วันพุธ, พฤษภาคม 1, 2567

รับมือยังไง เมื่อธุรกิจเสี่ยงเจ๊ง

by Phawanthaksa, 28 ธันวาคม 2561

ในการทำธุรกิจ อาจมีบางครั้งที่ SMEs ต้องรับมือกับความเสี่ยงทางธุรกิจที่สามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่างๆ หรือจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การรับมือกับความเสี่ยงเหล่านั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวด้านต่างๆ เช่น ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์มีมาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า การขยายธุรกิจไปสู่ตลาดและกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ

นอกจากนี้ ปัจจัยความเสี่ยงทางด้านการเงินและการลงทุนก็มีความสำคัญ เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกันของตลาดการเงินทั่วโลกหรือ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ย ทำให้เกิดผลกระทบทางด้านการเงินและสภาพคล่องในธุรกิจได้

ขณะเดียวกัน สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะตลาดสินค้า บริการและตลาดการเงิน ก็อาจจะเกิดผลกระทบอย่างรวดเร็วจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ย และ ราคาของสินค้าหรือวัตถุดิบ ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจในด้านต่างๆ

มาดูว่าความเสี่ยงและสถานะ (Risk VS Exposure) มีความเกี่ยวข้องกับ การบริหารความเสี่ยงอย่างไร?

สถานะ(Exposure) ที่เกี่ยวข้องกับตลาดการเงินมักจะกระทบต่อกิจการส่วนใหญ่ทั้งทางตรงหรือในทางอ้อม เมื่อกิจการมีสถานะในตลาดการเงิน ก็จะมีความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียหรือขาดทุน แต่ก็มีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนหรือกำไรด้วย

ความเสี่ยง (Risk) คือ เรื่องของความน่าจะเป็นที่จะสูญเสียหรือขาดทุน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กร เช่น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาการเมือง หรือภัยธรรมชาติ หรือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย

แหล่งที่มาของความเสี่ยงทางการเงิน

  • ความเสี่ยงทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากสถานะของกิจการ
  • ความเสี่ยงทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากการกระทำของกิจการอื่น
  • ความเสี่ยงทางการเงินที่เป็นผลจากการกระทำภายในองค์กร

ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงทางการเงินของกิจการ ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานและผลของผลิตภัณฑ์ป้องกันความเสี่ยงแต่ละอย่าง และต้องคำนวณผลที่คาดว่าเกิด ข้อดีข้อเสี่ยงของแต่ละผลิตภัณฑ์ได้ เทียบเคียงผลที่คำนวณได้ กับเกณฑ์ความเสี่ยงที่ยินยอมให้เบี่ยงเบนได้


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

คู่รักนักธุรกิจอินเดียบริจาคทรัพย์สิน 890 ล้านบาท พร้อมออกบวชเข้าสู่เส้นทางศาสนา

คู่รักชาวอินเดียผู้มั่งคั่งจากรัฐคุชราตได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านรูปี (ประมาณ 890 ล้านบาท) เพื่อบวชเป็นพระ หลังได้รับแรงบันดาลใจจากการบวชของลูกชาย และลูกสาว

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line