วันศุกร์, เมษายน 26, 2567

9 เคล็ดลับการทำธุรกิจที่ ลดหย่อนภาษี มากที่สุด

by Smart SME, 4 สิงหาคม 2561

เรื่องของ “ภาษี” ถือเป็นหน้าที่ของทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ก็ต้องเสียภาษีกันทั้งนั้นไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใดก็ตาม เชื่อว่าหลายคนที่ทำธุรกิจมองว่าการเสียภาษีจะทำให้ผลกำไรที่ได้ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงอยากจะขอนำเสนอเคล็ดไม่ลับการทำธุรกิจแบบ ลดหย่อนภาษี ได้ไว้เป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการ SME

1.การบริหารจัดการบัญชีอย่างเหมาะสม

ต้องมีการจัดทำบัญชีให้ครบทุกเรื่องในรายรับรายจ่ายทั้งหมด อย่ามองข้ามการทำต้นทุนแฝงในการทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็น ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี ค่าใช้จ่ายในการบริหารต่างๆ เพื่อประหยัดภาษี ซึ่งในบางครั้งค่าใช้จ่ายในบริหารส่วนนี้อาจสูงกว่าภาษีที่จะประหยัดก็เป็นได้ ฉะนั้นการทำบัญชีให้ชัดเจนและรับรองโดยผู้สอบบัญชี พร้อมนำส่งภาษีถือเป็นเรื่องจำเป็น

2.ปรึกษานักบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญ

การลดภาษีสำหรับ SME มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งตัวผู้ประกอบการเองอาจจะไม่รู้ทั้งหมดเท่ากับนักบัญชีที่คร่ำหวอดอยู่ในเรื่องราวของภาษีธุรกิจมานาน หากเลือกปรึกษานักบัญชีที่มีประสบการณ์ และเชี่ยวชาญ เราอาจมองเห็นวิธีการช่วย “ผ่อนหนักเป็นเบา” อย่างที่เราคาดไม่ถึง

3.จัดตั้งประเภทธุรกิจให้ชัดเจน (ที่สุด)

การเลือกจัดตั้งธุรกิจสำหรับ SME นั้น จะต้องระบุให้ชัดเจนว่า เราจะทำธุรกิจแบบไหน เพราะหากเราระบุไม่ชัดเจนจะทำให้การจัดเก็บภาษีคลุมเครือไปด้วย และการพิจารณาเก็บภาษีอาจเกิดการตีความไม่ตรงตามธุรกิจ ทำให้อาจเสียภาษีมากกว่าที่ควร ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนให้ตรงรูปแบบธุรกิจ

4.ผู้ประกอบการต้องเลือกรูปแบบการหักภาษีให้ถูกต้อง

ปกติการเลือกรูปแบบการหักภาษีสำหรับธุรกิจทางกรมสรรพากรจะมีให้เลือกสองแบบ คือ การหักตามความเป็นจริง และหักแบบเหมาจ่าย สำหรับการหักตามความเป็นจริงมีความซับซ้อนกว่าเนื่องจากต้องเก็บรายละเอียดให้ครบถ้วน แต่ก็สามารถหักลดหย่อนในเรื่องเล็กน้อยจำนวนมาก แต่ในส่วนของการหักแบบเหมาจ่ายก็จะสะดวกกว่าไม่ต้องเก็บบิลยิบย่อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธุรกิจของผู้ประกอบการเอง

5.ใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษี

ผู้ประกอบการหลายคนอาจไม่รู้ว่าบางอย่างสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์สำนักงาน ยานพาหนะ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หากเรายอมสละเวลาสักเล็กน้อยเพื่อศึกษาสิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากพอสมควร

6.หักค่าใช้จ่ายภาษีได้จากการลงทุน

บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลบางประเภทสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ด้วยการลงทุน หรือซื้อหน่วยลงทุนต่างๆ เช่น บุคคลธรรมดาก็สามารถซื้อหน่วยลงทุนประเภท LTF หรือ RMF มาหักลดหย่อนภาษีได้ หากศึกษามากพอจะพบช่องทางประหยัดค่าใช้จ่ายได้หลายทางสำหรับบุคคลธรรมดาสามารถนำหน่วยลงทุนมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายรับประจำปี

7.ซื้อประกันลดหย่อนภาษีได้

หากผู้ประกอบการซื้อประกันในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิต ประกันอุบัติภัย โดยนำมาทำเป็นสวัสดิการให้กับพนักงาน สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร โดยประกันบางประเภทสามารถนำมาหักลดหย่อนได้ถึง 100% นอกจากนี้ในส่วนของประกันภัยไม่ว่าจะเป็น ประกันวินาศภัย ประกันอัคคีภัย ประกันภัยพิบัติ ฯลฯ ผู้ประกอบการสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการดำเนินงาน และนำมาลดหย่อนภาษีได้

8.ซื้อกิจการอื่นเทคโอเวอร์กิจการที่น่าสนใจ

การซื้อกิจการอื่น หรือการเทคโอเวอร์กิจการที่น่าสนใจเอามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจการของเรา ผลจากการซื้อกิจการอื่นจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายตามมา นำมาหักลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งผู้ประกอบการจะได้ถึง 2 ต่อ ทั้งกิจการใหม่ พร้อมทั้งการลดหย่อนภาษีไปในตัว

9.ศึกษาแนวทางการลดหย่อนภาษีอยู่เสมอ

เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม การศึกษาเรื่องภาษีอยู่ตลอดเวลาติดตามข่าวสารภาษี จะให้ทราบถึงช่องทางการลดหย่อนภาษ๊มากขึ้น เพราะทางกรมสรรพากรมักจะมีมาตรการลดหย่อนภาษีต่างๆ ออกมาเป็นประจำหากผู้ประกอบการไม่ได้ศึกษาเอาไว้เท่ากับเราเสียสิทธิ์ไปโดยเปล่าประโยชน์ Business Tips อื่นๆ คลิก 


Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

SmartSME Line