วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 16, 2567

SME รวมทัพขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

by Smart SME, 7 กรกฎาคม 2559

ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยในรายการตอบโจทย์ SME ว่า งาน SME คือภารกิจหลักของกระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งแต่มีแนวคิดในการทำธุรกิจตลอดไปจนการส่งออก และยังมีบางกลุ่มที่เป็นนโยบายรัฐในการส่งเสริมด้วย อาทิ อุตสาหกรรมแฟชั่น ที่พร้อมส่งออก ทางกรมเองได้พาไปจับคู่ธุรกิจที่ฮ่องกง ประมาณ10ราย นอกจากนี้ หัวใจของSMEไทยในปัจจุบันนี้มองว่าคือ บุคลากร รวมถึง แนวนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมมอง SME ไทย ที่ต้องมี Intelligent หรือ4i คือ Intelligent Network, Intelligent Entrepreneur, Intelligent Process และ Intelligent Product รวมถึงยังได้นำแอปพลิเคชันของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาฝากในงาน Smart SME Expo 2016 นอกจากนี้ ในเรื่องของมาตรฐานที่กระทรวงดูแลคือ มอก.ซึ่ง SME สามารถเข้าร่วมได้ ซึ่งมีทั้งที่บังคับและไม่บังคับ คุณสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้เปิดเผยว่าสำหรับงาน Smart SME Expo 2016 สามารถตอบโจทย์SME ได้หมดทุกเรื่อง ซึ่งคิดว่า 4 ปัจจัยดังต่อไปนี้สำคัญอย่างมากสำหรับ SME คือ1.ต้องมีนวัตกรรม เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นที่สนใจของตลาด ไม่ตกยุคตกเทรน 2.ต้องได้มาตรฐาน 3.ช่องทางการขายต้องเหมาะสม เช่น ออนไลน์ และ4.ต้องมีเงินทุน ส่วนประเด็นการปรับโครงสร้างหนี้เป็นเรื่องยากมาก ดังนั้น จึงมี พรบ.ฟื้นฟูธุรกิจ และสสว.ยังมีโครงการกองทุนพลิกฟื้นธุรกิจ สำหรับSMEที่เข้าร่วมโครงการTrun Around สามารถกู้ยืมจากกองทุนพลิกฟื้นได้ไม่มีดอกเบี้ย ระยะเวลาการกู้ 5-7ปี รวมถึงโครงการ Strong SME ที่มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 10,000 ราย โดยพบปัญหาคือเรื่องของนวัตกรรม เพราะถึงแม้ว่าสินค้ายังขายได้ดีแต่อีกนิดก็จะเชยหรือตกเทรน จึงได้จัดโค๊ชชิ่งให้เกิดขึ้นในโครงการนี้ ซึ่งได้ยกตัวอย่างประเทศเกาหลีใต้ที่รัฐบาลจะตามหาสินค้าที่มีความต้องการ ส่งผลให้ผู้ประกอบการเกาหลีใต้ปรับปรุงตัวสินค้าของตนเองเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีด้วยการใช้นวัตกรรม คุณพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจเป็นต้นสายของการดำเนินธุรกิจนิติบุคคล ซึ่ง 1 ใน 4 ของยอด SME 2ล้าน7แสนรายนั้น เป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด 6 แสนกว่าราย ซึ่งสามารถจดทะเบียนได้ข้ามเขตทั่วประเทศ และในปี 2560 จะนำการจดทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ และในอนาคตอันใกล้จะออกกฎหมายในการจดทะเบียนนิติบุคคลคนเดียวได้ รวมถึงมีแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการ 2 ส่วน คือ พัฒนาที่ผู้ประกอบการ ด้วยการสร้างให้เป็นนักการค้ามืออาชีพ นักสร้างสรรค์ และพัฒนาSector ธุรกิจแฟรนไชน์ โลจิสติกส์ เป็นต้น ด้วยการพยายามให้ธุรกิจเป็นแฟรนไชน์ให้มากที่สุดเพื่อป้องกันการล้มของผู้ประกอบการ พร้อมกันนี้ยังได้รับเงินสนับสนุนจาก สสว.