วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2567

แนะวิธีเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้ธุรกิจยังอยู่รอด บนยุคดิจิทัล

by Smart SME, 27 มกราคม 2564

ด้วยสถานการณ์ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในปัจจุบัน ทำให้อีกหนึ่งทางรอดของผู้ประกอบการ ก็คือการพาธุรกิจเข้าสู่ดิจิทัล รวมถึงการบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพและควบคุมต้นทุนให้ได้มากที่สุด แต่ด้วยข้อจำกัดของ SMEs รายเล็ก ๆ ที่มีพนักงานไม่มากนัก ก็อาจจะไม่มีเงินมากพอไปจ้างพนักงานจำนวนมาก หรือสร้างระบบขึ้นมาใช้เองได้ ส่วนใหญ่จึงปล่อยให้บริษัทรับทำบัญชี-ตรวจสอบบัญชี คอยช่วยเหลือ รวมไปถึงทำกันเองในบริษัท แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต่างรู้ดีว่าเรื่องเงินถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่เจ้าของกิจการต้องรับรู้ความเคลื่อนไหว และได้เห็นภาพรวมตลอดเวลาแบบเรียลไทม์ นั่นจึงทำให้หลายองค์กรพัฒนาแพลตฟอร์มระบบบริหารการเงินขึ้นมามากมาย เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการจัดการการเงินได้ง่ายดายยิ่งขึ้น

และในยุคที่เทคโนโลยีได้ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สังคมไร้เงินสดได้กลายเป็นเรื่องปกติ จนหลายคนต่างเข้าใจดีว่า ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญมากต่อการทำธุรกิจ บวกกับช่วงล็อคดาวน์ที่ผ่านมามีการใช้ดิจิทัลแบงก์กิ้งเพิ่มขึ้นกว่า 93% ดิจิทัลแบงก์กิ้งของธนาคารหลายแห่งจึงพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ประสบการณ์การทำธุรกิจให้เป็นมากกว่าตัวช่วยจัดการเงินเข้า-ออกเท่านั้น ซึ่งแพลตฟอร์มของแต่ละธนาคารก็จะมีจุดแข็งจุดด้อยแตกต่างกันไป แต่หากมองถึงดิจิทัลแบงก์กิ้งที่มีความโดดเด่นในเรื่องการใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน และเป็นมากกว่า Internet Banking ธรรมดา ๆ แต่เป็น New Digital Management Platform ที่เชื่อมโยงส่วนของ Financial และ Non-Financial เข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถบริหารและจัดการธุรกิจได้ในระบบเดียว ก็คงต้องยกให้แพลตฟอร์ม Business ONE ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ จาก TMB เพราะถูกออกแบบและพัฒนามาเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานใหม่ที่ดีกว่าเดิม พร้อมเป็นผู้ช่วยหลักในการบริหารงานของผู้บริหารธุรกิจขนาดใหญ่และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการธุรกิจร้านชานม มีหลายสาขา เปิดขายทั้งออฟไลน์ และออนไลน์เดลิเวอรี่ และมีลูกค้า Turnover อยู่ตลอดเวลา การใช้งานแพลตฟอร์ม Business ONE นอกจากจะช่วยให้เราทำธุรกรรมได้รวดเร็วแล้ว ฟีเจอร์ต่าง ๆ ยังช่วยให้เราบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพได้มากขึ้นด้วย เพราะมีการแสดงข้อมูลรายการครบถ้วนแบบเรียลไทม์ ตรวจสอบได้ด้วยตัวเองว่ารับเงินจากใครผ่านช่องทางไหน แถมยังดูสรุปข้อมูลภาพรวมแบบกราฟตามช่วงเวลาที่เราต้องการ เพื่อนำไปวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจ และวางแผนในอนาคตได้ แต่ที่เด็ดสุด ๆ คือการเชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ ที่ SMEs ใช้งานอยู่แล้ว เช่น ระบบ HR Management เพื่อการบริหารธุรกิจได้อย่างยั่งยืน เพิ่มโอกาสการเติบโตทางธุรกิจได้ในยุคนี้

โดยแพลตฟอร์ม Business ONE จะเข้ามาสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ใช้งานง่ายขึ้น SMEs สามารถทำทุกธุรกรรมได้ครบจบในระบบเดียว หรือแม้แต่การทำรายการต่าง ๆ พร้อมกันได้หลายรายการในครั้งเดียว ทั้งยังเห็นข้อมูลที่ครบพร้อมสั่งการได้ทันที ซึ่งการพัฒนาแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมา เกิดจากการเก็บข้อมูลปัญหาต่าง ๆ จากผู้ใช้งานจริง เพื่อนำมาปรับเปลี่ยนระบบให้ตอบโจทย์ได้อย่างแท้จริง

ดังนั้นมาดูกันว่า เราจะนำดิจิทัลแพลตฟอร์มมาช่วยในการบริหารธุรกิจให้มีประสิทธิภาพจะช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจได้อย่างไรบ้าง

เริ่มจากชีวิต SMEs ยุคใหม่ต้องง่ายขึ้น เลิกเสียเวลากับดิจิทัลแบงก์กิ้งแบบเก่า ๆ ที่ยุ่งยาก-หลายขั้นตอน

