วันอังคาร, พฤษภาคม 21, 2567

บสย. แนะ SMEs เริ่มต้นที่พื้นฐาน ...ปูทางสู่ความยั่งยืน

by Smart SME, 21 กรกฎาคม 2563

ในช่วงเวลานี้ แน่นอนว่าผู้ประกอบการ SMEs จำนวนไม่น้อยต่างประสบปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ครั้งนี้ เราได้สัมภาษณ์พิเศษกับ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ถึงแนวทางการปรับตัวต่างๆ ดังนี้

New Normal ในมุมมองของ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร

New Normal ผมมองว่าเป็นนาฬิกาปลุกให้เราตื่นจากภวังค์ ผู้ประกอบการ SMEs อาจได้รับการปลูกฝังว่า ต้องเป็นเจ้าของกิจการ ใช้ใจทุ่ม และลุยให้เต็มที่ เทหมดหน้าตัก แต่สิ่งหนึ่งที่อาจขาดหายไปคือ ทุ่มด้วยพลังสมอง และการบริหารจัดการที่แหลมคม เมื่อเกิดวิกฤตต้องย้อนมองตัวเองว่า วันนี้ ธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ ยังตอบโจทย์ลูกค้าหรือไม่ ขณะเดียวกันเราต้องมองว่ากลุ่มลูกค้าของเรา ตอบโจทย์ธุรกิจในระยะยาวหรือไม่ ‘วันนี้คุณเอาไข่ใส่ในตะกร้าใบเดียว หรือใส่ไว้ในตะกร้าสำรอง’

เพราะมีลูกค้า บสย. จำนวนมากปรับทิศทางและปรับเปลี่ยนจับธุรกิจเสริมมาเป็นธุรกิจหลัก เพราะธุรกิจหลักไปต่อไม่ไหว เมื่อสถานการณ์โลกบังคับให้เราต้องเปลี่ยนผู้ประกอบการ SMEs จะปรับอย่างไร ? จุดเปลี่ยนเหล่านี้ต้องตกผลึกทางความคิดใช้หลักยึด “ลูกค้า” เป็นตัวตั้ง และต้องตั้งสติ โดยฝากข้อแนะนำผู้ประกอบการ SMEs ดังนี้

1. บริหารความเสี่ยง ปรับแผนและกลยุทธ์รับการเปลี่ยนแปลงในทุกสถานการณ์ ขยายฐานลูกค้า วางสัดส่วนรายได้จากลูกค้าหลาย ๆ กลุ่ม เพื่อลดความเสี่ยง

2. ทุนสำรอง เปรียบเหมือนถังออกซิเจน หยอดเงินใส่กระเป๋าเพื่อเป็นทุนสำรอง อย่างน้อย 3 เดือน พร้อมมองหาทางเลือกทางรอดและช่องทางใหม่เสมอ เช่นตลาดเพื่อนบ้าน กลุ่ม CLMV ควบคู่การปรับแผนปรับสัดส่วนการขายและรายได้

3. คุมหนี้ ไม่เกินตัว และลดภาระหนี้ ระมัดระวังการลงทุนไม่เกินกำลัง ยึดหลัก ธุรกิจขนาดเล็กแต่สวยงาม ‘Small but Beautiful’ เพราะกว่า 50% ของ ผู้ประกอบการ SMEs มักแบกรับภาระหนี้เกินตัว และคาดหวังน้ำบ่อหน้า จึงมักเก็บสต็อกจำนวนมาก ดังนั้นในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ 3-4 ปีแรก ต้องพุ่งเป้าบริหารภาระหนี้อย่างสมดุล ไม่เพิ่มหนี้ ไม่ลงทุนสร้างโรงงานและอสังหาฯ เพื่อให้ภาระหนี้หมุนเวียนแบบ Short-term Loans ลดน้อยลง เพื่อลดดอกเบี้ยรายจ่าย จากนั้นจึงค่อยเติม Long-term Loans หรือรอเมื่อพร้อม

วิกฤตสร้างโอกาสธุรกิจ
ในวิกฤตมีโอกาสเสมอ กลุ่มแรกก็คือธุรกิจ Mass Production หรือ Mass Consumer จับตลาดที่มีจริตเดียว กัน เมื่อกระเป๋าสตางค์ของกลุ่มนี้ตื้นขึ้น การจับจ่ายใช้สอยก็มีข้อจำกัดมากขึ้น คิดใหม่แบบ New normal คือตั้งโจทย์ใหม่ เป็น Mass Customization เพิ่มทางเลือก และหลากหลาย เพื่อกระจายความเสี่ยง ควบคู่การขยายฐานลูกค้า และต้องเจียระไนธุรกิจใหม่ มองให้ออกอะไรใช่ ไม่ใช่ ไปต่อได้หรือไม่ได้ และอะไรคือความยั่งยืน (Sustainable) ของธุรกิจ

