วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

เวทีสำหรับ SMEs

by พิพัฒน์ ยอดพฤติการ, 17 มกราคม 2563

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทยมีอัตราเติบโตต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2557-2561) ค่าจีดีพีของ SMEs มีการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 4.2 ต่อปี ซึ่งมีการเติบโตสูงกว่าจีดีพีของประเทศที่มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.1 ต่อปี โดยในปี พ.ศ.2561 ขนาดของ SMEs มีมูลค่ากว่า 7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับจีดีพีของประเทศ และการจ้างงานของ SMEs ในประเทศไทยมีสัดส่วนสูงถึง 13.95 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 85.5 ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ

การเติบโตของ SMEs ในไทย มีแนวโน้มที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่งเศส และเยอรมนี ที่สามารถสร้างผลผลิตให้กับประเทศได้สูงกว่าร้อยละ 50 สะท้อนให้เห็นว่า SMEs ไทยมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและจะมีบทบาทยิ่งขึ้น หากได้รับการพัฒนาและสนับสนุนด้านต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางธุรกิจอย่างเหมาะสม ทั้งด้านการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปใช้ในกิจการ

ในฝั่งของตลาดทุน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนที่เน้น Market Capital For All เพื่อเปิดทางให้ผู้คนในทุกกลุ่มได้มีโอกาสเข้าถึงตลาดทุน ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และสนับสนุนให้ SMEs ที่มีคุณภาพ สามารถเข้าระดมทุนในตลาดทุนได้

ที่ผ่านมา SMEs ส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าระดมทุนในตลาดทุนได้ เนื่องจากกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มีหลักการและกลไกในการคุ้มครองผู้ลงทุนที่เข้มข้น และมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์เดียวสามารถใช้กับกิจการทุกขนาด (One Fits for All) จึงไม่เอื้ออำนวยสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก

สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้บุกเบิกการพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ และเป็นผู้จัดทำข้อมูลหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) 100 อันดับ หรือที่เรียกว่า ESG100 List นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 และเป็นผู้ริเริ่มจัดทำดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ หรือ Thaipat ESG Index สำหรับใช้เป็นดัชนีอ้างอิงสำหรับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับหลักทรัพย์คุณภาพที่ผ่านเกณฑ์ด้าน ESG ในปี พ.ศ.2561 มีแนวคิดที่จะใช้แนวทางการยกระดับการพัฒนาด้วยการจัดทำทำเนียบและดัชนีดังกล่าว มาขยายผลให้ครอบคลุมกลุ่ม SMEs ด้วยการจัดทำ SME100 List และ Thaipat SME Index เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนและการระดมทุนสำหรับ SMEs

ปัจจุบัน สถาบันไทยพัฒน์ กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาเกณฑ์ในการคัดเลือก SMEs โดยหนึ่งในเกณฑ์คัดเลือกที่ให้น้ำหนักความสำคัญ คือ SMEs ที่มีตราสินค้า (Brand) เป็นของตนเอง ซึ่งจะมีการพิจารณาในหมวดที่เป็นองค์ประกอบ (Elements) 5 ด้าน และในหมวดที่เป็นมิติ (Dimensions) 5 ด้าน ได้แก่

องค์ประกอบ 5 ด้าน ประกอบด้วย องค์ประกอบด้านสิ่งที่จับต้องได้ (Tangible Elements) องค์ประกอบด้านคุณภาพ (Quality Elements) องค์ประกอบด้านนวัตกรรม (Innovation Elements) องค์ประกอบด้านบริการ (Service Elements) และองค์ประกอบด้านสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Elements)

มิติ 5 ด้าน ประกอบด้วย มิติด้านกฎหมาย (Legal Dimension) มิติด้านลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียอื่น (Customer/Other Stakeholder Dimension) มิติด้านตลาด (Market Dimension) มิติด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเมือง (Economic and Political Environment Dimension) และมิติด้านการเงิน (Financial Dimension)

สำหรับ SMEs ที่สนใจ โปรดติดตามความคืบหน้าของโครงการ และการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในทำเนียบ SMEs ในปี พ.ศ.2563 นี้ ครับ

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ หนึ่งในผู้บุกเบิกงานด้าน CSR ในประเทศไทย เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันไทยพัฒน์ องค์กรสาธารณประโยชน์ที่ทำงานด้านการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ร่วมกับภาคเอกชน ภายใต้บริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน | ติดตามความคิด บทสัมภาษณ์ และบทความของผู้เขียน ได้ที่ http://pipat.com

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line