วันจันทร์, พฤษภาคม 13, 2567

บันได 5 ขั้นวางแผนการเงิน ฉบับเจ้าของธุรกิจมือโปร

by Smart SME, 17 เมษายน 2563

นับตั้งแต่ต้นปี 2020 เป็นต้นมา เรียกว่าเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความผันผวน และยากจะคาดเดา เพราะต้องเจอกับความไม่แน่นอนต่าง ๆ มากมาย หลายเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดก็เกิด เช่น ไฟไหม้ครั้งใหญ่ในออสเตรเลีย การกลับมาของปัญหาฝุ่น PM2.5

รวมไปถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังรุนแรงอยู่ในตอนนี้ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจทั่วโลกที่หยุดชะงัก
ผู้ประกอบการหลายรายกำลังอยู่ในช่วงยากลำบากอย่างมาก

อย่างไรก็ดี ใครที่กำลังรู้สึกท้อใจกับการทำธุรกิจ เวลานี้อาจจะเป็นจังหวะที่ดีในการคิดทบทวน และกลับมาวางแผนอย่างรอบคอบ ทั้งเรื่องธุรกิจ ชีวิต และครอบครัว เพราะเรื่องไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
เราจึงขอแนะนำ บันได 5 ขั้นวางแผนการเงิน ฉบับเจ้าของธุรกิจมือโปร คู่มือวางแผนการเงินเชิงรุกเพื่อเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะ

1. กำหนดเป้าหมาย
การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน เจ้าของธุรกิจต้องวางแผนอย่างชัดเจน ต้องระบุจำนวนเงินได้ว่าจะจัดสรรจำนวนเท่าไหร่ กระจายไปส่วนไหนบ้าง เช่น เงินสำรองเพื่อธุรกิจ เงินออมสำหรับครอบครัว ฯลฯ จากนั้นต้องมีวิธีการที่จะทำให้สำเร็จได้ เรามีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่าไหร่ แล้วถ้าอยากเก็บได้เพิ่ม จะมีช่องทางไหนทำเงินอีกได้บ้าง นอกจากนี้ เจ้าของธุรกิจต้องรู้ศักยภาพของตนเอง สภาพแวดล้อมการใช้จ่าย เพราะเป้าหมายที่ดีต้องสอดคล้องกับการทำให้เป็นจริงได้ สุดท้ายต้องกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน โดยอาจกำหนดเป้าหมายใหญ่ขึ้นอีกหน่อย เพื่อรู้สึกท้าทายความสามารถ และคุ้มค่ากับการลงมือทำ

2. สำรวจความเสี่ยง
เพราะโลกปัจจุบัน มีเรื่องใหม่ ๆ คอยให้เจ้าของธุรกิจต้องปรับตัวตลอดเวลา ดังนั้น ความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยง จึงเป็นอีกทักษะที่ควรมีในผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ซึ่งความเสี่ยงทางการเงินมีอยู่รอบด้าน เช่น ความมั่นคงของรายได้ ความเสี่ยงด้านสุขภาพ ภาระหนี้สิน ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความผันผวนของการลงทุน ความเสียหายของทรัพย์สิน การใช้จ่ายเกินตัว ฯลฯ ผู้ประกอบการจึงควรวิเคราะห์สถานการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัวอยู่เสมอ แล้วบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างรอบคอบ รวมถึงหมั่นศึกษาและเปิดรับนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ ก็จะเป็นอีกตัวช่วยถ่ายโอนความเสี่ยงได้

3. ออกแบบแผนการเงินที่เหมาะกับตัวเอง
การวางแผนการเงิน คือการจัดสรรการเงินเพื่อสร้างความมั่นคงและความมั่งคั่งในอนาคต เช่น จะแบ่งเก็บไว้เป็นค่าเล่าเรียนลูก ค่ารักษาพยาบาลของคนในครอบครัว จะสำรองไว้ใช้หมุนเวียนในธุรกิจมากแค่ไหน หรือจะลงทุนเพิ่มเพื่อให้เงินงอกเงยอย่างไร เพราะการออกแบบแผนการเงินเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างรอบคอบ และมีวินัย จึงไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่จะให้สถาบันการเงินเข้ามาช่วยวางแผนกระจายเงินลงทุนให้ เพราะสถาบันการเงินจะมี
ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำด้านการวางแผนการเงินได้อย่างรัดกุม และเหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล

