วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

แบนถุงพลาสติกในไทยทำผู้ประกอบการกุมขมับ เล็งย้ายการลงทุนไปเวียดนาม

by Anirut.j, 14 กุมภาพันธ์ 2563

เว็บไซต์ Vietnam Investment Review รายงานว่ามาตรการยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกแบบครั้งเดียวในประเทศไทยทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ได้รับผลกระทบ และมีแนวโน้มที่จะย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศอื่น เช่น เวียดนาม

ประเทศไทยเริ่มต้นแคมเปญยกเลิกการใช้ถุงพลาสติก “Every Day Say No to Plastic Bags” ตั้งแต่ต้นปี 2020 ซึ่งมีร้านค้าปลีกเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการนี้ถึง 25,000 ร้านค้า รวมถึงร้านค้ายักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น เซ็นทรัล, เดอะ มอลล์ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่มีร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven เข้าร่วมด้วย

ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลไทยยังรณรงค์ให้มีการลดใช้ภาชนะใส่อาหารที่เป็นโฟม, หลอดพลาสติก และแก้วพลาสติก ภายในปี 2020

นายณภัทร ทิพย์ธนกิจ กรรมการผู้จัดการบริษัท Pack and Save กล่าวว่าออเดอร์การซื้อหายไป 90% ตั้งแต่เริ่มต้นปี 2020

เช่นเดียวกับนายสมชัย เตชะพานิชกุล ประธานสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย (TPIA) ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 400-500 บริษัท กล่าวว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ SME ที่พึ่งพาการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าภายในประเทศ ดังนั้นการแบนถุงพลาสติกจึงทำให้พวกเขายากที่จะอยู่รอด

“แคมเปญทำลายธุรกิจพลาสติกภายในประเทศ โดยเฉพาะ SME ที่ได้รับความเสียหาย และบริษัทไม่สามารถปรับตัวได้ เช่น การหาเครื่องจักรใหม่ที่ผลิตสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

เบื้องต้นพบว่ามีผู้ผลิตพลาสติกจำนวน 86 รายที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนหลังมีการประกาศใช้แคมเปญนี้เพียง 1 เดือน ทั้งในเรื่องการลดจำนวนการผลิต และชั่วโมงการทำงานลง รวมถึงส่งผลต่อพนักงานที่ถูกเลิกจ้างงาน

ย้ายฐานการลงทุนไปเวียดนาม

แม้ว่าเวียดนามจะแผนการที่จะยกเลิกการใช้พลาสติกภายในปี 2025 แต่กฎระเบียบอื่น ๆ นั้นไม่เข้มงวดเท่ากับไทย ดังนั้นการย้ายฐานการลงทุนของผู้ประกอบการไทยไปยังเวียดนามอาจเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงรยะเวลาสั้น ๆ อีกทั้งการระบาดของเชื้อ “โควิด-19" สนับสนุนให้ความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกของเวียดนามเพิ่มสูงขึ้น ไล่ตั้งแต่อาหารในร้านซูเปอร์มาร์เก็ตไปจนถึงหน้ากากอนามัยที่ล้วนแต่ต้องใช้พลาสติกห่อ

ตามรายงานของ Doximex ผู้ประกอบการท้องถิ่นเร่งการผลิตหน้ากากอนามัยเพิ่มสูงขึ้น 10 เท่า และมีความต้องการพลาสติกเพิ่มขึ้น เพราะต้องการนำมาห่อสินค้า ซึ่งเวียดนามยังไม่ได้มีคำสั่งห้ามในเรื่องนี้เหมือนกับประเทศไทย เหล่านี้อาจเป็นจุดหมายอันสดใสของผู้ประกอบการผลิตพลาสติก

ด้านนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานบริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า บริษัทจะขยายการลงทุนเข้าไปในเวียดนาม จากปัจจัยส่งเสริม ไม่ว่าจะเป็น การเติบโตของ GDP, กฎหมายที่เอื้ออำนวย รวมถึงอุตสาหกรรมค้าปลีก และเครื่องดื่มเบียร์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว นำมาสู่ความต้องการพลาสติกเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ แม้จะมีโอกาสที่สดใสรออยู่ในเวียดนาม แต่ผู้ประกอบการไทยก็จำเป็นต้องปรับตัว เตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินงานตามมาตรฐานที่ทันสมัย และสร้างความยั่งยืน

ที่มา: Vietnam Investment Review

 


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line