เพราะดิจิทัลแบงก์กิ้งโดยทั่วไป กว่าจะทำรายการใดรายการหนึ่งเสร็จ ก็มักจะต้องเข้าเมนูหลายขั้น จะทำรายการอะไรก็ต้องรู้และเลือกวิธีการจ่ายเงินเองเพื่อให้ทันเวลา และคุ้มค่าที่สุด ทั้งการอัปโหลดไฟล์ก็ต้องรอระบบนาน Business ONE จึงพัฒนาฟีเจอร์ Quick Menu เพื่อกำหนดเมนูที่ใช้งานบ่อยได้ด้วยตัวเองไว้ที่หน้าแรก และมี Payment Assistant ตัวช่วยแนะนำประเภทการโอน – จ่ายที่เหมาะสมกับบัญชีปลายทางของผู้รับ จำนวนเงิน และวันที่รายการมีผล พร้อม Smart Import ที่สามารถทำรายการอื่นไปด้วยได้ขณะที่ต้องอัปโหลดไฟล์ขนาดใหญ่อยู่ จึงช่วยให้การโอนเงินให้คู่ค้า โอนเงินเดือนพนักงาน และการจ่ายบิลทำได้คล่องตัวขึ้น ซึ่งตัวช่วยเหล่านี้ก็จะทำให้การทำรายการหรือโอนจ่ายมีความผิดพลาดน้อยลง แค่นี้ก็ทำให้การหมุนเงินในธุรกิจหรือการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจดำเนินไปได้ด้วยดี

ต่อด้วยการจัดระเบียบข้อมูลรายรับ-รายจ่ายใหม่ อยากรู้อะไรเรียกดูได้ทันที เพื่อตรวจสอบข้อมูลอย่างถูกต้องแม่นยำ

เมื่อ SMEs ต้องการดูข้อมูลการรับ-จ่ายย้อนหลัง จากเดิมเราก็ต้องไปไล่ดูจาก Statement ซึ่งบางรายการไม่ได้แสดงผลแบบเรียลไทม์ก็ทำให้ต้องเสียเวลาไปไม่น้อย Business ONE จึงพัฒนาฟีเจอร์ Real-Time Update เพื่อแสดงข้อมูลรายการครบถ้วนแบบเรียลไทม์ ตรวจสอบง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะรับเงินจากใครผ่านช่องทางไหน และมี Live Search เพื่อค้นหารายการนั้น ๆ ง่ายขึ้น เพียงแค่พิมพ์คำที่ต้องการค้นหา ไม่ว่าจะเป็นชื่อคู่ค้า จำนวนเงิน หรือ keyword อะไรก็ได้ ก็จะพบรายการที่ต้องการทราบทันที ช่วยให้ตรวจสอบความผิดปกติทั้งเรื่องของรายรับรายจ่ายได้ทันที ทำให้วิเคราะห์หารายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ ช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจได้อีกทาง

และสุดท้ายการตามติดภาพรวมธุรกิจได้ทุกวัน ใช้ฐานข้อมูลมาวิเคราะห์พร้อมปรับกลยุทธ์ทันที

เพราะเรากำลังเข้าสู่โลกของการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งดิจิทัลแบงก์กิ้งส่วนใหญ่ ไม่ว่าการทำธุรกรรมใด ๆ ก็มักจะไม่เห็นภาพรวมทางการเงินของบัญชีธุรกิจ จะมีก็เพียงรายงานตัวเลขสรุปเป็นเดือน ๆ ไม่ได้เห็นแบบเรียลไทม์ ซึ่งมันอาจจะไม่เพียงพอสำหรับยุคนี้แล้ว

Business ONE จึงพัฒนาฟีเจอร์ Smart Dashboard เพื่อช่วยให้บริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ รับรู้ภาพรวมการรับจ่ายเงินในรูปแบบกราฟตามช่วงเวลาที่คุณต้องการ และมองเห็นรายการที่รอการอนุมัติจากคุณ รวมถึง Open API ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลจาก Business ONE ไปยังระบบอื่น ๆ ทำให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจสูงสุด เช่น ระบบ HR Management ช่วยให้ SMEs ไม่ต้องเสียเวลา และประเมินภาพรวมของธุรกิจได้แบบวันต่อวัน เพื่อจะได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์ เพื่อปรับกลยุทธ์ได้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

สรุปได้ว่า Business ONE ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ จาก TMB คือการพัฒนาไปอีกขั้นของดิจิทัลแบงก์กิ้งในบ้านเรา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ SMEs ไว้อย่างเข้าใจเทรนด์ธุรกิจ พร้อมต่อยอดโอกาสได้ทันท่วงที เนื่องจากเป็น

• ONE Platform ที่ให้ผู้ประกอบการทำทุกธุรกรรมได้ครบจบในระบบเดียว
• ONE to Control ให้ผู้ประกอบการควบคุมหลายรายการพร้อมกันได้ในครั้งเดียว และ
• ONE to Command: ให้ผู้ประกอบการเห็นข้อมูลที่ครบพร้อมสั่งการได้อย่างง่ายดาย

Business ONE ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ถือเป็นระบบที่มีความสมาร์ทและเหมาะกับคนสมาร์ท เราจึงขอการันตีเลยว่า หากคุณเป็น SMEs สุดคูลที่ชอบใช้เทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อนความยั่งยืนทางธุรกิจ ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่คุณต้องพลาด! เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ tmbbank.com/smartsme/fb หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Corporate Call Center 02-643-7000

Tag : TMB SMEs

Mostview

คู่รักนักธุรกิจอินเดียบริจาคทรัพย์สิน 890 ล้านบาท พร้อมออกบวชเข้าสู่เส้นทางศาสนา

คู่รักชาวอินเดียผู้มั่งคั่งจากรัฐคุชราตได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านรูปี (ประมาณ 890 ล้านบาท) เพื่อบวชเป็นพระ หลังได้รับแรงบันดาลใจจากการบวชของลูกชาย และลูกสาว

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line