วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2567

แฟมิลี่มาร์ท ชูโมเดลร้านสะดวกซื้อเจ้าแรกที่งดให้ถุงพลาสติกในทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

by Smart SME, 14 สิงหาคม 2562

บริษัท เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท จำกัด มุ่งหน้าผลักดันแนวทางการลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก สานต่อนโยบายภาครัฐอย่างจริงจัง ควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมให้กับสังคม เดินหน้าเพิ่มร้านงดแจกถุงพลาสติกเป็น 10 สาขา ในพื้นที่กรุงเทพฯ พร้อมชูโมเดลร้านสะดวกซื้อเจ้าแรกของประเทศที่งดให้บริการถุงพลาสติกในทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง หวังลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ลงได้เพิ่มอีก 30% เมื่อเทียบจากปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในปีที่ผ่านมา


แฟมิลี่มาร์ท เพิ่มร้านงดแจกถุงพลาสติก หรือ No Bag Stores เป็น 10 สาขา จากเดิมมีเพียง 1 สาขา ในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อเชิญชวนลูกค้าในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ งด ละ เลิก การใช้ถุงพลาสติกในทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจากข้อมูลพบว่าปัจจุบันคนไทยใช้ถุงเฉลี่ยคนละ 3 ใบต่อวัน ต่อคน เฉลี่ยปีละ 7 พันล้านใบ ในขณะที่ศักยภาพการกำจัดได้อย่างสมบูรณ์ได้ เพียงร้อยละ 25 % เท่านั้น ดังนั้น ร้าน แฟมิลี่มาร์ทที่มีสาขาครอบคลุมในหลายพื้นที่จึงเร่งหาแนวทาง และมาตรการต่างๆ ที่ช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกให้ได้มากที่สุดผ่านหลากหลายกิจกรรม เพื่อให้พนักงานและลูกค้าได้เข้ามามีส่วนร่วม อาทิ การยกเลิกถุงหิ้วพลาสติกขนาดใหญ่ที่ให้บริการที่หน้าร้าน,การงดให้บริการถุงพลาสติกทุกวันที่ 4 ของเดือน ทุกสาขาทั่วประเทศ รวมทั้งการขอความร่วมมือให้ลูกค้าปฏิเสธการรับถุงเมื่อซื้อสินค้าจำนวน 1-2 ชิ้น โดยในครึ่งปีแรก แฟมิลี่มาร์ท สามารถลดจำนวนถุงหิ้วพลาสติกที่หน้าร้านได้กว่า 17 ล้านใบ คิดเป็นกว่า 20% ที่ลดได้เมื่อเทียบจากปีที่ผ่านมา


นางสาวฤดี เอื้อจงประสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด บริษัท เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท จำกัด กล่าวว่า "No Bag Stores เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมภายใต้ โครงการ Green FamilyMart ซึ่งเน้นการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งองค์กรไม่สามารถทำได้โดยลำพัง หากต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ถุงผ้า แทนการใช้ถุงพลาสติกหรือการนำกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อลดปัญหาที่จะก่อให้เกิดต่อสิ่งแวดล้อม แต่ทั้งนี้ การแก้ไขที่ต้นทางที่ดีที่สุด คือการลดการใช้และการปฏิเสธการรับ ดังนั้น เราจึงได้ผลักดัน No Bag Stores ให้เป็นโมเดลต้นแบบร้านค้าปลอดถุงอย่างจริงจัง และมีแผนที่จะขยายสาขาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศ"

นางสาวฤดี กล่าวเสริม "แฟมิลี่มาร์ทเน้นเรื่องการสร้างจิตสำนึก สู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ พนักงานและกลุ่มลูกค้าถึงแม้จะใช้เวลานานกว่าการสร้างแรงจูงใจด้วยคะแนน หรือแต้มเพิ่มจาก Loyalty Card แต่เราเชื่อว่าวิธีการดังกล่าวจะสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนร่วมกัน โดยร้านงดแจกถุงพลาสติกของแฟมิลี่มาร์ท จะเน้นเรื่องการขอความร่วมมือจากลูกค้าและให้พนักงานเกิดความเคยชิน พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการงดใช้ถุงพลาสติก แต่ก็ยังมอบทางเลือกอื่นๆ ให้กับลูกค้า อาทิ ถุงผ้าเคลือบ ถุงกระดาษ ที่จำหน่ายในราคาพิเศษ ซึ่งรายได้หลักหักค่าใช้จ่ายจะนำไปมอบให้กับมูลนิธิอนุรักษ์สัตว์ทะเลต่อไป"

ขณะนี้ มีร้านงดแจกถุงพลาสติก จำนวน 10 สาขาได้แก่ สาขามหาวิทยาลัยมหิดล สาขา มหาวิทยาลัยศรีปทุม สาชาเซ็นทริค ติวานนท์ สาขาเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะชั้น 21 สาขาสุวรรณภูมิคาร์โก้ สาขากรมการกงศล สาขาอาคารจอดรถผู้โดยสาร สาขาจีทาวเวอร์ สาขาแอลพีเอ็น ปาร์คปิ่นเกล้า และ สาขากรมอนามัย โดยภายในเดือนสิงหาคม นี้ คาดว่าจะมีเพิ่มอีกในพื้นที่โซนท่องเที่ยว ที่จะเข้าร่วมโครงการ No Bag Stores


Mostview

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

เศรษฐกิจไม่ดี! KFC-Pizza Hut ในจีน ดึงกลยุทธ์สุดฤทธิ์เรียกลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

Yum China Holdings เจ้าของ KFC และ Pizza Hut เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในจีน วางแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ยังไม่เคยเปิด โดยใช้กลยุทธ์ขายเมนูในราคาต่ำเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในจำนวนมาก

SmartSME Line