ถ้าวันนี้ธุรกิจยังไปต่อได้ ต้องคิดต่อว่าจะไปได้อีกกี่ปี และการป้องการธุรกิจถูกดิสรัป เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการถูกดิสรัป จากเทคโนโลยีและด้านสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือ การตลาดแรงงานที่ถูกดีสรัปโดยหุ่นยนต์หรือ AI หรือแม้แต่ธุรกิจที่เคยใช้ค่าแรงถูกเมื่อ 10 ปีที่แล้ว อย่าง ปั่น ทอ ฟอก ย้อม ถ้ายังจับ Niche Market ไม่ได้และยังขายของราคาถูกเหมือนเดิม ถ้าคุณไปต่อไม่ได้ แล้วเพื่อนพนักงานที่อยู่ในบริษัทคุณจะสามารถ Turn Around พวกเขาไปทำธุรกิจต่อเนื่องอย่างอื่นได้หรือไม่ ผู้ประกอบการ SMEs ต้องคิดซับซ้อนขึ้น และใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วย เพื่อให้สามารถขายสินค้าในราคาที่สูงขึ้นได้ ซึ่งผู้ประกอบการต้องกลับไปตกผลึกกับตัวเองมากขึ้น

บสย. มีมาตรการอะไรบ้างที่สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs

ที่ผ่านมา บสย. ทำ Mass Production เรามีการค้ำประกันลูกค้าปีละ 1 แสนราย และมีการค้ำประกันสินเชื่อในราคาเดียว ด้วยวงเงินเดียว แต่ความเสี่ยงของผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มก็ต่างกัน วันนี้เราจึงทำ Customization ร่วมกับธนาคารพันธมิตร เพื่อประเมินความเสี่ยง ปรับวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ และค่าธรรมเนียม ให้เหมาะสมผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่มอาชีพอิสระในแต่ละราย ขณะเดียวกัน กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs คนตัวเล็กที่ต้องการเงินด่วน เราอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ (LG) เร็วขึ้น จาก 3 วันเป็นภายใน 3 ชั่วโมง

ฝากถึง SMEs ที่ต้องปรับตัวในช่วงสถานการณ์โควิด-19

ผู้ประกอบการ SMEs อย่าคิดว่า จีดีพี จะติดลบเท่านั้นเท่านี้ อย่ามองปัจจัยภาระหนี้เสีย เพราะถ้าผู้ประกอบการ SMEs เจอตัวเลขติดลบเยอะๆ จะใจเสีย อยากให้มองมาตรการเยียวยาของรัฐบาล ซึ่งชัดเจนว่าช่วยทุกกลุ่ม ทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ขอให้ผู้ประกอบการ SMEs พิจารณาว่าธุรกิจของตัวเองอยู่กลุ่มไหน มีผลิตภัณฑ์ และมาตรการอะไรบ้างที่สามารถเยียวยาธุรกิจเราได้ หรือสามารถโทรขอรับคำปรึกษากับ บสย. ได้ เพื่อให้เราวิเคราะห์ให้ได้ ขอให้ผู้ประกอบการ SMEs มีกำลังใจ มีสติ มีเวลาที่จะเจียระไนธุรกิจของตัวเอง และขอให้คิดถึง บสย. ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือโดยตรง ให้คำปรึกษาให้กับ SMEs โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เราอยากให้ผู้ประกอบการมองเราเป็นเพื่อนแท้คนหนึ่งในการทำธุรกิจ

ผู้ประกอบการสามารถขอรับคำปรึกษากับ บสย. ได้ที่
บสย. Call Center: 02 890 9999
www.tcg.or.th ในเว็บไซต์ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปตรวจสุขภาพทางการเงินเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง
Line: @doctor.tcg และ facebook: tcg.or.th
และสำนักงานเขตทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ

Tag : บสย.

Mostview

พาชมงาน MONEY EXPO 2024 โซน Franchise SMEs มีธุรกิจอะไรน่าลงทุน

เริ่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับงาน MONEY EXPO 2024 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยภายงานในงานได้มีสถาบันทางการเงินที่นำบริการสินเชื่อต่าง ๆ มานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจมองหาแหล่งทุนสำหรับนำไปใช้ในเรื่องต่าง

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

6 วิธีสร้างแนวคิดอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจของคุณ แถมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

การยึดมั่นในเรื่องของความยั่งยืนไม่ได้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังส่งผลเชิงบวกให้กับแบรนด์อีกด้วย ดังนั้น เรามาดูกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่คนเป็นผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ ผ่านวิธีการเหล่านี้

SmartSME Line