วันเสาร์, พฤษภาคม 18, 2567

6 ธุรกิจฟินเทคน่าจับตามองในเอเชีย

by Smart SME, 19 ธันวาคม 2559

หากพูดถึงฟินเทค อาจกล่าวได้มาได้ว่าเป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง กำลังก้าวเดินอย่างแข็งแรงในเอเชีย จากรายงานของ Fintech ในไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2016 โดย KPMG พบว่าการระดมทุนของบริษัทต่างๆกับบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินในเอเชียมีเพิ่มมากขึ้นถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าในสหรัฐฯที่มีการระดมเพียง 0.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีการตั้งข้อสังเกตว่าจำนวนข้อเสนอระดมทุนในเอเชียมีน้อยกว่าในสหรัฐฯและยุโรป (เอเชีย 35,สหรัฐฯ 96 และ ยุโรป 38) และมีเรื่องที่น่าสนใจในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะตั้งแต่สิงคโปร์ตัดสินใจสนับสนุนธุรกิจ “ฟินเทค” ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการประกาศเมื่อกลางปีเกี่ยวกับการสร้างกฎระเบียบ sandbox  ให้กับบริษัทที่เริ่มต้นทำฟินเทคได้เสนอไอเดียของพวกเขา และเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมามีการเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน APIs สำหรับนักพัฒนาและผู้สร้างแอพพลิเคชั่นได้เข้ามาใช้บริการ โดยในปี 2016 มี 6 บริษัทที่ทำธุรกิจฟินเทคน่าจับตามอง ซึ่งพวกเขาคือ Startup ที่มีไอเดียยอดเยี่ยมหรือเป็นปีที่ดีสำหรับพวกเขา อีกทั้งยังทำหน้าที่แสดงให้เห็นถึงวิธีแก้ปัญหาของ “ฟินเทค” ในแต่ละประเทศที่แตกต่างกันออกไป
  1. Alpaca (ญี่ปุ่น)
Alpaca เกิดจาก Yoshi Yokokawa CEOของบริษัทที่นำประสบการณ์ในตลาดการเงินและมีความต้องการสร้างธุรกิจของตัวเองหลังจากเขาลาออกจากงานที่ Lehman Brothers โดยเขาได้สร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการจดจำภาพลักษณ์ที่ดี ซึ่งเมื่อพวกเขาขายผลิตภัณฑ์ให้กับ Kyocera บริษัท อิเล็กทรอนิกส์ Alpaca ก็หันมาใช้เทคโนโลยีในการซื้อขายผ่านผลิตภัณฑ์ทั้ง AlpacaScan และ AlpacaAlgo ซึ่งสามารถช่วยในการตัดสินใจซื้อโดยการมอนิเตอร์ข้อมูลทางการเงิน และสร้างอัลกอรึทึ่มของคุณเอง ในญี่ปุ่นตลาดฟินเทคมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่ง Alpaca เป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาทางการเงินในประเทศ ที่ยังขาดความรู้ทางการเงิน
  1. BankBazaar (อินเดีย)
BankBazaar เป็นที่รวบรวมข้อมูลสำหรับการกู้ยืมเงิน, เครดิต การ์ด และประกันภัย ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากกว่า 30 พาร์ตเนอร์ โดยในอินเดียมีลูกค้าใช้บริการกว่า 5 ล้านคน และมีบริการอยู่ 1,336 เมือง อีกทั้ง ล่าสุดในปีนี้ BankBazaar มีการขยายตลาดออกมาตั้งสำนักงานสิงคโปร์ สำหรับ BankBazaar สามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับธุรกิจขนาดเล็กหรือบุคคลที่มีการปัญหาในการเข้าถึงบริการทางการเงิน
  1. Coins (ฟิลิปปินส์)
Coins ใช้เทคโนโลยี blockchain ในการส่งเงิน (สำหรับค่าใช้จ่าย), ชำระเงิน และ โมบาย เครดิต ซึ่งบริการ e-wallet ช่วยให้คนในฟิลิปปินส์และไทยถ่ายโอนและเก็บเงินในร้านค้าพาร์ทเนอร์ขนาดเล็ก เมื่อเร็วๆนี้ Coins ประกาศความร่วมมือกับ Stellar สนับสนุนเปิดระเบียบการทางการเงิน โดยจะอนุญาตให้ผู้ใช้ส่งเงินไปฟิลิปปินส์ผ่าน Stellar จากระบบ e-wallet ซึ่งอาจนำมาสู่การทำธุรกรรมทางการเงินที่มากขึ้นในฟิลิปปินส์
  1. Dianrong (จีน)
Dianrong ก่อตั้งในปี 2012 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ยืมเงินจากคอมมูนิตี้ที่สร้างขึ้นมา ในลักษณะ P2P โดยมีผู้ใช้งาน 300,000 คน และมีสำนักงานถึง 26 แห่งในจีน อย่างไรก็ตาม ตลาดสินเชื่อ P2P ในจีนอยู่ภายใต้โครงการ Ponzi ที่เกิดการทุจริต และมีข้อจำกัดต่างๆ ดังนั้น Dianrong ต้องสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ใช้ เพื่อเรียกคืนภาพของบริษัท P2P ที่ให้กู้ยืมเงินในประเทศ โดย Soul Htite CEO ของบริษัท หวังว่า Dianrong จะเป็นผู้นำภายในอีก 2 ปีข้างหน้า
  1. MC Payment (สิงคโปร์)
MC Payment ก่อตั้งในปี 2005 เป็นหนึ่งในบริษัทฟินเทคที่เก่าแก่ที่สุดในสิงคโปร์ โดยเริ่มต้นธุรกิจจากการทดลองพัฒนาการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ และยังได้สร้างแอพพลิเคชั่น ระบบ Point-of-Sales และ Non-cash Payment ล่าสุด MC Payment ได้ระดมทุนเดินหน้ารุกเข้าสู่เมืองไทย เพื่อขยายตลาด โดยนำบริการต่างๆเข้ามา ตลอดจนการมองหาโอกาสเข้าซื้อกิจการและการลงทุนอื่นๆด้วยเช่นกัน Anthony Koh CEO และผู่ก่อตั้ง MC Payment รู้สึกว่าการเริ่มต้นด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีศักยภาพ จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในระยะยาว
  1. Omise (ไทย)
Omise คือผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์ เริ่มก่อตั้งในปี 2013 ในลักษณะของบริษัทอีคอมเมิร์ซ แต่หลังจากพวกเขาต้องพบกับความล้มเหลวที่จะมองหาระบบการชำระเงินที่น่าพอใจ พวกเขาจึงปรับตัวเองออกไปจากระบบอีคอมเมิร์ซ โดยในเดือนกรกฎาคม Omise ได้ระดมทุนผ่าน series B ได้ถึง 17.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นหนึ่งครั้งที่ใหญ่ที่สุดใน series B สำหรับบริษัทฟินเทคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Mostview

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

6 วิธีสร้างแนวคิดอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจของคุณ แถมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

การยึดมั่นในเรื่องของความยั่งยืนไม่ได้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังส่งผลเชิงบวกให้กับแบรนด์อีกด้วย ดังนั้น เรามาดูกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่คนเป็นผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ ผ่านวิธีการเหล่านี้

SmartSME Line