วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 9, 2567

จัดอันดับแบรนด์ถูกเลือกซื้อมากที่สุด “มาม่า-เนสกาแฟ” ยืนหนึ่งครองใจผู้บริโภค

by Anirut.j, 17 มิถุนายน 2564

สินค้าอุปโภค/บริโภค เป็นกลุ่มสินค้าที่ผู้คนส่วนใหญ่ต้องกิน ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน แม้จะเป็นสินค้าในกลุ่มเดียวกัน แต่ผู้บริโภคมักจะมีแบรนด์ในดวงใจเวลาตัดสินใจซื้ออยู่แล้ว

Kantar บริษัทด้านข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาทางการตลาดระดับโลก เปิดข้อมูลการจัดอันดับ Brand Footprint 2021 โดยนำ 572 แบรนด์ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) มาวิเคราะห์ครอบคลุมการใช้จ่ายออนไลน์ และออฟไลน์ เพื่อสะท้อนพฤติกรรมของผู้บริโภค 26 ล้านครัวเรือนในประเทศไทย ผ่านการวิเคราะห์โดยมาตรวัด Consumer Reach Point (CRPs) ซึ่งวัดความแข็งแกร่งของแบรนด์ในแง่ของจำนวนครั้งการเข้าถึงผู้บริโภคตลอดทั้งปี 2020

สำหรับการจัดอันดับของ Kantar แบ่งหมวดหมู่ ดังต่อไปนี้

Most Chosen Brand แบรนด์ยืนหนึ่งที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด

  • อันดับ 1 หมวดอาหาร “มาม่า” อัตราเข้าถึงผู้บริโภค 170 ล้านครั้ง
  • อันดับ 1 หมวดเครื่องดื่ม “เนสกาแฟ” อัตราเข้าถึงผู้บริโภค 135 ล้านครั้ง
  • อันดับ 1 หมวดนม “ดัชมิลล์” อัตราเข้าถึงผู้บริโภค 177 ล้านครั้ง
  • อันดับ 1 หมวดผลิตภัณฑ์ดูแลบ้าน “ไฮยีน” อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 112 ล้านครั้ง
  • อันดับ 1 หมวดผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว “คอลเกต” อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค ล้าน 117 ครั้ง
  • อันดับ 1 หมวดความงาม “การ์นิเย่” อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 30 ล้านครั้ง

Top Growing Brands แบรนด์ดาวรุ่งที่ผู้บริโภคเลือกซื้อเติบโตสูงสุด

  • อันดับ 1 หมวดอาหาร “Aroy-D” อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 37 ล้านครั้ง เติบโต 9 ล้านครั้ง
  • อันดับ 1 หมวดเครื่องดื่ม “C-vitt” อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 22 ล้านครั้ง เติบโต 11 ล้านครั้ง
  • อันดับ 1 หมวดนม “Dmalt” อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 27 ล้านครั้ง เติบโต 6 ล้านครั้ง
  • อันดับ 1 หมวดผลิตภัณฑ์ดูแลบ้าน “Omo” อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 68 ล้านครั้ง เติบโต 4 ล้านครั้ง
  • อันดับ 1 หมวดผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว “Bennett” อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 37 ล้านครั้ง เติบโต 6 ล้านครั้ง
  • อันดับ 1 หมวดความงาม “Nivea” อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 15 ล้านครั้ง เติบโต 1 ล้านครั้ง

Top Outstanding Brands แบรนด์ม้ามืดที่โดดเด่นมากที่สุด

  • “มรกต” อันดับ 1 น้ำมันปรุงอาหาร อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 70 ล้านครั้ง เติบโต 5 ล้านครั้ง โดยมาจากปัจจัยที่คนอยู่บ้านมากขึ้นจึงส่งผลต่อการทำอาหารรับประทานเอง ซึ่งน้ำมันปรุงอาหารเป็นสินค้าที่มีอัตรา CRPs เติบโตสูงสุดในสินค้า Cooking Material
  • “วิดอะเดย์” อันดับ 1 เครื่องดื่มผสมวิตามิน อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 3 ล้านครั้ง (ในเขตเมือง) โดยมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญต่อความต้องการที่มากกว่าความชุ่มชื้นจากการบริโภคเครื่องดื่ม และ มองหาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสำหรับ “Immune-boosting” อย่างชัดเจน
  • “ชอปปี้” อันดับ 1 อีคอมเมิร์ซ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 8 ล้านครั้ง เติบโต 4 ล้านครั้ง (เติบโตสูงสุดจาก Retailer ทั้งหมด ทั้ง Offline และ Online) โดยการแพร่ระบาดยังส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรม Shopping More From Home ส่งผลให้การจับจ่ายสินค้า FMCG ผ่านช่องทาง Ecommerce มีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

Kantar มองถึงภาพรวมสินค้าอุปโภค/บริโภคในไทยว่า ปี 2020 เป็นปีที่คาดไม่ถึงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการที่ผู้บริโภคต้องอยู่บ้านมากขึ้นจึงทำให้แบรนด์อาหารเกิดการเติบโตตาม และคาดการณ์ว่าอีก 12-18 เดือนข้างหน้า การบริโภคภายในบ้านยังคงเติบโต เนื่องจากผู้คนยังคงใช้เวลาอยู่บ้านมากกว่าที่ผ่านมา

โดยในปี 2020 ตลาดสินค้าอุปโภค/บริโภค เติบโตเพียง 2% แม้จะเป็นตัวเลขที่ต่ำ แต่ก็เป็นอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบ 5 ปี สอดคล้องกับตลาดเอเชียที่เติบโต 3% ส่วนตลาด Global เติบโต 10% โดยมีสหรัฐฯ เป็นตลาดที่โดดเด่นที่สุด

ทั้งนี้ เรื่องที่นักการตลาดควรจับตามองเป็นพิเศษในปี 2021 คือ 1.เรื่องความสำคัญของสุขภาพอนามัย ที่ผู้บริโภคยอมจ่ายเงินที่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน 2.การอยู่บ้านยังคงมีความสำคัญ โดยสินค้าอุปโภค/บริโภค ต้องสร้างประสบการณ์มอบช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน และดูแลตัวเองได้ รวมถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3.อีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคหันมาใช้เป็นช่องทางจับจ่ายซื้อของ จากใช้ไม่เป็นปัจจุบันกลายเป็นความคุ้นชิน ดังนั้นแบรนด์จำเป็นต้องใช้ช่องทางนี้สื่อสารกับผู้บริโภค เพื่อรักษาลูกค้าที่มีอยู่ และรักษาความภักดีให้เหนียวแน่น


Mostview

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

เศรษฐกิจไม่ดี! KFC-Pizza Hut ในจีน ดึงกลยุทธ์สุดฤทธิ์เรียกลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

Yum China Holdings เจ้าของ KFC และ Pizza Hut เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในจีน วางแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ยังไม่เคยเปิด โดยใช้กลยุทธ์ขายเมนูในราคาต่ำเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในจำนวนมาก

SmartSME Line