วันอังคาร, เมษายน 30, 2567

เส้นการเข้าตลาดต่างประเทศ

by Smart SME, 9 มีนาคม 2558

         ท่ามกลางภาวะการแข่งขันด้านการตลาดสูง ผุ้ประกอบการมีคู่ต่อสู้มากขึ้น ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ธุรกิจน้อยใหญ่ ต่างเข้าแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดมากมาย และธุรกิจที่มีศักยภาพมากเพียงพอจึงต้องหาช่องทางในการตลาดใหม่ ๆ 
และเพื่อเปิดโอกาสในตนเองและช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุด ช่องทางดังกล่าวคงหนีไม่พ้นการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ซึ่งมีหลายเส้นทางคือ
  • การส่งออกทางอ้อม 
         เป็นการขยายตลาดโดยผ่านพ่อค้าคนกลางที่อยู่ในประเทศที่ต้องการส่งออก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุน ทรัพยากรด้านบุคคล และผู้เป็นพ่อค้าคนกลางยังเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจในลักษณะทางการตลาด และพฤติกรรมมากกว่า เนื่องจากเป็นคนในพื้นที่โดยตรง แต่ผู้ประกอบการจะไม่มีอำนาจควบคุมแผนการตลาดของพ่อค้าคนกลางขายได้
  • การส่งออกทางตรง
         เป็นวิธีที่ผู้ประกอบการต้องมีแผนกการขายอยู่ในต่างประเทศ โดยแผนกการขายต้องทำการหาลูกค้าภายในประเทศส่งออก หรือเรียกว่าตัวแทนการขายสินค้า วิธีนี้ผู้ประกอบการต้องแบกรับความเสี่ยงสูง แต่ผู้ประกอบการสามารถควบคุมแผนการตลาดให้เป็นไปตามนโยบายได้ 
  • การให้ใบอนุญาต 
         การขยายธูรกิจในลักษณะนี้ผู้ประกอบการต้องทำสัญญาใบอนุญาติให้ โรงงานอื่นในประเทศที่ต้องการส่งออก สามารถผลิตสินค้าภายใต้ตราสินค้า และมีสิทธิบัตร เช่นกันทุกประการ โดยผู้ประกอบการจะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบสัมปทาน การให้ใบอนุญาตินี้มีข้อดีคือลดความเสี่ยงของธุรกิจ และหากธุรกิจประสบความสำเร็จเมื่อหมดสัญญาแล้วผู้ประกอบการสามารเข้าไปลงทุนทำเองต่อได้ 
  • แฟรนไชส์ 
         เป็นการให้สิทธิและส่วนการครอบครองการบริหารจัดการและการจัดจำหน่ายทั้งหมดในมือของผู้ที่ได้รับกรรมสิทธิ์โดยชอบธรรม แต่ผู้ได้รับอนุญาติจะไม่มีสิทธิในการเปลี่ยนแปลง ปรุบปรุง หรือแก้ไขใด ๆ เลย และหากธุรกิจประสบความสำเร็จเมื่อหมดสัญญาแล้วผู้ประกอบการสามารเข้าไปลงทุนทำเองต่อได้ เช่นเดียวกับการให้ใบอนุญาต
  • การจ้างผลิต 
         การขยายธุรกิจรูปแบบการจ้างผลิต สามารถลดต้นทุนการนำเข้าสินค้า ลดความเสี่ยงของอัตราการแลกเปลี่ยน และลดการกีดกันทางในการนำเข้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นการลงทุนในราคาที่ไม่สูง เป็นช่งทางที่น่าสนมากทีเดียว แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงคุณภาพและกระบวนการในการผลิตตามความตกลงในสัญญาเป็นสำคัญ
  • การร่วมลงทุน
          เป็นการลงทุนกับธุรกิจคู่ค้าเจ้าถิ่นในต่างประเทศ ซึ่งอยู่ในลักษณะการถือหุ้น ทั้งนี้การลงทุนประเภทนี้จะได้ธุรกิจที่ทราบพฤติกรรมผู้บริโภค และเข้าใจธรรมชาติทางการตลาดของประเทศนั้น ๆ แต่ผู้ประกอบการอาจไม่สามารถควบคุมนโยบายทางการตลาดได้ทั้งหมด เนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นร่วมเท่านั้น นอกจากธุรกิจดังกล่าวจะมีแนวทางนโยบายไปทางเดียวกันกับผู้ประกอบการ
  • การซื้อกิจการ 
         ในการซื้อกิจการเป็นการขยายธุรกิจที่ผู้ประกอบการ จะสามารถเข้าไปควบคุมกิจการที่ถูกซื้อและทรัพยากรทั้งหมด ทั้งในด้านโรงงาน โครงสร้างการจัดจำหน่าย ตราสินค้า และบุคลากร แต่วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และมีความเสี่ยงในการควบคุมองกรค์ เนื่องจากการซื้อกิจการ คือต้องเข้าไปควบคุมบุคลากรเดิม ในองกรค์ที่มีอยู่แล้ว อาจเป็นปัญหาในการปรับตัวเข้ากัน
  • การลงทุนโดยตรง
          การเข้าไปลงทุนเองโดยตรงต้องใช้เงินในการลงทุนสูงมาก อีกทั้งมีความเสี่ยงเพราะเป็นการเข้าไปเปิดตลาดใหม่ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในด้านพื้นที่ วัฒนธรรม การเมือง สังคม  และศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคมากพอสมควร อีกทั้งการเงินต้องมีสภาพคล่องสูงมาก เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจต่อไป
 
 

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line