วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2567

โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ชู Sustainable Strategy เปลี่ยนเพื่อรอดในโลก Next Normal

by Smart SME, 23 ธันวาคม 2563

25 พฤศจิกายน 2563 ณ ทรู ดิจิทัล พาร์ค ภายในงาน ‘Trends Hunter 2021’ สัมมนาที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs และ STARTUP รู้ทันโลกการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ดิจิทัลรอบด้าน โดย ‘โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์’ หนึ่งในผู้สนับสนุนหลักการจัดงานครั้งนี้ ก็ได้มาร่วมแบ่งปันความรู้ หัวข้อ ‘Sustainable Strategy เปลี่ยนเพื่อรอดในโลก Next Normal’ ผ่านกรณีศึกษาของผู้ประกอบการชุมชนที่เข้าร่วมโครงการฯ

 

 

เชื่อว่า SMEs หลายคนคงรู้จัก ‘โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์’ กันมาบ้างแล้ว ว่าเป็นโครงการที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก ผ่านการพัฒนาศักยภาพให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน โดยนำองค์ความรู้ของโตโยต้า ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบท และความพร้อมของธุรกิจชุมชนนั้นๆ ภายใต้หลักการ รู้-เห็น-เป็น-ใจ และวัดผลการปรับปรุงผ่าน 5 ดัชนีชี้วัดทางธุรกิจ คือ การเพิ่มผลผลิต, เพิ่มคุณภาพ, ส่งมอบทันเวลา, การจัดการสินค้าคงคลัง และลดต้นทุนการผลิต จนเกิดเป็นการทำงานแบบมืออาชีพ และเติบโตไปอย่างยั่งยืน

 

 


คุณมนัสชญาณ์ อู่สมบัติชัย ผู้ผลิต ก๋วยจั๊บกึ่งสำเร็จรูป แบรนด์ จั๊บ จั๊บ (JUB JUB) หนึ่งในธุรกิจชุมชนจากอุบลราชธานีที่เข้าร่วมโครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ เล่าว่า หลังจากมีโอกาสร่วมเดินทางไปดูงานในบริษัทแห่งหนึ่ง ได้เห็นภาพวัตถุดิบเสียทิ้งระหว่างการผลิตจำนวนมาก ซึ่งโครงการนี้ก็มีแนวทางการทำงานที่สามารถลดของเสียได้จริง ทำให้สะท้อนมาถึงธุรกิจของตนเองที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกันอยู่ เลยตัดสินใจขอคำปรึกษากับทีมโตโยต้า เพื่อเข้าร่วมโครงการฯ

จั๊บ จั๊บ คือผลิตภัณฑ์ก๋วยจั๊บญวนกึ่งสำเร็จรูป ที่นำงานวิจัยของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมาพัฒนาต่อยอด หลังจากเข้าสู่กระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ดำเนินงานเองทุกขั้นตอน จึงเห็นปัญหามากมาย เช่น ปัญหาเรื่องคุณภาพสินค้าที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ระยะเวลาการผลิตไม่ทันตามเวลา พนักงานต้องทำโอทีเพิ่ม ทำให้ต้นทุนการผลิตมีราคาสูง ด้วยความรู้ในกระบวนการผลิตไม่มากพอ จึงเสียโอกาสทางธุรกิจไปมากมาย และเสียเปรียบคู่แข่งขันที่พร้อมมากกว่า

หลังจากทีมโตโยต้าเดินทางมาโรงงานเพื่อศึกษาถึงปัญหาอย่างใกล้ชิด ทำให้เห็นแนวทางแก้ไขของกระบวนการผลิตมากมาย เช่น เรื่องของเส้นก๋วยจั๊บไม่เท่ากัน ทางอาจารย์จากโตโยต้าก็ได้แนะนำให้ทำบล็อกเพื่อกำหนดความกว้างของเส้นให้มีขนาดเท่ากัน ส่วนการทำงานที่ช้า ก็ได้ปรับมาจัดวางพื้นที่การทำงานรวมไว้ในจุดเดียว เพื่อลดเวลาการลุกเดินไปยังกระบวนการผลิตส่วนต่างๆ จนเกิดความคล่องตัว และลดเวลาการทำงานได้มากขึ้น ตามหลักการทำงานที่ยั่งยืนของโตโยต้า คือ

 


‘รู้’ รู้ถึงปัญหา ก่อนหน้านี้เรารู้ว่าปัญหาคือเรื่องคอขวดที่ใช้เวลาในการผลิตนาน แต่หลังจากโตโยต้าเข้ามา ทำให้เรารู้ถึงปัญหาอื่นๆ มากขึ้น

‘เห็น’ ทำให้เห็นถึงแนวทางแก้ไขปัญหา ว่าเราจะเดินไปในทิศทางไหนต่อไป แล้วการแก้ปัญหาจะมีวิธีไหนบ้างที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุน หรือลงทุนให้น้อยที่สุด ซึ่งโตโยต้าเข้ามาช่วยจัดกระบวนการทำงานให้ได้ผลผลิตมากขึ้น

‘เป็น’ คือนอกจากทีมอาจารย์จากโตโยต้าจะช่วยให้เราทำเป็นแล้ว แต่ด้วยการทำธุรกิจมักมีปัญหาต้องคอยแก้ไข และจัดการตลอดเวลา องค์ความรู้ที่ได้รับมา จึงทำให้เรานำไปคิดต่อยอดได้อีกมากมาย และสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง

