วันศุกร์, พฤษภาคม 17, 2567

“วิธีเลือกทำเลอย่าง SMEs รุ่นใหม่” อยากเจิดต้องหาที่เปิดเป็น

by Smart SME, 13 กันยายน 2559

วิธีเลือกทำเลอย่าง SMEs รุ่นใหม่ ทำเลทองเป็นสิ่งแรกๆที่ SMEs ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะถือเป็นจุดเริ่มต้นการสร้างโอกาส ถ้าทำเลดีมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเยอะ นั่นก็หมายถึงผลกำไรที่มากขึ้น วิธีเลือกทำเล ตั้งร้านมี2แบบ“ คือ Stand Alone กับ Generator ” ถ้าเป็นทำเลแบบ Stand Alone ก็เช่น ที่ตั้งริมทาง บ้าน ตึกแถว หรือสิ่งปลูกสร้างเดี่ยว ๆ ส่วนทำเลแบบ Generator เช่น โรงแรม ไฮเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน โรงพยาบาล ช็อปปิ้งพลาซ่า ฯลฯซึ่งทำเลทั้งสองแบบก็มีภาวะแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกแตกต่างกัน รู้จักเครื่องมือในการวิเคราะห์ทำเล
  • แผนที่และข้อมูล ต้องมีข้อมูลลูกค้า ลูกค้าเราคือใครกลุ่มไหน ชอบเข้ามาเวลาไหนมากที่สุด สภาพตลาดและคู่แข่งตรงนั้นเป็นอย่างไร อะไรคือจุดแข็งจุดอ่อนของเรากับคู่แข่ง
  • การนับจำนวนกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ก่อนตัดสินใจเลือกทำเลต้องนับจำนวนคนและกลุ่มเป้าหมายที่สัญจรอยู่ในละแวกนั้นก่อน เพื่อประมาณการยอดขาย ต้องลงทุนเท่าไหร่จะได้กลับมาเท่าไหร่ คุ้มค่ามั้ย?
  • การประเมินทำเล โดยประเมินหลายปัจจัย เช่น มองเห็นได้ง่าย ใกล้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มีที่จอดรถของลูกค้า เดินทางสะดวก ติดทางเดินเข้า-ออก เป็นต้น
ตัวอย่าง วิวัฒนาการ Retail Zone ในการเปิดห้าง Central และ The Mall ซึ่งขยายสาขาเป็นเครือข่าย เพื่อ ดักคนจากหัวเมืองต่างๆที่เข้ามากรุงเทพ แต่ละสาขาจะทิ้งห่างกัน 10 กิโลเมตรขึ้นไป ซึ่งช่องว่างระยะห่างนี้ ก็จะเกิด Hyper Mart (เช่น บิ๊กซี, โลตัส) ขึ้นระหว่างกลาง และ Hyper Mart ก็จะถูกแทรกด้วย Retailเล็กๆ (อย่าง 7-11, Family Mart) ***สังเกตุมั้ยว่าห้างสมัยนี้ชอบเปิดฝั่งขาออกนอกเมืองซะส่วนใหญ่ นั่นเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคนิยมแวะจับจ่ายใช้สอยก่อนเดินทางกลับบ้าน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของเมืองหลวง การเปิดร้าน Stand Alone เป็นเหมือนกับ Destination เหมาะกับพฤติกรรมลูกค้าบางกลุ่มที่ต้องการความรวดเร็วคล่องตัวอย่าง Gen Y และ Gen C ***ต้องทำให้คนรู้จักร้านคุณและไปทดลองใช้บริการให้ได้ ช่วงเริ่มเปิดต้องเร่งสร้าง Awareness ที่สำคัญคือต้องรักษาลูกค้าที่เข้ามาให้ได้ด้วยเช่นกัน นั่นก็คือการสร้าง QSC&V >> Quality, Service, Cleanliness, Value เพื่อให้เกิดศรัทธาจากลูกค้า ข้อดี : ค่าเช่าถูก จัดวางองค์ประกอบทุกอย่างในร้านได้โดยไม่มีขอบเขต กำหนดเวลาเปิด-ปิดได้เอง ข้อเสีย : ถ้าไม่ตั้งอยู่ใน Office Building หรือแหล่งชุมชนอาจยากต่อการรับรู้และเข้าถึง ***แก้ไขโดยการทำโปรโมชั่นจูงใจ การเช่าพื้นที่เพื่อติดป้ายโฆษณาและบอกที่ตั้งร้านพร้อมเบอร์โทรอย่างละเอียด การเปิดร้านแบบ Generator เป็นค่านิยมการเปิดร้านของคนสมัยใหม่เพราะมีปริมาณ Traffic ที่เยอะ ยิ่งถ้าเป็นสินค้า In-House ที่สร้างความตื่นตาให้กับลูกค้าจะได้เปรียบทางการขายมาก มีการปรับเปลี่ยนให้น่าสนใจและตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ***แต่เหมาะกับธุรกิจ SMEs บางประเภท เช่น อาหาร เสื้อผ้า ของตกแต่ง สินค้าไอที ความงาม ข้อดี : มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เกิด Customer Target มี Traffic ตลอดเวลา สามารถสร้าง Awareness ได้ดีเยี่ยม ข้อเสีย : ค่าเช่าพื้นที่มีราคาแพง ค่าตกแต่งสูง เปิด-ปิดเป็นเวลา มีการปรับเปลี่ยนปรับปรุงพื้นที่อยู่ตลอดจึงทำให้ร้านอาจไม่มั่นคงเรื่องสัญญาเช่า จึงต้องเตรียมแผนเพื่อการรับมือความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา Location Analysis : Stand Alone หลังจากเจอทำเลที่ถูกใจแล้ว >> เจ้าของร้านจะต้องศึกษาความเป็นไปได้โดยดูจากเงินลงทุนทั้งหมด >> เริ่มจากการประมาณการต้นทุนและยอดขาย >> มูลค่าปัจจุบันสุทธิ >> อัตราผลตอบแทนภายใน >> ระยะเวลาคืนทุน >> ซึ่งต้องดูให้ลึกลงไปถึงสัญญาเช่า >> รูปแบบการเช่าพื้นที่ >> ซึ่งมีทั้งรูปแบบที่เป็นอัตราคงที่และอัตราผันแปร >> อายุสัญญาเช่าซึ่งก็มีทั้งสัญญาเช่าระยะสั้นและระยะยาว Location Analysis : Generator ถ้าเช่าพื้นที่ใน Generator ก็จะใช้หลักการวิเคราะห์ทำเลเหมือนกับ Stand Alone แต่ต้องศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องห้องที่เช่า  >> พื้นที่เปิดบริเวณทางเดินหรือลานโล่งในห้างและ คีออส (รถเข็นสำหรับสินค้าขนาดเล็ก) >> รวมทั้งเรื่องการจัดโซนและประเภทของพื้นที่ในศูนย์การค้าก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย >> เมื่อศึกษาทำเลอย่างละเอียดครบถ้วนแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือ >> เจ้าของธุรกิจจะต้องเตรียมพร้อมที่จะทำความรู้จักกับศูนย์การค้านั้นๆ >>ศึกษาข้อมูลทั่วไปของทางศูนย์การค้าและขั้นตอนสุดท้ายคือ >> ต้องเตรียมพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา >> ทั้งเรื่องปรับปรุงหรือย้าย ทั้งหมดคือหลักการสำคัญ ที่กลั่นกรองมาจากประสบการณ์จริงของผู้ที่คว่ำหวอดอยู่ในวงการSMEs ซึ่งต้องศึกษาให้ดีก่อนที่จะควักเนื้อลงทุน แนวคิดนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับ SMEs ทุกประเภทธุรกิจ เพื่อลดความเสี่ยงมากขึ้นขอแนะนำให้ศึกษาจากเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ว่ากว่าที่เขาจะสำเร็จได้เขาต้องฝ่าวิกฤติล้มลุกคลุกคลานมาอย่างไรบ้าง ซึ่งล้วนเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับผู้ที่จะเริ่มหรือทำอยู่แล้ว

Mostview

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

SmartSME Line