วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

วันแห่งความรักสังคม

by พิพัฒน์ ยอดพฤติการ, 14 กุมภาพันธ์ 2563

สัปดาห์นี้ของปี จะมีวันแห่งความรัก หรือวันวาเลนไทน์ เวียนบรรจบมาครบรอบให้เพื่อนพ้องน้องพี่ ได้มีโอกาสแสดงความรักอย่างเป็นเทศกาลกันปีละครั้ง

ในฐานะคนทำงานในแวดวงความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) จะขอถ่ายทอดความรักในแบบ CSR ที่มีต่อสังคมเป็น 3 แบบ ดังนี้

CSR ประเภท ‘รักที่จะให้’ คือ การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม ที่เป็นกิจกรรมเพื่อสังคม ในรูปของการให้ การบริจาค และการอาสาสมัคร เพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์แก่สังคมในด้านต่าง ๆ โดยกิจกรรมที่ดำเนินการนั้น มักแยกต่างหากจากการดำเนินธุรกิจที่เป็นกระบวนการหลักของกิจการและเกิดขึ้นภายหลัง เช่น การแจกจ่ายสิ่งของช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่าง ๆ การบริจาคเงิน วัสดุใช้สอยให้แก่ชุมชนรอบถิ่นที่ตั้งของสถานประกอบการ การเป็นอาสาสมัครช่วยบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เรียกว่า CSR-after-process และมักเป็นกิจกรรมที่อยู่นอกเหนือเวลาทำงานตามปกติ

CSR ประเภท ‘รักที่จะทำ’ คือ การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงาน หรือเป็นการทำธุรกิจที่หากำไรอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น การป้องกันหรือกำจัดมลพิษในกระบวนการผลิตเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน การผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามข้อกำหนดในฉลากผลิตภัณฑ์ การเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้องครบถ้วนต่อผู้บริโภค การชดเชยความเสียหายให้แก่ลูกค้าที่เกิดจากความผิดพลาดและความบกพร่องของพนักงาน ซึ่งการดำเนินความรับผิดชอบเหล่านี้ เรียกว่า CSR-in-process และมักเป็นกิจกรรมที่อยู่ในเวลาทำงานปกติของกิจการ

CSR ประเภท ‘รักที่จะเป็น’ คือ การก่อตั้งหรือปรับเปลี่ยนองค์กร จากการผสมผสานอุดมการณ์ในแบบนักพัฒนาสังคมเข้ากับการบริหารจัดการในแบบผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการผนวกจุดแข็งระหว่างแผนงานของภาคประชาสังคมกับกระบวนการที่มีประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ในอันที่จะสร้างให้เกิดประโยชน์แก่สังคมในทุกกระบวนการของกิจการ ขณะเดียวกันก็สามารถอยู่รอดได้ด้วยการพึ่งพาการดำเนินงานของตนเอง แทนการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกหรือได้รับการอุดหนุนจากภาษีของประชาชน ซึ่งการดำเนินงานในลักษณะนี้ เรียกว่าเป็น CSR-as-process และผู้ที่บริหารองค์กรเหล่านี้ มักเรียกตัวเองว่า ผู้ประกอบการสังคม (social entrepreneur)

อันที่จริงในทุกองค์กร ล้วนแต่มีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่แล้วทั้งสิ้น จะต่างกันก็ตรงความเข้มข้นของการดำเนินงานที่มีมากน้อยไม่เหมือนกัน องค์กรหนึ่งอาจมีความสำนึกรับผิดชอบสูงกว่า ขณะที่อีกองค์กรหนึ่งอาจมีการใช้ทรัพยากรในการดำเนิน CSR ได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่า หรือองค์กรหนึ่งอาจสร้างให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมได้อย่างกว้างขวางกว่า หรือองค์กรอีกแห่งหนึ่งอาจส่งมอบผลลัพธ์จากการดำเนิน CSR ให้แก่สังคมได้ประสิทธิผลมากกว่า ดังนั้น การพิจารณาเรื่อง CSR ในองค์กรหนึ่ง ๆ จึงต้องคำนึงถึงทั้ง ‘วิธีการ-ผลลัพธ์’ ควบคู่กัน

แต่ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความรักด้วยวิธีใดก็ตาม อย่างน้อยที่สุด สังคมจะได้รับการดูแลและเอาใจใส่ไม่มากก็น้อย สิ่งสำคัญคือ เราต้องไม่เลือกที่จะรักสังคมเพียงบางช่วงเวลา ขณะที่ในเวลาอื่น ยังคงสร้างผลกระทบทางลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างไม่รับผิดชอบ จนทำให้นิยามของ CSR กลายเป็นเรื่อง ‘ลูบหน้าปะจมูก’ หรือ ‘ผักชีโรยหน้า’ ที่ไปบั่นทอนคุณค่าของเรื่อง CSR ลงอย่างน่าเสียดาย
วิธีการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม หรือความรัก (สังคม) ในบริบทของเทศกาลวาเลนไทน์ องค์กรสามารถทำได้ทุกวันทำการ เพราะเป็นความรับผิดชอบและความเอาใจใส่ที่สามารถปลูกฝังอยู่ในกระบวนการทำงาน และในทุกกระบวนการทางธุรกิจ ที่องค์กรดำเนินการอยู่ในทุก ๆ วันนั่นเอง

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ หนึ่งในผู้บุกเบิกงานด้าน CSR ในประเทศไทย เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันไทยพัฒน์ องค์กรสาธารณประโยชน์ที่ทำงานด้านการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ร่วมกับภาคเอกชน ภายใต้บริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน | ติดตามความคิด บทสัมภาษณ์ และบทความของผู้เขียน ได้ที่ http://pipat.com

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line