วันจันทร์, พฤษภาคม 20, 2567

งานไอทีกับโปรแกรมเมอร์ ต่างกันอย่างไร?

by Smart SME, 7 มิถุนายน 2559

งานไอทีกับโปรแกรมเมอร์ ต่างกันอย่างไร? [caption id="attachment_34802" align="alignnone" width="960"]งานไอทีกับโปรแกรมเมอร์ ต่างกันอย่างไร? งานไอทีกับโปรแกรมเมอร์ ต่างกันอย่างไร?[/caption] “ใครคืออะไร ทำงานอะไร ทำตำแหน่งไหน” มันเป็นคำถามที่น่าสนใจอย่างมากเช่นกัน และมักจะมีการเอาตำแหน่งหน้าที่นี้มาสลับสับเปลี่ยนใช้งานกันมั่วไปหมดจนคนที่จบมาทำตำแหน่งนั้นๆ ต่างเวียนหัวกันไปหมดเลยเช่นกัน ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึงปัญหาเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า การทำงานของคนตำแหน่ง “เจ้าหน้าที่ไอที” กับ “โปรแกรมเมอร์” ทั้งสองตำแหน่งนี้ เกี่ยวข้องกับการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยตรงเลยนั่นเอง แต่กระนั้นแล้ว สองตำแหน่งนี้ก็มีความแตกต่างกันอยู่มากพอสมควรเลยเช่นกัน แล้วเราจะดูได้จากอะไรบ้าง เรามาดูกันเลย

การศึกษาจากสาขาที่จบออกมา : โดยทั่วไปแล้วนั้น สองตำแหน่งนี้มีพื้นฐานการจบการศึกษาออกมาจากเอกที่สามารถทำงานเหมือนกันได้ทั้งสองทางคือทั้งเอก วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งตามหลักสูตรของหลายๆสถาบันและจากคำพูดของโปรแกรมเมอร์หลายคนนั้นได้ระบุว่าการเรียนมาในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นจะเป็นการจบการศึกษามาเพื่อเป็นโปรแกรมเมอร์โดยตรง เน้นการเขียนโปรแกรมเป็นหลัก แต่ก็สามารถหมุนไปทำงานด้าน IT โดยทั่วไปได้เช่นกันถ้าหากศึกษาเพิ่มเติม ส่วนคนที่จบออกมาในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT อันนี้จะเป็นสายตรงที่จะจบออกมาเพื่อทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ไอที เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายหรือ Network แต่วิชาหลักที่บังคับเรียนเหมือนกันนั่นก็คือวิชาด้าน Programming หรือการเขียนโปรแกรม ทำให้นักศึกษาที่จบจากสาขา IT มีจำนวนไม่น้อยที่ผันตัวไปเป็นโปรแกรมเมอร์ด้วยเช่นกัน

แนวทางการทำงานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน : การทำงานด้าน IT นั้นจะข้องเกี่ยวกับอุปกรณ์ ระบบ ที่เกี่ยวข้องกับด้าน IT มากมายไล่ตั้งแต่การขลุกอยู่กับเครื่องเมนเฟรม , เราน์เตอร์ ระบบ LAN หรือระบบสารสนเทศอื่นๆอีกมากมาย การรู้จักการปรับค่า การเซ็ตอุปกรณ์ต่างๆจึงจะเป็นหน้าที่หลักของเจ้าหน้าที่ไอที แต่ในขณะเดียวกัน หน้าที่ของพวกเขาก็ไม่ใช่ช่างซ่อมบำรุงโดยตรง จึงจะให้พวกเขาไปซ่อมคอมพิวเตอร์ นั่งจับหัวแร้งเพื่อซ่อมเบนบอร์ดก็ไม่ใช่อย่างแน่นอน งานด้านนี้จะเป็นงานของวิศวกรคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ส่วนกลุ่มของโปรแกรมเมอร์ หน้าที่หลักๆของพวกเขาเลยก็คือการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ออกมาตามที่คนต้องการเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานขององค์กร และในขณะเดียวกัน พวกเขายังจะต้องมานั่งแก้ Code ของโปรแกรมต่างๆที่มีปัญหาเช่น โปรแกรมใช้งานไม่ได้หรือติด Bug ของโปรแกรม จะให้พวกเขาไปเซ็ตระบบต่างๆของเจ้าหน้าที่ไอทีทำ หรือไปซ่อมบำรุงอุปกรณ์ก็คงจะเป็นไปได้ยากเช่นกัน เราจึงสามารถสรุปได้ว่า เจ้าหน้าไอทีนั้น งานจะครอบคลุมด้าน Network เป็นหลัก รวมถึงการเซ็ตระบบหลักในการทำงานขององค์กรได้ ส่วนโปรแกรมเมอร์คือกำลังสำคัญในการพัฒนาโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของโปรแกรมด้านสารสนเทศในองค์กรได้นั่นเอง “ไม่ใช่ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์”


Mostview

พาชมงาน MONEY EXPO 2024 โซน Franchise SMEs มีธุรกิจอะไรน่าลงทุน

เริ่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับงาน MONEY EXPO 2024 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยภายงานในงานได้มีสถาบันทางการเงินที่นำบริการสินเชื่อต่าง ๆ มานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจมองหาแหล่งทุนสำหรับนำไปใช้ในเรื่องต่าง

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

6 วิธีสร้างแนวคิดอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจของคุณ แถมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

การยึดมั่นในเรื่องของความยั่งยืนไม่ได้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังส่งผลเชิงบวกให้กับแบรนด์อีกด้วย ดังนั้น เรามาดูกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่คนเป็นผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ ผ่านวิธีการเหล่านี้

SmartSME Line