วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 9, 2567

เติมความรู้ “ก๊าซชีวภาพเพื่อกระแสไฟฟ้า” สู่นักศึกษา

by Smart SME, 14 ธันวาคม 2563

วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน หัวข้อ “ความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ” ครั้งที่ 1 ภายใต้โครงการผู้นำความคิดเพื่อความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ โดยบริษัทพีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2563 มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เข้าร่วมงานกว่า 250 คน

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยศรี ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวในพิธีเปิดอบรมฯ ว่า พลังงานก๊าซชีวภาพ เป็นพลังงานทดแทนจากธรรมชาติที่สำคัญในปัจจุบัน ซึ่งก๊าซชีวภาพเกิดจากการย่อยสลายอินทรีย์ โดยจุลินทรีย์เป็นตัวย่อยสลาย ภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจน หรือการไม่ใช้อากาศ ซึ่งจะได้แก๊สออกมา 4 ชนิด ประกอบด้วย 1.ก๊าซมีเทน 2.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 3.ก๊าซชนิดอื่น ๆ อาทิ ออกซิเจน เป็นต้น และ 4.ไอน้ำ

 

 

ที่สำคัญวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ หาได้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เนื่องจากก๊าซชีวภาพจะสามารผลิตขึ้นได้ผ่านของเสียต่าง ๆ ทั้งมูลสัตว์ น้ำเสีย อาหารเหลือทิ้ง หรือพืชผลทางการเกษตร ซึ่งกระบวนการได้มาของพลังงานจะใช้ระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน จากนั้นจะได้พลังงานที่สามารถนำไปใช้หุงต้มในครัวเรือน หรือให้กระแสไฟฟ้าในระดับครัวเรือนได้เช่นกัน

 

 

ส่วนการใช้ก๊าซชีวภาพในโรงงานอุตสาหกรรม จะเป็นระดับที่ใหญ่กว่าระดับชุมชน ซึ่งจะต้องมีเทคโนโลยีพิเศษเข้ามาจัดการ โดยส่วนใหญ่โรงงานอุตสาหกรรมจะผลิตก๊าซโดยใช้ระบบหมักที่เรียกว่า UASB พร้อมกับเลือกเอาเชื้อจุลินทรีย์ชนิดพิเศษ ที่เกิดกระบวนการย่อยอินทรีย์ให้ได้มากที่สุด หรือเรียกว่า การย่อยสลายเพื่อให้ตะกอนเม็ดกลม ๆ ลอยขึ้นมา หรือการเลี้ยงจุลินทรีย์ในบ่อ แต่ทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจน หรือไร้อากาศ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการได้มาซึ่งพลังงานก๊าซชีวภาพ

“ประโยชน์ของก๊าซชีวภาพในปัจจุบัน คือ 1.เป็นแก๊สหุงต้ม 2.ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในชุมชน และ 3.สิ่งที่เหลือคือปุ๋ยชีวภาพอย่างดี แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าระดับการใช้พลังงานก๊าซชีวภาพเหมาะสมกับพื้นที่ หรือกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้งานในระดับไหน และที่สำคัญคือความชำนาญของการดูแลการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยเช่นกัน” รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยศรี กล่าว

 

 

สำหรับการใช้ก๊าซชีวภาพเพื่อไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า จะมีปัจจัยที่สำคัญซึ่งนำไปสู่การผลิตได้จริง คือ ต้องมีการควบคุมปริมาณ/ชนิดของวัตถุดิบ รวมไปถึงกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพจะต้องสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสัมพันธ์กับการหาวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตด้วย นอกจากนี้ ยังมีระบบการทำความสะอาดก๊าซชีวภาพ รวมไปถึงเทคโนโลยีของเครื่องกลสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่สำคัญอย่างมาก

“ปัจจุบัน การลงทุนการสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพต่อแห่งที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1 เมกะวัตต์ จะต้องใช้งบประมาณราว 50 ล้านบาท ซึ่งทำได้หากท้องถิ่นนั้นมีวัตถุดิบ” รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยศรี กล่าว

 

 

ทั้งนี้การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน หัวข้อ “ความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ” ภายใต้โครงการผู้นำความคิดเพื่อความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนนักศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกที่สำคัญ และเป็นประโยชน์ในการสร้างความมั่นคงทางไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ที่ต้องการส่งเสริมให้สังคมมีส่วนร่วมในการใช้พลังงานทดแทน ตามแนวคิดที่วางไว้ว่า “ใช้พลังงานทดแทนเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน” หรือ Clean Energy For Life

 

Tag :

Mostview

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

เศรษฐกิจไม่ดี! KFC-Pizza Hut ในจีน ดึงกลยุทธ์สุดฤทธิ์เรียกลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

Yum China Holdings เจ้าของ KFC และ Pizza Hut เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในจีน วางแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ยังไม่เคยเปิด โดยใช้กลยุทธ์ขายเมนูในราคาต่ำเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในจำนวนมาก

SmartSME Line