วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2567

เจาะพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนจีน เมื่อนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่เริ่มเปลี่ยน

by thaksuthee, 12 มีนาคม 2562

คนจีนรุ่นใหม่เริ่มนิยมเที่ยวแบบหาประสบการณ์แปลกใหม่

ผลสำรวจเดียวกันจาก McKinsey ยังชี้ให้เห็นอีกว่า คนจีนอายุระหว่าง 20-34 ปี นิยมเลือกจุดหมายปลายทาง จองที่พัก และตั๋วเครื่องบินด้วยตนเอง แต่จะเสาะหากิจกรรมหรือแหล่งท่องเที่ยวที่แปลกใหม่ในจุดหมายปลายทางนั้นผ่านสื่อออนไลน์ จากนั้นจึงจ้างไกด์ท้องถิ่นเพื่อให้นำเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวที่ตนเองสนใจแบบเจาะลึกควบคู่กับการช่วยแก้ปัญหาด้านการสื่อสารเนื่องจากคนจีนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว หรืออาจเลือกซื้อแพ็กเกจทัวร์ที่ตนเองสนใจจากบริษัททัวร์ท้องถิ่นเพื่อหาแหล่งท่องเที่ยวที่แปลกใหม่มากขึ้นได้เช่นกัน

คนจีนวัยกลางคนเที่ยวเป็นกลุ่มเล็กมากขึ้น

ผลสำรวจของ McKinsey เปิดเผยว่า กลุ่มคนจีนอายุ 35 ปีขึ้นไปเริ่มสนใจการท่องเที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์ที่สามารถออกแบบได้ด้วยตนเอง (Private & customized tour) ซึ่งมักจะมีลักษณะที่เฉพาะเจาะจงมาก เช่น ทัวร์ท่องเที่ยวขั้วโลกเหนือ ทัวร์ปีนเขาเอเวอเรสต์ ทัวร์ซาฟารีในแอฟริกา ทัวร์ที่เน้นทานอาหารมื้อหรูในร้านระดับ Michelin Star และชิมไวน์ที่มีชื่อเสียง ทัวร์เจาะลึกด้านสถาปัตยกรรม ฯลฯ

กรุ๊ปทัวร์ลักษณะนี้มักเกิดจากความต้องการท่องเที่ยวเฉพาะในกลุ่มเพื่อนฝูงหรือครอบครัว ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่อกรุ๊ปไม่มากนักและมีราคาสูง ทั้งนี้ สถิติของ Ctrip ระบุว่า แพ็กเกจทัวร์ที่ลูกค้าออกแบบ และปรับแต่งผ่านบริการของ Ctrip จะมีราคาสูงกว่าราคากรุ๊ปทัวร์รูปแบบทั่วไปอย่างน้อย 23% และถือเป็นตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในจีน ตรงข้ามกับตลาดกรุ๊ปทัวร์ทั่วไปที่กำลังหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง

นับตั้งแต่ที่รัฐบาลจีนอนุญาตให้ประชาชนสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศได้อย่างอิสระในปี 2011 ส่งผลให้จำนวนทริปที่คนจีนเดินทางออกไปยังต่างประเทศ (ไม่รวมฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน) ในปี 2018 เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 3 เท่าตัวหรือจากราว 24 ล้านทริปในปี 2011 เป็น 69 ล้านทริป ณ สิ้นปี 2018

ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีบริษัทนำเที่ยวและมัคคุเทศก์อิสระจำนวนมากที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในลักษณะนี้ รวมถึงมีธุรกิจ Startup หลายรายที่สร้างแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อแพ็กแกจกิจกรรมที่ตนเองสนใจจากคนในชุมชนท้องถิ่นได้โดยตรง เช่น LocalAlike, TakeMeTour หรือ Airbnb Experience ซึ่งถือเป็นช่องทางที่ช่วยกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวไปยังชุมชนท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง
แนะภาคท่องเที่ยวไทยปรับตัว

– บริษัทนำเที่ยวขนาดใหญ่ อาจปรับเปลี่ยนหรือขยายรูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่ โดยการนำเสนอกิจกรรมหรือแหล่งท่องเที่ยวที่แปลกใหม่และน่าสนใจในแพ็กเกจทัวร์ ซึ่งอาจเน้นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่ชื่นชอบ เช่น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร การเดินชมตลาดและวิถีชีวิต รวมถึงการได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนท้องถิ่น เป็นต้น

– ธุรกิจที่พึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวกรุ๊ปทัวร์ขนาดใหญ่ อาจขยายฐานลูกค้าและกระจายความเสี่ยงไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่ที่นิยมหาข้อมูล และวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตนเองผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งต้องใช้วิธีการทำการตลาดที่ต่างออกไปจากเดิมเพื่อให้เข้าถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ เช่น การโปรโมทสินค้าหรือแหล่งท่องเที่ยวผ่าน Influencer หรือ blogger ที่มีชื่อเสียงในกลุ่มวัยรุ่นชาวจีน การฉายคลิปโฆษณาผ่านแพลตฟอร์ม การแชร์วิดีโอออนไลน์ของจีน เป็นต้น


– ชุมชนท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่น่าสนใจก็สามารถสร้างธุรกิจจากจุดเด่นของตนเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว และรับประโยชน์จากกระแสการเปลี่ยนพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนจีนได้เช่นกัน

 


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

คู่รักนักธุรกิจอินเดียบริจาคทรัพย์สิน 890 ล้านบาท พร้อมออกบวชเข้าสู่เส้นทางศาสนา

คู่รักชาวอินเดียผู้มั่งคั่งจากรัฐคุชราตได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านรูปี (ประมาณ 890 ล้านบาท) เพื่อบวชเป็นพระ หลังได้รับแรงบันดาลใจจากการบวชของลูกชาย และลูกสาว

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line