วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 9, 2567

สรุปสถิติที่สำคัญ “รายได้-ผู้ใช้งาน-การมีส่วนร่วม” ของ TikTok ในปี 2021

by Anirut.j, 8 มิถุนายน 2564

TikTok แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่นำเสนอคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอ กลายเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมของผู้คนในยุคปัจจุบันที่ต้องโหลดแอปพลิเคชันนี้ไว้ติดโทรศัพท์มือถือ

จุดเริ่มต้นของ TikTok เกิดจาก 2 แอปพลิเคชัน โดย Bytedance บริษัทยักษ์ใหญ่จากจีนได้เปิดตัวแอปพลิเคชันแชร์วิดีโอซึ่งมีชื่อเรียกว่า Douyin ในปี 2016 จากนั้นมีการแยกตัวออกจากจีน และตั้งชื่อให้มีความเป็นสากลมากขึ้น คือ TikTok ในปี 2017

ความนิยมของ TikTok เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่ม Millennials และ Generation Z ที่มีการเข้าใช้งานในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม TikTok ถูกโยงเข้าเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง เมื่อ Donald Trump อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ออกมาแบน TikTok ด้วยเหตุผลว่าบริษัทจากจีนเป็นภัยต่อความมั่นคง พร้อมทั้งบีบให้ TikTok ต้องขายบริษัท ซึ่ง ณ ตอนนั้นมี Microsoft ที่ให้ความสนใจเข้าซื้อกิจการ แต่เรื่องนี้ก็ไม่เกิดขึ้นหลังมีคำพิพากษาให้ระงับดำเนินการเรื่องนี้ เช่นเดียวกับที่อินเดีย TikTok ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น แต่ต้องถูกรัฐบาลสั่งแบน เพราะเกิดความขัดแย้งระหว่างอินเดียกับจีน

หากมองภาพรวม TikTok ยังถือเป็นแอปพลิเคชันที่ยังน่าสนใจ สามารถนำมาต่อยอดทั้งในเรื่องความบันเทิง โปรโมทสินค้า สร้างเครือข่ายทางโซเชียลมีเดียขึ้นมาให้เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไป โดยบทความนี้ Smartsme ได้สรุปสถิติที่น่าสนใจของ TikTok ในปี 2021 มาให้ได้อ่านกัน

1.ผู้ใช้งาน TikTok ใช้เวลามากกว่า 850 นาที/เดือน บนแอป

ตามรายงานจาก Statista (เก็บข้อมูลในเดือน มีนาคม 2020) พบว่าผู้ใช้งาน TikTok ในสหรัฐฯ มีค่าเฉลี่ยใช้งานแอปฯ อยู่ที่ 858 นาที ต่อเดือน หากดูข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2019 ถึงมีนาคม 2020 จะเห็นอัตราค่าเฉลี่ยการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

  • เดือนตุลาคม 2019 ค่าเฉลี่ยการใช้งาน 442.9 นาที/เดือน
  • เดือนพฤศจิกายน 2019 ค่าเฉลี่ยการใช้งาน 526.1 นาที/เดือน
  • เดือนธันวาคม 2019 ค่าเฉลี่ยการใช้งาน 561.2 นาที/เดือน
  • เดือนมกราคม 2020 ค่าเฉลี่ยการใช้งาน 680 นาที/เดือน
  • เดือนกุมภาพันธ์ 2020 ค่าเฉลี่ยการใช้งาน 731.6 นาที/เดือน
  • เดือนมีนาคม 2020 ค่าเฉลี่ยการใช้งาน 858 นาที/เดือน

2.ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสหรัฐฯ 23% เคยใช้ และดูวิดีโอบน TikTok

การสำรวจของ Statista ในช่วงเดือนธันวาคม 2019 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามคิดเป็น 23% เคยใช้ และดูวิดีโอบน TikTok ขณะที่ 44% ระบุว่าไม่เคยใช้ และ 33% อ้างว่าพวกเขาไม่เคยได้ยินชื่อ TikTok มาก่อน

นอกจากนี้ มีข้อมูลที่น่าสนใจ พบว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในสหรัฐฯ ใช้งาน Tiktok มากขึ้นในช่วงของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19

3.คอนเทนต์ด้านความบันเทิงได้รับความนิยมมากสุด

ในเดือนมิถุนายน 2020 หมวดคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมบนแอปฯ TikTok ล้วนมียอดวิวมากกว่า 1 พันล้านครั้ง โดยคอนเทนต์ที่มียอดวิวสูงจะมีเนื้อหาที่ให้ความบันเทิงจากการติดแฮชแท็ก ไม่ว่าจะเป็น วิดีโอลิปซิงค์, เต้น ซึ่งวิดีโอเหล่านี้ผู้ใช้งาน Tiktok เต็มใจที่จะใช้เวลาดู

