วันอังคาร, พฤษภาคม 21, 2567

“นายจ้าง” ส่งเงินสมทบผ่านระบบ e-Payment ไม่เสียเวลา - ไม่ยุ่งยาก - ไม่ต้องรอคิวนาน

by Smart SME, 24 ธันวาคม 2558

พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา มีสาระสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการเบิกค่าคลอดบุตรไม่จำกัดจำนวนครั้ง การเบิกเงินสงเคราะห์บุตรอายุ 0-6 ปี เดือนละ 400 บาท/คน/เดือน จากคราวละไม่เกิน 2 คน เป็นคราวละไม่เกิน 3 คน หรือการปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์กรณีตายให้กับทายาทหรือผู้มีสิทธิจากเดิมได้รับสูงสุด 5 เดือน ปรับเพิ่มเป็นสูงสุด 6 เดือน เป็นต้น

นอกจากผู้ประกันตนที่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายประกันสังคมฉบับใหม่นี้แล้ว กฎหมายฉบับนี้ยังได้เปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาการนำส่งเงินสมทบของ “นายจ้าง” และมีโทษปรับร้อยละ 2 ต่อเดือนกรณีนายจ้างชำระเงินสมทบล่าช้า อีกด้วย โดยกฎหมายใหม่กำหนดให้ “นายจ้าง” ต้องชำระเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และหากนายจ้างไม่ส่งแบบแสดงรายการนำส่งเงินสมทบ (สปส. 1-10) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย

สำหรับเงินสมทบงวดค่าจ้างเดือนพฤศจิกายน 2558 ต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2558 แต่ถ้าหากนำส่งเงินสมทบเกินจากวันที่กำหนดจะต้องชำระเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน

ฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมา ทุกๆ วันที่ 15 ของเดือน นายจ้างหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้างจะมายื่นส่งเงินสมทบพร้อมกับส่งแบบแสดงรายการนำส่งเงินสมทบจนแน่นสำนักงานประกันสังคมพื้นที่/ สาขา  หลายแห่งคิวยาวออกไปจนล้นสำนักงาน บางแห่งต้องให้บริการหลังเวลา 16.30 น. อีกด้วย

อย่างไรก็ดี สำนักงานประกันสังคม มีช่องทางอำนวยความสะดวกแก่นายจ้างผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ได้แก่ งานขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) การแจ้งเข้าทำงาน (สปส.1-03/1) การแจ้งลาออก (สปส.6-09) การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10) และการส่งข้อมูลเงินสมทบ (สปส.1-10) ซึ่งเมื่อนายจ้างทำการลงทะเบียนผ่านระบบเรียบร้อยแล้ว จะได้รับ USER และ PASSWORD สามารถเข้าใช้บริการได้ทันที

กรณีนายจ้างชำระเงินสมทบผ่านการหักบัญชีธนาคาร e-Payment นายจ้างสามารถชำระเงินสมทบ โดยตัดบัญชีเงินฝากธนาคารของสถานประกอบการเข้าบัญชีเงินฝากของสำนักงานประกันสังคม โดยมีธนาคารให้บริการ 7 แห่ง ได้แก่

- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารมิซูโฮ คอร์ปอเรต จำกัด
- ธนาคาร ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น และ
- ธนาคารซิตี้แบงก์

สำหรับขั้นตอนการชำระเงิน คือ นายจ้างดำเนินการติดต่อลงทะเบียนเพื่อนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านอิเล็กทรอนิกส์ทาง www.sso.go.th พร้อมเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารและสมัครชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์กับธนาคารที่ให้บริการ และเมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ธนาคารจะออกใบเสร็จรับเงินส่งให้นายจ้างทางไปรษณีย์

นอกจากนี้ นายจ้างสามารถเลือกชำระเงินสมทบโดยผ่านเคาท์เตอร์ธนาคารได้เช่นกัน ได้แก่

- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และ
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

การชำระเงินสมทบผ่านช่องทางทั้ง 3 ธนาคาร ไม่เสียค่าธรรมเนียมการชำระเงิน พร้อมรับใบเสร็จทันที

นายจ้างทุกท่านสามารถดูรายละเอียดแนวปฏิบัติการนำส่งเงินสมทบได้ที่ http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/notice020958.pdf

และตรวจสอบช่องทางการชำระเงินสมทบได้ที่ http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/Mony1(1).pdf

หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติม โทร.สายด่วน 1506 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือ www.sso.go.th


Mostview

พาชมงาน MONEY EXPO 2024 โซน Franchise SMEs มีธุรกิจอะไรน่าลงทุน

เริ่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับงาน MONEY EXPO 2024 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยภายงานในงานได้มีสถาบันทางการเงินที่นำบริการสินเชื่อต่าง ๆ มานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจมองหาแหล่งทุนสำหรับนำไปใช้ในเรื่องต่าง

6 วิธีสร้างแนวคิดอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจของคุณ แถมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

การยึดมั่นในเรื่องของความยั่งยืนไม่ได้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังส่งผลเชิงบวกให้กับแบรนด์อีกด้วย ดังนั้น เรามาดูกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่คนเป็นผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ ผ่านวิธีการเหล่านี้

SmartSME Line