4. วางแผนส่งไม้ต่อ
อนาคต เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถคาดเดา หรือรู้ล่วงหน้าได้ แม้ตอนนี้ลูกเรายังเด็ก เรามีแรงมีกำลังดูแลเขาได้เต็มที่ การมีลูก 1 - 2 คน กว่าจะเรียนจบดูแลตัวเองได้ ก็ต้องใช้จ่ายรวมหลายล้าน วันข้างหน้าเราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เราทุกคนจึงควรวางแผนอนาคตให้กับคนข้างหลัง ให้มั่นใจได้ว่าเขาจะได้สิ่งที่ดีที่สุด เหมือนกับที่เราดูแลเขาในวันนี้ และไม่ต้องมาแบกภาระหนี้สินในธุรกิจต่อ นี่จึงเป็นเหตุผล ที่การวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคตของลูกๆ เป็นสิ่งที่ต้องทำตั้งแต่วันนี้ ส่วนใหญ่จึงหันมาลงทุนกับหุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ ประกันบำนาญ หรือประกันชีวิตรูปแบบต่างๆ

5. สร้างความมั่นคงให้คนข้าง ๆ ด้วย ยูนิตลิงค์
เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่า อนาคตในวันที่เราไม่สามารถอยู่ข้าง ๆ คนที่เรารักได้ เขาจะมีหลักประกันเป็นเงินก้อนในการใช้ชีวิตต่อได้อย่างน้อยสักระยะหนึ่ง ดังนั้น การซื้อประกันแบบ ยูนิตลิงค์ (Unit Liked Insurance) หรือประกันชีวิตควบการลงทุน ก็เป็นอีกทางเลือกที่สร้างความอุ่นใจให้เราได้ อย่างประกันชีวิต เฟล็กซี่ ไลฟ์ โพรเทค 15/5 (ยูนิตลิงค์) ที่ทีเอ็มบีเพิ่งเปิดตัว ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ยูนิตลิงค์ระยะสั้นตัวแรกของตลาดประกันยูนิตลิงค์ ก็จะช่วยตอบโจทย์คนที่ไม่อยากจ่ายเบี้ยนานหลายปี แต่ข้อดีของเฟล็กซี่ ไลฟ์ โพรเทค 15/5 (ยูนิตลิงค์) มีมากกว่านั้น เพราะเป็นประกันที่ช่วยให้เราสามารถแบ่งเงินก้อนเล็กมาสร้างความคุ้มครองที่ให้หลักประกันวงเงินสูงเพื่อคนข้างหลังได้อย่างคุ้มค่า เราสามารถกำหนดได้ว่า ค่าเบี้ยที่จ่ายตอนเริ่มต้นจะให้ความคุ้มครองชีวิตเป็นกี่เท่าของ
เบี้ยรายปี โดยเลือกความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 5 – 50 เท่าของเบี้ยรายปีเลยทีเดียว

ตัวอย่าง กรณีคุณพ่อเจ้าของธุรกิจอายุ 40 ปี ที่ธุรกิจมีความมั่นคงในระดับหนึ่ง มีลูกเล็ก 1 คนกำลังเรียนชั้นอนุบาล เมื่อประเมินดูแล้วคาดว่า เงินทุนที่จำเป็นต้องใช้หมุนเวียนธุรกิจประมาณ 5 ล้านบาท และเงินที่ต้องการเผื่อเป็นค่าการศึกษาให้ลูกจนกระทั่งเรียนจบปริญญาตรีรวมถึงค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของภรรยา และลูกอีกประมาณ 10 ล้านบาท ดังนั้น หลักประกันเพื่อรองรับแผนสำรองทางธุรกิจและครอบครัวที่ต้องการรวมเป็น
15 ล้านบาท คุณพ่อท่านนี้จึงสมัครเฟล็กซี่ ไลฟ์ โพรเทค เพื่อความคุ้มครองชีวิต 15 ล้านบาท ด้วยค่าเบี้ยปีละ
3 แสนบาท และเลือกความคุ้มครองชีวิต 50 เท่าของเบี้ยรายปี (300,000 บาท) ก็สามารถเริ่มต้นมีหลักประกันชีวิตวงเงิน 15 ล้านบาทได้ จากนั้นจ่ายเบี้ยต่อเนื่องเพียง 5 ปี เพียงเท่านี้ ครอบครัวก็มีหลักประกัน 15 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 15 ปี ตอบโจทย์แผนสำรองทั้งในมุมเพื่อการศึกษาสำหรับลูก เป็นหลักประกันเพื่อครอบครัวและธุรกิจ

