วันศุกร์, พฤษภาคม 17, 2567

(ไทยแลนด์ 4.0 : EP.3 ) ขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำ

by Smart SME, 20 ธันวาคม 2559

แนวคิด Industry 4.0 เป็นการบูรณาการโลกของการผลิตเข้ากับการเชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบ Internet of Things (IoT) ซึ่งจะทําให้กระบวนการผลิตสินค้าเชื่อมกับเทคโนโลยีดิจิตอล หรือแม้กระทั่งทําให้ตัวสินค้าเองเชื่อมกับเทคโนโลยีดิจิตอล เช่น การมีระบบป้อนข้อมูลให้เครื่องจักรสามารถผลิตสิ่งของตามแต่การสั่ง (ออนไลน์) จากผู้บริโภคโดยตรง การใส่ตัวส่งข้อมูลในเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อประมวลสถิติการใช้และแจ้ง (โดยอัตโนมัติ) กลับไปยังโรงงานเมื่อเกิดปัญหาทางเทคนิค การใช้คอมพิวเตอร์จิ๋วกินได้ (ขนาดเท่ายาเม็ด) ให้ผู้บริโภคกลืนเข้าไปเพื่อเก็บข้อมูลสุขภาพในร่างกาย ฯลฯ Industry 4.0 ยังเป็นแนวคิดที่ใหม่มาก หลายอย่างยังอยู่ในช่วงทดลอง วิจัยและพัฒนา แต่ก็เป็นแนวคิดที่มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงในเกือบทุกวงการ ตั้งแต่แนวทางการบริโภคสินค้าของคนทั่วไป ไปจนถึงแนวทางการรักษาทางการแพทย์ การเปลี่ยนแปลงทางด้านหลักของ Industry 4.0 จะประกอบด้วยส่วนสําคัญ 2 ส่วน คือ
  • ด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเครื่องจักร ระบบอัตโนมัติ และระบบควบคุมต่าง ๆ
  • ด้านซอฟท์แวร์ (Software) คือ Internet of Things (IoT) และ Cyber-Physical Production Systems (CPPS) จะทําให้เกิดข้อมูลในระบบการผลิตขึ้นอย่างมหาศาล ซึ่งจําเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการ (Big data Analytics) เทคโนโลยีของ Industry 0 ส่วนใหญ่ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ เพียงแต่จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีอยู่และผสมผสานให้มีประสิทธิภาพ และสามารถตอบรับกับ Industry 4.0 ได้ เทคโนโลยีที่มีความสําคัญและมีบทบาทกับ Industry 4.0 มีองค์ประกอบ 9 ด้าน ดังนี้
  1. หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomous Robots) เพื่อช่วยในการผลิต
  2. การสร้างแบบจําลอง (Simulation) เช่น การพิมพ์แบบ 3 มิติเสมือนจริง
  3. การบูรณาการระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน (System Integration)
  4. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับสื่งของ (Internet of Things – IoT)
  5. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Cyber Security)
  6. การประมวลผลและเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ (Cloud Computing)
  7. การทําวัตถุ 3 มิติ ซึ่งจะใช้เทคโนโลยี 3D Printing และ Additive Manufacturing โดยเทคโนโลยีนี้เป็นกระบวนการทําวัตถุ 3 มิติ Additive Manufacturing เป็นการเพิ่มวัตถุดิบทีละชั้นเพื่อให้ได้ชิ้นงาน แทนวิธีการผลิตเดิมที่ใช้การสกัดวัตถุดิบจากภายนอกให้ออกมาเป็นชิ้นงาน ซึ่งวิธีการนี้จะทําให้ประหยัดวัตถุดิบได้มากกว่า เนื่องจากไม่มีวัตถุดิบที่เสียไป ส่วนเทคโนโลยี 3D Printing จะเป็นการผลิตตามคําสั่ง จึงไม่ต้องมีการเก็บสินค้าคงคลัง การทํางานของ Additive Manufacturing (AM) จะคล้ายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) ใช้การเติมวัตถุดิบเข้าไปหลอมเหลว วัตถุดิบที่ใช้เป็นวัตถุดิบแบบผง เช่น พลาสติก เซรามิกส์ โลหะ สแตนเลส ไทเทเนียม เป็นต้น เครื่องพิมพ์จะหลอมเหลววัตถุ และอาศัยการเชื่อมต่อกันของของเหลวแต่ละชั้นบาง ๆ เพื่อก่อขึ้นมาเป็นรูปตามคําสั่ง กระบวนการ 3D Printing จึงสามารถขึ้นงานที่มีความซับซ้อนและมีความถูกต้องสูง
  8. เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ที่ผสานโลกแห่งความเป็นจริงเข้ากับโลกเสมือนโดยผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ 3 มิติ เครื่องเล่นเกม สมาร์ทโฟน
  9. ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โลกในอนาคตจะเป็นโลกของข้อมูลขนาดใหญ่และซับซ้อนที่เชื่อมต่อกันหมดดังนั้น การบันทึกและการจัดเก็บ การค้นหา การแบ่งปัน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อที่จะนําไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ จะมีประโยชน์และความสําคัญมหาศาล เช่น ระบบจะสามารถตรวจพบการเสื่อมสภาพของเครื่องจักรที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยสายตาและแจ้งให้ทราบโดยอัตโนมัติ
คลิกอ่านหัวข้อที่เกี่ยวข้อง (ไทยแลนด์ 4.0 : EP.1 ) การปฏิวัติอุตสาหกรรมไทยจาก 1 ถึง 4 (ไทยแลนด์ 4.0 : EP.2 ) ผลักดันอุตสาหกรรม 5 กลุ่มสู่ New Startup (ไทยแลนด์ 4.0 : EP.4 ) ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารไม่ควรมองข้าม (ไทยแลนด์ 4.0 : EP.5 ) ผลกระทบ ความท้าทาย และความเสี่ยงในอนาคต

Mostview

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

SmartSME Line