วันศุกร์, เมษายน 26, 2567

“ แรงงานนอกระบบ ” ประกันสังคมคุ้มครองแค่ไหน ?

by Smart SME, 19 เมษายน 2560

คุณแอน วรรณประทีป นักกฎหมายธุรกิจ และหุ้นส่วน บริษัท แอดลอว์ แอนด์ แอสโซซิเอท จำกัด  กล่าวว่า “ แรงงานนอกระบบ ” คือ แรงงานที่ทำงานอิสระ ยกตัวอย่างเช่น เกษตรกร ช่างตัดผม ช่างเสริมสวย ร้านขายของชำ เป็นต้น แรงงานนอกระบบได้รับการคุ้มครองสิทธิประกันสังคมไม่ครอบคลุมเท่ากับแรงงานในระบบ เพราะตามหลักแล้วแรงงานนอกระบบต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 หมายถึง บุคคลที่มิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 เรียกว่า “ ผู้ประกันตนโดยอิสระ ” ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้ 1. เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วันต่อปี เงื่อนไขจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) 2. เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 - 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี เงื่อนไข เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนขึ้นไป (ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการ แพทย์) 3. ค่าทำศพ (เสียชีวิต) จะได้รับค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทต่อราย เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน 4. เงินบำเหน็จชราภาพผู้ประกันตนสามารถรับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เงื่อนไข มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ล่าสุด กระทรวงแรงงานได้มีการปรับขยายสิทธิประโยชน์ประกันสังคมตามมาตรา 40 เพิ่มเงินชดเชยการขาดรายได้จากวันละ 200 บาท เป็น 300 บาท และปรับเพิ่มเงินชดเชยการเสียชีวิตจาก 20000 บาท เป็น 40000 บาท โดยทราบผลอนุมัติวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 นี้ อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมเหมาะสมในการสมัครเป็นแรงงานนอกระบบ เพื่อประโยชน์ต่อสิทธิมนุษย์ชนคนไทยที่พึงได้รับจากรัฐบาล
Tag :

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

SmartSME Line