เมื่อ 15 ปีผ่านไป คุณพ่อในวัย 55 ปี ส่วนลูกน้อยเติบโตขึ้นและกำลังศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ด้านธุรกิจก็มีการขยับขยายใหญ่โตขึ้น คุณพ่อสามารถพิจารณาถึงความจำเป็นในขณะนั้นได้ว่า หลักประกันที่ทำไว้เมื่อ 15 ปีก่อน จะตอบโจทย์อื่น ๆ ของชีวิตในขณะนั้นหรือไม่ เช่น หากต้องการให้ลูกที่กำลังจะเรียนจบปริญญาตรีและวางแผนจะศึกษาต่อปริญญาโทเพิ่มเติม มาสานต่อธุรกิจที่สร้างมากับมือ ก็อาจจะพิจารณาถือกรมธรรม์ต่อไปอีกสักระยะ เพียงแค่คอยดูแลมูลค่ากรมธรรม์ให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายของกรมธรรม์ตลอดช่วงเวลาที่ถืออยู่เท่านั้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เฟล็กซี่ ไลฟ์โพรเทค 15/5 (ยูนิตลิงค์) เป็นประกันชีวิตที่มีความยืดหยุ่นและน่าสนใจที่จะสามารถตอบโจทย์ชีวิตเจ้าของธุรกิจ

สุดท้ายแล้ว เราจะเห็นว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่หลายคนกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ ล้วนเป็นบททดสอบครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง และทำให้เราได้ย้อนกลับมามองว่า วันนี้เราได้วางแผนชีวิต และมีหลักประกันที่เพียงพอเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจ ตัวเอง และคนข้างหลังแล้วหรือยัง ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เราขอเป็นกำลังใจให้เจ้าของธุรกิจ
ผู้ประกอบการและผู้อ่านทุกท่านสามารถยืนหยัดและก้าวผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ไปด้วยกัน….

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ tmbbank.com/smartsme/flp155
หรือ TMB Contact Center 1558

หมายเหตุ: ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทำประกันภัยและลงทุนทุกครั้ง ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเป็นของบริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จากัด (มหาชน) เป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิต และรับผิดชอบในฐานะนายหน้าเท่านั้น


Mostview

4 สิ่งของคนเลี้ยงลูกประสบความสำเร็จไม่เคยสอนตอนเมื่อลูกยังเล็ก

ครอบครัวถือเป็นสถาบันหลักสำคัญในการสั่งสอนลูกว่าจะเป็นคนอย่างไร โดยช่วงเวลาที่ผ่านมาเราได้ยินว่าควรทำอย่างไรกับลูกของเรา และเรื่องไหนที่ไม่ควรทำกับลูกของเรา

เศรษฐกิจไม่ดี! KFC-Pizza Hut ในจีน ดึงกลยุทธ์สุดฤทธิ์เรียกลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

Yum China Holdings เจ้าของ KFC และ Pizza Hut เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในจีน วางแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ยังไม่เคยเปิด โดยใช้กลยุทธ์ขายเมนูในราคาต่ำเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในจำนวนมาก

แม็คโคร-โลตัส ไตรมาสแรกปี 2567 ทำรายได้รวม 127,020 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT เผยผลประกอบการในช่วงไตรมาส 1/67 พบว่ามียอดรายได้รวม 127,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน มีกำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีก่อน

เกษตรกรเวียดนามไม่ทนหันปลูกทุเรียนส่งออกจีนแทนปลูกกาแฟที่ขาดแคลน แถมราคาถูกกว่า

ราคากาแฟโรบัสต้าทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยเวียดนามซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ที่สุด กำลังต่อสู้กับภัยแล้ง รวมถึงเกษตรกรได้เปลี่ยนมาปลูกทุเรียนแทน

CARS24 ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองยุติดำเนินกิจการในไทยอย่างเป็นทางการ

CARS24 ธุรกิจซื้อ-ขาย-เทิร์น รถยนต์มือสอง ได้ยุติกิจการในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย โดยในแถลงการณ์ของบริษัทระบุว่า

SmartSME Line