วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

ธุรกิจกับการมีส่วนร่วมในสถานการณ์โควิด

by พิพัฒน์ ยอดพฤติการ, 1 มิถุนายน 2563

ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ปฏิเสธไม่ได้ว่า บทบาทของภาคธุรกิจ ในฐานะหนึ่งในภาคส่วนที่สำคัญของสังคม สามารถที่จะระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการช่วยเหลือ ทั้งการมอบเงินบริจาค อาหาร เวชภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับมือกับสถานการณ์ ซึ่งมีมูลค่ารวมกันเป็นหลักพันล้านบาทได้ในชั่วระยะเวลาสั้น ๆ

ปรเทศไทยกำลังเดินเข้าสู่ช่วงที่สถานการณ์โควิดกำลังคลี่คลาย จากนี้ไป บริษัทต่าง ๆ ทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ครั้งนี้ จะมีกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการฟื้นฟูที่หลากหลาย แตกต่างกันไปในแต่ละกิจการ

ธุรกิจจำต้องจัดสรรการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องลงตัวกับสถานการณ์ที่ดำเนินไปในแต่ละระยะ มีการสร้างให้เกิดความสมดุลระหว่างการดำเนินธุรกิจและการช่วยเหลือสังคม โดยมิให้สังคมเกิดความรู้สึกว่าธุรกิจกำลังแสวงหาประโยชน์จากสถานการณ์

ลักษณะการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนที่สะท้อนออกมาเป็นกิจกรรมทางธุรกิจ มีทั้งในรูปแบบที่ไม่คิดมูลค่า (Pro Bono) หรือคิดเท่าต้นทุน (At Cost) หรือแสวงหากำไร (For Profit) ในแต่ละระยะของสถานการณ์

 

 

กิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่คิดมูลค่า หรือคิดเท่าต้นทุน หรือแสวงหากำไร ในแต่ละระยะของสถานการณ์โควิด

ในระยะก่อนเกิดโควิด ธุรกิจสามารถที่จะดำเนินกิจกรรมแสวงหากำไรเป็นปกติ ครั้นเมื่อสถานการณ์โควิดเกิดขึ้น ธุรกิจสามารถมีส่วนช่วยเหลือแก่สังคมและผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยไม่คิดมูลค่า สำหรับกิจกรรมในระยะฟื้นฟู ธุรกิจอาจมีส่วนช่วยเหลือด้วยการจำหน่ายสินค้าและบริการโดยคิดค่าใช้จ่ายเท่าต้นทุน ซึ่งการที่ธุรกิจอาสาเข้ามีส่วนร่วมช่วยเหลือในช่วงต้น ๆ หลังการเกิดโควิดนั้น จะก่อให้เกิดโอกาสที่นำไปสู่กิจกรรมการสร้างรายได้ในภายหลัง

ทั้งนี้ ผลได้ของธุรกิจจากการมีส่วนร่วมในแต่ละระยะของสถานการณ์โควิด มีตั้งแต่การกระชับความสัมพันธ์ในท้องถิ่น การเสริมสร้างตราสินค้า ชื่อเสียงและคุณค่าขององค์กรให้แข็งแกร่งขึ้น รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรเจ้าหน้าที่ ไปจนถึงโอกาสโดยตรงทางธุรกิจ และการพัฒนาทางธุรกิจ

 

 

แน่นอนว่า “ธุรกิจจะอยู่รอดไม่ได้ หากไม่มีรายได้” แต่ขณะเดียวกัน “ธุรกิจก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ในสังคมที่ล้มเหลว” การผสมผสานความสามารถในการสร้างผลได้ทางธุรกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเหมาะสมลงตัว จึงเป็นการสร้างคุณค่าร่วมจากการเข้ามีส่วนร่วมขององค์กรธุรกิจในแต่ละระยะของการรับมือสถานการณ์โควิด

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ หนึ่งในผู้บุกเบิกงานด้าน CSR ในประเทศไทย เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันไทยพัฒน์ องค์กรสาธารณประโยชน์ที่ทำงานด้านการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ร่วมกับภาคเอกชน ภายใต้บริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน | ติดตามความคิด บทสัมภาษณ์ และบทความของผู้เขียน ได้ที่ http://pipat.com

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line