วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2567

E-Commerce ไทย มีการเติบโตแบบชะลอตัว เหตุจากการแข่งขันที่รุนแรงอยู่บนกำลังซื้อที่อ่อนตัวลง

by Smart SME, 19 มิถุนายน 2563

การตลาดออนไลน์ยุค New Normal มีการแข่งขันรุนแรงขึ้น แต่กำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนตัวลง ส่งผลคาดการณ์ว่าในปี 63 ธุรกิจ E-Commerce เติบโตแต่ชะลอลง 8-10%

ด้วยผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคเกิดการปรับตัวมาซื้อสินค้าทางออนไลน์กันมากขึ้นในช่วงที่มีการกักตัวหรือทำงานอยู่ที่บ้าน

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการค้าปลีกต่างก็ต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อหาช่องทางสร้างรายได้ ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของการออกไปใช้จ่ายนอกบ้านและความกังวลในเรื่องของสุขภาพ

ส่งผลให้ตลาดค้าปลีกออนไลน์มีการขยายตัวสูงขึ้น แต่ผู้ประกอบการค้าปลีกต่างเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงและยากลำบาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ E-Market place ต่างชาติ ซึ่งเน้นจำหน่ายสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าไม่จำเป็น เช่น สินค้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน อุปกรณ์ไอที ของใช้ในครัวเรือน ต้องเผชิญความท้าทายและแรงกดดันรอบด้าน ทั้งจากกำลังซื้อที่ยังอ่อนแรงและไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้เร็ว

การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในกลุ่มสินค้า Non-food กับกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าปลีกสินค้าเฉพาะที่มีเว็บไซต์หรือแบรนด์ของตนเอง อีกทั้งยังต้องแข่งขันกับกลุ่ม Modern trade และ Social commerce ที่โหมเจาะตลาดสินค้ากลุ่มอาหารและอุปโภคบริโภค

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า หลังวิกฤตโควิด-19 บทบาทของ E-Market place ต่างชาติ ในตลาดรวมของ E-Commerce ไทยน่าจะเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่มีความได้เปรียบและมีบทบาทมาก ในระยะข้างหน้าต้องเผชิญการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงจากปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้น และยังต้องทำการอัดโปรโมชั่น เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มของตนเอง จึงคาดว่าผลประกอบการจะยังคงขาดทุนต่อเนื่อง 30-40% ต่อปี และถือเป็นการขาดทุนมาโดยตลอดเฉลี่ย 46% ต่อปี นับตั้งแต่ปีที่ผู้ประกอบการ E-Market place กลุ่มดังกล่าวเริ่มเข้ามาลงทุนแพลตฟอร์มและทำตลาดค้าปลีกออนไลน์ในไทย

แม้ว่าโควิด-19 จะช่วยกระตุ้นให้ตลาดค้าปลีกออนไลน์ให้โตขึ้นจากการเข้าสู่สภาวะ New normal แต่อีกส่วนหนึ่งก็กระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคที่หดตัว จึงทำให้ผู้บริโภคยังคงมีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและประหยัด จึงประเมินได้ว่า ตลาดค้าปลีกออนไลน์ B2C E-Commerce (เฉพาะสินค้า) ในปี 2563 จะยังคงขยายตัวราว 8-10% แต่ก็เป็นอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ขยายตัวราว 20% โดยกลุ่มสินค้าอาหารและของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน น่าจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้น ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างกลุ่มแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า น่าจะได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่อ่อนแรง และคงใช้เวลาในการฟื้นตัวที่นานกว่า


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line