ในการพัฒนาและสร้างมาตรฐานแฟรนไชน์ไทย ตามหลักสากล และการเปิดตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะใน CLM ซึ่งที่ผ่านมากรมพาผู้ประกอบการไปแล้ว 22 ราย ส่วนตัวเลขของการจดทะเบียนนั้น เป็นวัฏจักร จด1ส่วน จากไป4ส่วน โดยปัญหาที่พบคือการจดทิ้งไว้เฉยๆและไม่เข้าใจธุรกิจของตนเอง รวมถึงหลักประกันทางธุรกิจที่เป็นทางเลือกแต่การจำนำจำนองยังมีอยู่ แต่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร วัตถุดิบ หรือที่ดิน แต่หัวใจคือความสามารถในการชำระคืน ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานสมาพันธ์SMEไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการรวมตัวกันของ SME 130 องค์กร และทำงาน 5 เรื่อง ด้วย 3 กลไกในการปลดล็อคปัญหา และ2กลไกในการสนับสนุน SME โดย 3 กลไก คือ 1.ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งทุน ด้วยการจับมือกับ สสว.และเอสเอ็มอีแบงก์ ทำให้เกิดโครงการ ฟาสแทร็ค วง 3,000 กว่าล้านบาท จำนวน 700 ราย และมอบให้ธนาคารเอสเอ็มอีแบงก์เพื่อร่วมพิจารณา และยังได้เตรียมความพร้อมให้SME เข้าใจถึงระบบบัญชีก่อนยื่นขอกู้กับธนาคาร ด้วยการจัดตั้ง Social enterprise ขึ้นมาเพื่อให้ความรู้เรื่องนี้โดยเฉพาะ 2.ขาดองค์ความรู้ ทั้งการบริหารจัดการบุคคล การผลิต จัดการองค์กร เป็นต้น จึงได้ร่วมมือกับสสว. ด้วยการจัดตั้งโครงการ Start Up เพื่อลดความเสี่ยงในการเริ่มต้นทำธุรกิจ และโครงการ trun around ที่จะมีนักวินิจฉัยจะเข้าไปให้ความรู้และเป็นที่ปรึกษา และจับมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมในโครงการ trun around ภาคการผลิต และ3.คือการรวบรวมนักการตลาด ซึ่งได้จัดตั้ง SME Outlet ที่ตอนนี้มีสถานที่แล้วและจะทำการเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนหน้า รวมถึงจะนำสินค้าสมาชิกในOutlet นำสู่ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ และหากอีคอมเมิร์ซไหนอยากได้สินค้าของสมาชิกไปจำหน่ายสามารถนำไปจำหน่ายได้ และที่ผ่านมาได้ทำ MOU กับห้างสรรพสินค้าในเมียนมาร์ เพื่อนำสินค้าไปจำหน่ายในเมียนมาร์ ส่วนลาวและกัมพูชากำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการ หากSMEที่อยากติดตามข่าวสารได้ @SMEThai ได้เลย 2 กลไกสนับสนุน คือ ทางลัดและปัจจัยที่กำลังมาถึง มี 3 ตัวหลักคือ เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ที่จะเข้ามาต่อปลั๊กกับ SME ซึ่งได้เซ็น MOU กับกระทรวง ICT 2 โครงการ เรื่องแรกคือการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะนักศึกษา เพื่อผลักดันให้เป็น Start Up  โดยได้หน่วยงานอื่นๆอีก 37 หน่วยงานให้ความร่วมมือ โครงการที่2คือ ดิจิทัล วิลเลจ ด้วยการดึงภาคการเกษตรเข้าสู่ออนไลน์ และในวันที่ 5 ก.ค.นี้จะเซ็นMPU กับกระทรวงวิทย์ฯในโครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอป และเรื่องที่ 5 ที่สมาพันธ์สนับสนุน คือ ความร่วมมือกับเครือข่ายที่ได้มากกว่า 130 องค์กร มีการเซ็น MOU ไป 10 MOU เพื่อเอื้อให้เกิดการส่งเสริม SME ทุกประเภท

Mostview

4 สิ่งของคนเลี้ยงลูกประสบความสำเร็จไม่เคยสอนตอนเมื่อลูกยังเล็ก

ครอบครัวถือเป็นสถาบันหลักสำคัญในการสั่งสอนลูกว่าจะเป็นคนอย่างไร โดยช่วงเวลาที่ผ่านมาเราได้ยินว่าควรทำอย่างไรกับลูกของเรา และเรื่องไหนที่ไม่ควรทำกับลูกของเรา

แม็คโคร-โลตัส ไตรมาสแรกปี 2567 ทำรายได้รวม 127,020 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT เผยผลประกอบการในช่วงไตรมาส 1/67 พบว่ามียอดรายได้รวม 127,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน มีกำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีก่อน

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

SmartSME Line