523
• สาขาปัจจุบันในประเทศไทย กว่า 200 สาขา
• ยอดขายในประเทศไทย โดยระบุเป็น ผลประกอบการของ บริษัท พีเอช แคปปิตอล จำกัด
- ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 1,719 ล้านบาท , ขาดทุน 29 ล้านบาท
- ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 1,903 ล้านบาท , กำไร 13 ล้านบาท
• กลยุทธ์การทำตลาด
- ปรับโมเดลร้านพิซซ่า ฮัท สาขาเปิดใหม่ เน้นบริการเดลิเวอรี่มากกว่า Dine-in ตั้งแต่ก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว
- มุ่งเน้น “การสร้างปรากฏการณ์ New Experience ให้ลูกค้า ได้ Wow! Surprise! ทุกครั้ง" เช่น การทำตลาดแบบ “Trend Marketing” จับเทรนด์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของพิซซ่า ฮัท โดย ออกเมนูใหม่ ๆ ที่เน้นชีสเป็นหลัก ซึ่งลูกค้าชื่นชอบ
- หรือร่วมกับเชฟ ที่มีชื่อเสียง คิดค้นเมนูสูตรพรีเมียม หรือทำ “Brand Collaboration” กับสินค้าแบรนด์อื่น ๆ เพื่อกระตุ้นการซื้อและเสริมยอดขาย ตลอดจนเข้าถึงผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

 

 

 

Domino’s Pizza

Domino’s Pizza

Domino’s Pizza

Domino’s Pizza

Domino’s Pizza

เป็นแบรนด์พิซซ่าที่คนไทยชื่นชอบไม่แพ้แบรนด์ดัง ๆ และรสชาติพิซซ่า บรรยากาศร้านค่อนข้าง Unique มีเอกลักษณ์ บริหารอยู่ภายใต้ บริษัท โดมิโน่ เอเซีย แปซิฟิค จํากัด

• เปิดบริการในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2563
• สาขาปัจจุบันในประเทศไทย กว่า 40 สาขา ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญ
• ยอดขายในประเทศไทย
- ปี 2020 รายได้ 25 ล้านบาท , ขาดทุน 45 ล้านบาท
- ปี 2021 รายได้ 162 ล้านบาท , ขาดทุน 191 ล้านบาท
• กลยุทธ์การทำตลาด
- สู้ด้วยราคาที่ไม่แพง เช่น ขายถาดใหญ่ ราคาเริ่มต้น 199 บาท เพื่อแย่งตลาดเจ้าอื่น ๆ
- โฆษณา และทำโปรโมชันผ่านสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงและมี Engagement ได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการออกโปรโมชัน ซื้อ 1 แถม 1, แจกคูปอง, โฆษณาผ่านทางช่องทางต่าง ๆ หรือแม้แต่ไปออกบูทตามตลาดนัด
- ไม่เน้นตั้งสาขาใหญ่ แต่เน้นใกล้กับลูกค้ามากที่สุด

 

 

 

NARAI PIZZERIA บริษัท นารายณ์ พิซเซอเรีย จำกัด

NARAI PIZZERIA บริษัท นารายณ์ พิซเซอเรีย จำกัด

NARAI PIZZERIA บริษัท นารายณ์ พิซเซอเรีย จำกัด

NARAI PIZZERIA บริษัท นารายณ์ พิซเซอเรีย จำกัด

NARAI PIZZERIA

อีกหนึ่งแบรนด์พิซซ่า ที่มีกลุ่มลูกค้าอย่างเหนียวแน่น มาพร้อมสโลแกนคูล ๆ "ความสุขยืดได้ นารายพิซเซอร์เรีย" ภายใต้การบริหารโดย บริษัท นารายณ์ พิซเซอเรีย จำกัด

• เปิดบริการในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2511 ถือเป็นร้านอาหารสไตล์อิตาเลี่ยนยุคแรก ๆ ที่เปิดในเมืองไทย
• เป็นแบรนด์พิซซ่าสัญชาติไทยแท้
• สาขาปัจจุบันในประเทศไทย กว่า 30 สาขา ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญ
• ยอดขายในประเทศไทย
- ปี พ.ศ.2564 รายได้รวม 225.8 ล้านบาท , ขาดทุน 24 ล้านบาท
- ปี พ.ศ.2565 รายได้รวม 338.8 ล้านบาท , กำไร 6.9 ล้านบาท
• กลยุทธ์การทำตลาด
- สร้างแบรนด์ใหม่ "ข้าน้อยขอชาบู" และเสริมเมนูพิซซ่าแบรนด์ NARAI PIZZERIA เข้าไปในร้านแบบ 2 IN 1
- เน้นเปิดในห้างสรรพสินค้ามากขึ้น และมุ่งจับตลาดแมส คือ อิ่มอร่อยในราคาเข้าถึงเริ่มต้น 199 บาท
- เน้นทำตลาด Delivery อีกกว่า 40%

 


สำหรับตลาดพิซซ่า ในเมืองไทยปัจจุบัน ไม่ได้มีแค่ 4 แบรนด์พิซซ่าที่เราได้กล่าวไปเพียงเท่านี้ โดยยังมีผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ อีกหลายราย ตั้งแต่รายใหญ่ ไล่เรียงลงไปจนถึงแบรนด์พิซซ่าระดับ SME ระดับ Micro และรถเข็นแฟรนไชส์สตรีทฟู้ด ซึ่งยังมีเกิดขึ้นและพร้อมที่จะแข่งขัน เข้ามาแบ่งชิ้นคำโตในธุรกิจนี้

โดยตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจพิซซ่า สำหรับรายใหม่หรือรายเล็ก สามารถเฉิดฉายและอยู่รอดได้ในระยะยาว คือ


1.) การนำเสนอทั้งเรื่องแบรนด์ เมนูในร้าน การให้บริการที่แปลกใหม่และแตกต่างจากคู่แข่งตลอดเวลา
2.) ราคาขายที่ต้อง Mass Market เพราะหากคุณขายแพงก่อน โดยที่แบรนด์ยังไม่ได้เป็นที่รู้จัก ย่อมเป็นการยากที่ที่คนจะเข้าถึงแบรนด์ของคุณ ซึ่งผู้บริโภคเลือกแบรนด์พิซซ่ารายใหญ่เพื่อความมั่นใจในเรื่องรสชาติที่ชัวร์กว่า
3.) การตลาด Delivery ต้องให้เข้าถึง รวดเร็ว ไม่แพ้กับแบรนด์ใหญ่ ๆ เพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้ให้ได้


Mostview

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line