วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2567

อุปสรรคธุรกิจออนไลน์ในตลาด AEC (อินโดฯกรณีศึกษาที่น่าเข้าลงทุน)

by Smart SME, 23 มกราคม 2560

Anchanto บริษัทซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซของสิงคโปร์ ที่ได้ทำงานร่วมกับบริษัทต่างๆในภูมิภาค โดยเฉพาะใน อินโดนีเซีย ให้ข้อมูลว่าการทำอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคแซงหน้าการทำอีคอมเมิร์ซเฉพาะภายในประเทศ แม้ว่าจะมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกรรมระหว่างประเทศก็ตาม Anchanto ประธานผู้บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง Vaibhav Dabhade บอกถึงปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนให้อีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาค AEC นั้นมาจากบริษัทโลจิสติกส์และผู้ประกอบการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ได้ให้บริการในราคาไม่สูงมาก รวมถึงการสื่อสารและการส่งเสริมในการให้บริการ แต่ขณะเดียวกันแต่ละประเทศก็ยังมีต้นทุนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง ภาษีศุลกากร และการจัดเก็บภาษี และความล่าช้าของภาครัฐเป็นเหตุผลที่ทำให้การเติบโตของอีคอมเมิร์ซในประเทศมีข้อจำกัดในบางพื้นที่ (บริษัทโลจิสติกส์ทุกประเทศมีวิธีการและใช้ระยะเวลานานในการต่อรองกับระบบราชการ เช่น ประเทศอินเดียและอินโดนีเซีย เนื่องจากกฎระเบียบมีจำนวนมากและไม่ชัดเจน กฎหมายอีคอมเมิร์ซในอินเดียห้ามบริษัทต่างประเทศขายสินค้าโดยตรงให้กับผู้บริโภค และต้องทำการซื้อขายโดยบริษัทอินเดีย) ใน AEC ไม่มีขั้นตอนการซื้อขายร่วมอย่างเป็นทางการ ทุกประเทศมีแนวโน้มที่จะยึดติดกับขั้นตอนซื้อขายปกติของแต่ละประเทศ แต่ในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย กฎระเบียบใหม่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมระหว่างพรมแดน โดยการซื้อขายระหว่างประเทศที่ต่ำกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯจะปลอดภาษี ซึ่งจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ Zaldy Masita รองประธานด้านการวางแผนและพัฒนาธุรกิจของ JNE Express (บริษัทโลจิสติกส์ของอินโดนีเซีย) กล่าวว่าการเติบโตของอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนเป็นประโยชน์อย่างมากกับ SMEsของอินโดนีเซีย โดยหวังว่า platform ซื้อขายระหว่างประเทศที่เข้ามาดำเนินการในอินโดนีเซีย อย่างเช่น Lazada, Bukalapak ฯลฯ  จะช่วยผลักดันการเติบโตของตลาด นั่นเพราะนโยบายของอินโดนีเซียที่ทำได้แล้วคือการจัดส่งฟรี โดยให้ Platform อย่างเช่น Lazada, Bukalapak ฯลฯ เป็นผู้รับผิดขอบค่าจัดส่งสินค้า และบริษัทโลจิสติกส์อย่าง JNE ก็ไม่สามารถขึ้นค่าจัดส่งกับคู่ค้าได้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของไทย เห็นว่าตลาดอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซียเป็นตลาดที่มีศักยภาพมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียหันมาใช้บริการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น เนื่องมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลางและสมาร์ทโฟนราคาถูก ทั้งการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซียยังส่งผลกระทบเชิงบวกให้กับธุรกิจโลจิสติกส์ และผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศ แต่ก็ยังคงมีกฏระเบียบและระบบราชการที่ล่าช้า ส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้า ตลาดอีคอมเมิร์ซในอินโดนีเซียส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมมาจากบริษัท

Mostview

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

พาชมงาน MONEY EXPO 2024 โซน Franchise SMEs มีธุรกิจอะไรน่าลงทุน

เริ่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับงาน MONEY EXPO 2024 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยภายงานในงานได้มีสถาบันทางการเงินที่นำบริการสินเชื่อต่าง ๆ มานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจมองหาแหล่งทุนสำหรับนำไปใช้ในเรื่องต่าง

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

SmartSME Line