4.อันดับ 2 แอปฯ ดาวน์โหลดยอดนิยมบน iPhone ในปี 2020

TikTok เข้าป้ายมาเป็นอันดับ 2 ของแอปฯ ดาวน์โหลดยอดนิยมมากที่สุดบน iPhone ในปี 2020 เป็นรองแค่ Zoom ซึ่งกลายเป็นแอปฯ ด้านการประชุมที่เติบโตขึ้นมาในช่วงโควิด-19 ระบาด โดย TikTok มียอดดาวน์โหลดเหนือกว่าแอปฯ อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Messenger, Gmail, Netflix, YouTube และ Instagram บนแพลตฟอร์ม Apple mobile

TikTok ทำได้ดีเป็นปีที่สองติดต่อกันบน iOS แพลตฟอร์ม หลังจากปี 2019 เป็นแอปฯ ยอดนิยมอันดับ 4

5.อัตราการมีส่วนร่วมต่อโพสต์สูงสุดบนโซเชียลมีเดีย

ข้อมูลจาก Upfluence เผยถึงอัตราการมีส่วนร่วมต่อโพสต์ของแพลตฟอร์ม Instagram, YouTube และ TikTok พบว่า TikTok มีอัตราการมีส่วนร่วมของผู้ใช้มากกว่า Instagram, YouTube เช่น Upfluence มีส่วนร่วมต่อโพสต์บน TikTok 17.96%, Instagram 3.86% และ YouTube 1.63%

6.TikTok ได้รับความนิยมในหลายประเทศในเอเชีย

อัตราการเติบโตของ TikTok ส่วนใหญ่จะมาจากประเทศในเอเชีย โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวได้รับความนิยมในหลายประเทศ เช่น กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, ไทย และเวียดนาม

7. 1.1 พันล้านคนคือตัวเลขผู้ใช้ทั่วโลก

ย้อนกลับไปในช่วงกลางเดือนปี 2918 เริ่มแรกแอปฯ TikTok / Douyin มีจำนวนผู้ใช้งานอยู่ที่ 500 ล้านยูสเซอร์ต่อเดือน ต่อมา TikTok ได้รับความนิยมอย่างมากในจีนแผ่นดินใหญ่จนอัตราการใช้งานเติบโตเพิ่มขึ้นสูงเรื่อย ๆ โดย Wallaroo ประมาณการว่า TikTok มีฐานผู้ใช้งานปัจจุบันอยู่ที่ 1.1 พันล้านคน

8. 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คือตัวเลขการใช้จ่ายของผู้ใช้งาน

ข้อมูลจาก Sensor Tower data เผยว่า รายได้ของ Tiktok เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนความนิยม และเป็นแอปฯ ที่ไม่ใช่เกมที่ทำรายได้สูงสุดทั่วโลกในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 มากกว่า 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.9 เท่า เมื่อเทียบกับรายได้ของเดือนกุมภาพันธ์ 2020

9.รายได้เกือบ 80% มาจากจีน

รายได้ของ TikTok คิดเป็น 79% มาจาก Douyin ในจีน ตามมาด้วยสหรัฐฯ คิดเป็น 8% นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก่อนการมาถึงของโฆษณาที่รายได้ช่วงนั้น 42% มาจากสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม รายได้ดังกล่าวไม่ได้รวมแอปเวอร์ชั่นแอนดรอยด์จากจีน ที่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม รายได้จากจีนสูงถึง 89% ของรายได้รวมจากแอปฯ

10.มากกว่า 90% ใช้งานผ่านแอนดรอยด์

ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ถือเป็นระบบที่ครอบงำตลาดสมาร์ทโฟน โดยยอดดาวน์โหลดแอปฯ TikTok มากกว่า 90% เกิดขึ้นจากระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีเพียงแค่สหรัฐฯ เท่านั้นที่ใช้ iOS มากกว่า

TikTok ถือเป็นแอปพลิเคชันที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาประยุกต์ใช้โปรโมทสินค้า คิดไอเดียทางการตลาด ผ่านวิดีโอ ซึ่งจะเป็นผลดีกับแบรนด์เป็นอย่างมาก ดูได้จากสถิติการมีส่วนร่วม ซึ่งผู้ประกอบการอาจจะใช้ TikTok เป็นช่องทางที่จะดึงลูกค้าเข้ามาสู่ช่องทางการขายหลักอย่างเว็บไซต์ หรือ Facebook

ที่มา:

https://influencermarketinghub.com/tiktok-stats/?fbclid=IwAR15o3RKhlHWEu_h2ERsiVWhVcaSBSjE0dNO-alDwnGGag_0C8MfWHWX6gA 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


Mostview

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

เศรษฐกิจไม่ดี! KFC-Pizza Hut ในจีน ดึงกลยุทธ์สุดฤทธิ์เรียกลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

Yum China Holdings เจ้าของ KFC และ Pizza Hut เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในจีน วางแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ยังไม่เคยเปิด โดยใช้กลยุทธ์ขายเมนูในราคาต่ำเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในจำนวนมาก

SmartSME Line