‘ใจ’ คือการเข้าใจ ใส่ใจ และภูมิใจ ซึ่งเป็นการวัดความพึงพอใจทั้งจากตัวลูกค้า และตัวเราเอง ว่าสิ่งที่เราทำไปทั้งหมดนั้น เราพึงพอใจรึยัง เราพอใจกับผลผลิตที่ได้รับหลังจากปรับเปลี่ยนการทำงานมากน้อยแค่ไหน และยังส่งผลไปถึงลูกค้าด้วย เพราะจะช่วยทำให้เกิดความพึงพอใจทั้งด้าน คุณภาพ ราคา จนทำให้ตลาดเติบโตขึ้นไม่สิ้นสุด

ปัจจุบัน จั๊บ จั๊บ สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น 50% ส่งมอบสินค้าตรงตามเวลา 100% บริหารสต๊อกสินค้าตรงความต้องการลูกค้ามากขึ้น รู้ว่าควรสั่งสินค้าเมื่อไหร่ ต้นทุนวัตถุดิบเหลือทิ้งลดลง จากการทำสติ๊กเกอร์สีเพื่อระบุ Shelf Life ของวัตถุดิบ และการให้พนักงานมาร่วมแบ่งปันข้อมูลผ่านการเขียนกระดานไวท์บอร์ด ทั้งยังนำข้อมูลจากกระดานมาวิเคราะห์ พัฒนาต่อยอด จนสามารถส่งออกไปขายในต่างประเทศมากขึ้น และยืนได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน ผ่านการปันความรู้แบบ Sustainable Strategy ของโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์’ 

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีนักธุรกิจและนักวางกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลอีกมากมาย ที่มาร่วมกันไล่ล่าเทรนด์ดิจิทัลรอบด้านทั้ง Data, Content Marketing, Influencer Marketing และ e-Commerce อาทิ คุณชินตา ศรีจินตอังกูร จาก นีลเส็น, คุณพลาวุฒิ เจริญจิตมั่น เจ้าของแบรนด์ Super Lock, คุณสโรจ เลาหศิริ จาก Rabbit Digital Group, คุณอริญญา เถลิงศรี จาก SEAC, คุณวีรพล สวรรค์พิทักษ์ จาก อีมิแน้นท์แอร์, คุณนิรันดร กาบบัว จาก ADSIDEA Digital Agency, คุณชัยวัฒน์ นันทิรุจ จาก เอกา โกลบอล, คุณกิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ จาก ซิงเกอร์ประเทศไทย, คุณณัฐพล ม่วงทำ จากเพจ การตลาดวันละตอน

 

 


คุณชินตา ศรีจินตอังกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด แชร์ความรู้ ‘Trends Hunter จับตาเทรนด์การตลาดโลกใหม่’ โดยชี้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้คนไทยหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น และนิยมใช้งานแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษา การช้อปปิ้ง และเอนเตอร์เทนเมนต์รูปแบบต่างๆ จึงเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจ SMEs หลายกลุ่ม โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม FMCG (Fast-Moving Consumer Goods) และด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคขณะนี้มีความต้องการสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงควรใช้ช่องทางการสื่อสารหลายรูปแบบ พร้อมกำหนดราคาหลายระดับเพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือก และชี้ให้ผู้บริโภคเห็นถึงความจำเป็นในสินค้านั้นๆ ได้


คุณสโรจ เลาหศิริ นักวางกลยุทธ์และ CMO บริษัท Rabbit Digital Group แชร์ความรู้ ‘Genderless Shopper เกาะเทรนด์นักช้อปยุคใหม่ในวันที่สินค้าไร้เพศ’ โดยชี้ว่าโลกยุคนี้กำลังขับเคลื่อนเข้าสู่ยุค Genderless เนื่องจากผู้บริโภคมีส่วนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ไม่มีการระบุเพศมากขึ้น เป็นผลมาจากการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศ และความหลากหลายทางเพศที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการจึงควรคว้าโอกาสนี้ด้วยการออกแบบสินค้าให้ Genderless ใช้ได้กับทุกคน ไม่ไปกำหนดกฎเกณฑ์ว่าสีนี้หรือรูปแบบนี้จะใช้ได้เฉพาะเพศหญิง หรือผู้ชายเท่านั้น พร้อมทลายกรอบของเพศด้วยการตลาด และการสื่อสารแบบ Genderless และตั้งกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ เพื่อยิงแคมเปญออกไปให้เข้าถึงกลุ่ม Genderless มากขึ้น

 


คุณณัฐพล ม่วงทำ Founder and Creator of การตลาดวันละตอน แชร์ความรู้ ‘สร้างธุรกิจโตไม่หยุดด้วยอาวุธ Data’ โดยชี้ว่า Data เป็นเครื่องมือที่เข้ามาช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้น แต่หลายคนมักไม่รู้จะเริ่มต้นใช้ Data ยังไง เราจึงควรเริ่มต้นง่ายๆ จากสิ่งที่เราอยากรู้ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ Data จึงไม่ใช่เรื่องของเครื่องมือแต่เป็นเรื่อง Mindset ที่ต้องเริ่มตั้งคำถามว่าเราจะรู้จักลูกค้ามากขึ้นได้อย่างไร เรามี Data อยู่ตรงไหนบ้าง

 


พร้อมกันนี้ ยังมีการให้คำปรึกษาด้านต่างๆ จากบูธของเหล่าผู้สนับสนุน อาทิ SME Thailand, ไปรษณีย์ไทย, โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย, Alibaba.com, TikTok For Business และเอกา โกลบอล ซึ่งในยุคแห่งความไม่แน่นอน และมีเรื่องใหม่ๆ ให้ SMEs ต้องปรับตัวตลอดเวลา การเข้าใจเทรนด์ และนำเทรนด์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดความยั่งยืนกับธุรกิจ และสังคมมากที่สุด ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีโอกาสโตยิ่งขึ้น


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line