วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2567

Startup ต้องทำอย่างไร เมื่อยักษ์ใหญ่ร่วมวงทำธุรกิจจัดส่งอาหารเดลิเวอรี่

by Smart SME, 23 กรกฎาคม 2561

ธุรกิจบริการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ กำลังเป็นที่นิยมในทวีปเอเชีย รวมถึงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก จากกระแสที่ได้รับความสนใจ ทำให้ธุรกิจยักษ์ใหญ่หลายรายกระโดดเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจประเภทนี้ เห็นได้จาก Alibaba ที่ทุ่มเงินเข้าซื้อธุรกิจ Startup บริการจัดส่งอาหารอย่าง Ele.me ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เลยทีเดียว นอกจากนี้ Didi Chuxing แอปพลิเคชันผู้ให้บริการแท็กซี่รายใหญ่ของจีนก็ประกาศตัวร่วมวงให้บริการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่เช่นเดียวกัน อีกทั้ง เราต้องไม่ลืมว่ายังมีธุรกิจหน้าเก่าที่ให้บริการมาก่อนหน้านี้อย่าง Grab, Foodpanda ซึ่งในปัจจุบันก็ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้บริโภคมักเรียกใช้บริการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ และคาดการณ์ไว้เลยว่าต่อไปธุรกิจประเภทนี้จะมีการแข่งขันที่ดุเดือดต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน ดังนั้น เหล่า Startup ที่มีความสนใจ อยากทำธุรกิจประเภทนี้ต้องมีการเตรียมตัว หรือวางแนวทางการทำงานให้ประสบความสำเร็จ เอาชนะใจผู้บริโภค เรามาหาคำตอบจากปากของผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจ Startup ด้านการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ กันครับว่าจะมีวิธีการอย่างไร Mr. Jianggan Li ผู้ก่อตั้ง Momentum Works และอดีตผู้จัดการ Foodpanda กล่าวว่า รูปแบบธุรกิจการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้บริโภค หากคุณสามารถทำให้ตัวเองกลายเป็นผู้เล่นที่มีความโดดเด่น คุณก็จะสามารถควบคุม รู้ถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าในแต่ละวันได้ และนี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ Alibaba และ Tencent ทุ่มเงินกว่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วมในตลาดแห่งนี้ เช่นเดียวกับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เราเห็น Go-Jek เข้ามาควบคุมการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ในกรุงจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งการเข้ามาดังกล่าวช่วยกระตุ้นให้ผู้คนใช้จ่ายเงินผ่านช่องทาง GoPay มากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่สนใจอยากทำธุรกิจ Startup ด้านการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ให้ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับ Value Chain หากแพลตฟอร์มมีบริการครอบคลุมครบวงจร ก็จะช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า อีกทั้งยังเป็นการดึงดูดนักลงทุน และบริษัทให้บริการทางอินเทอร์เน็ต ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ดังนั้น การบริหารโดยใช้ทรัพยากรเบื้องต้นที่มีอย่างจำกัด ให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ตัวอย่างในเรื่องนี้ที่เห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา คือ Foodpanda ที่บริหารงาน ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สามารถลดต้นทุนการจัดส่งได้ ด้าน Grace Yun Xia ประธาน Jungle Ventures กล่าวว่า ธุรกิจการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่จำเป็นต้องมีแอปพลิเคชัน เพราะเป็นธุรกิจที่มีโมเดลธุรกิจแบบ O2O หรือ Online to Offline คือ การผสานธุรกิจจากออนไลน์ไปยังออฟไลน์ ซึ่งการมีแอปพลิเคชันจะช่วยให้การสั่งซื้ออาหารของผู้บริโภคเป็นไปอย่างรวดเร็ว และจะช่วยนำธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้ โดยแอปพลิเคชันที่ใช้ในการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ คือระบบการจัดส่งที่ทำหน้าที่ตั้งแต่ต้นจนจบ เห็นได้จากแอปพลิเคชัน Pure food delivery ที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดส่งอาหาร, ระบบโลจิสติกส์ และร้านอาหาร ดังนั้น ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ของเหล่า Startup ที่จะเริ่มต้นการทำธุรกิจจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ควรมีดังต่อไปนี้
  • กระบวนการทำงานต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหากเป็น Startup ที่เพิ่งเริ่มต้นด้วยแล้วจำเป็นต้องมีทีมขายที่เดินทางไปเสนองานตามร้านอาหาร เพื่อให้ได้ลูกค้ามากที่สุด
  • การให้บริการต้องมีคุณภาพ ทั้งในเรื่องคุณภาพของอาหาร, สร้างประสบการณ์ให้กับผู้ใช้ และบริการจัดส่งอาหารที่มีความรวดเร็ว ตรงต่อเวลา
  • Startup จำเป็นต้องมีเงินทุนที่มากพอในระดับหนึ่ง เพื่อพร้อมรับมือกับสงครามด้านโปรโมชั่นจากคู่แข่ง
  • จังหวะการเข้าสู่ตลาดต้องเหมาะสม และควรสร้างแบรนด์ให้มีความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญ
  • สร้างความแตกต่างด้วยบริการเสริม รวมถึงมีฐานข้อมูลของลูกค้าที่มาใช้บริการ
  • รู้เอกลักษณ์ของแต่ละประเทศที่จะนำสินค้าเข้าไปให้บริการ
ส่วน Mr. Justin Hall ประธาน Golden Gate Ventures กล่าวว่า ในปัจจุบัน ยังมีผู้ครองตลาดในการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่มากนัก แต่ในอนาคตตนเชื่อว่าจะเห็นการควบรวมกิจการระหว่างกัน และจะมีผู้เล่นหน้าใหม่ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Grab และ Go-Jek ที่พร้อมเข้ามามีบทบาทในการแข่งขัน แย่งส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ และต่อไปผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเคลื่อนที่ไปสู่รูปแบบแพลตฟอร์มแบบศูนย์รวมเหมือนกับในจีน
สำหรับ ผู้ที่มีความสนใจอยากจะทำธุรกิจการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ จำเป็นต้องมีบริษัทโลจิสติกส์ และร้านอาหาร ซึ่งการสร้างบริการให้มีคุณภาพไม่ยากเท่ากับการสร้างแพลตฟอร์มที่สามารถจัดเตรียมส่งอาหารได้ในจำนวนมากๆ ได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด
ที่มา : techinasia  

Mostview

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

พาชมงาน MONEY EXPO 2024 โซน Franchise SMEs มีธุรกิจอะไรน่าลงทุน

เริ่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับงาน MONEY EXPO 2024 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยภายงานในงานได้มีสถาบันทางการเงินที่นำบริการสินเชื่อต่าง ๆ มานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจมองหาแหล่งทุนสำหรับนำไปใช้ในเรื่องต่าง

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

SmartSME Line