วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2567

ตั้งแต่ 1 ก.ย.นี้ ผู้ประกอบการที่ซื้อโฆษณาผ่าน Facebook - Google จะต้องจ่าย VAT 7% เพิ่ม ภายหลัง พ.ร.บ. อี-เซอร์วิส ได้ประกาศใช้ในราชกิจจาฯ

by Smart SME, 20 สิงหาคม 2564

1 กันยายน 2564 นี้ มีความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับภาษีที่ผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้าอนไลน์ และฟรีแลนซ์ที่ทำงานในสาย Digital ต้องรู้ โดยเฉพาะบริษัทหรือคนที่มีการซื้อโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มต่างประเทศอย่างเช่น Facebook และ Google

เพราะล่าสุด พ.ร.บ. อี-เซอร์วิส ได้ถูกประกาศในราชกิจจาฯไปเรียบร้อยแล้ว และจะมีผลเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กันยายน ที่จะถึงนี้ (2564) ซึ่งกฏหมายที่ว่านี้จะให้อำนาจกรมสรรพากรในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในอัตรา 7% จากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการต่างประเทศ อาทิเช่น Facebook, Google, Amazon, Agoda, Airbnb หรือ Netflix เป็นต้น

โดยที่ก่อนหน้านี้ไม่นาน Facebook ได้แจ้งข้อมูลที่มีเนื้อหาสรุปความว่า การโฆษณาบน Facebook ในประไทยต้องมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม7% (Vat) ตามอัตราท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประเทศไทยจะเสียอยู่ที่อัตรา7% ทำให้ผลกระทบครั้งนี้ คงหนี้ไม่พ้น พ่อค้า แม่ค้า ออนไลน์ และธุรกิจที่ต้องมีการสื่อสาร ขายสินค้าทางออนไลน์ ที่จำเป็นต้องศึกษาและปรับตัวให้เท่าทันกฏหมายใหม่ที่กำลังจะเริ่มใช้ในเร็ววันนี้

โดยทางFacebook ได้ชี้แจ้งเงื่อนไขการเก็บภาษีเบื้องต้นดังนี้

- Facebook จะไม่บวกVat ในการซื้อโฆษณาบน Facebook ของผู้ใช้ ก็คือ ในช่วงซื้อโฆษณาผ่านFacebook จะยังเป็นราคาปกติที่เราเคยใช้ โดยภาษีจะเรียกเก็บย้อนหลังผ่านสรรพากรประเทศไทย
- ผู้ใช้ต้องรับผิดชอบในการประเมินตนเองและการจ่ายVatภายใต้การเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย
- Vat จะถูกเพิ่มทุกครั้งที่ผู้ใช้เรียกเก็บค่าโฆษณา เนื่องจากจะมีค่าบริการ ไม่ว่าจะซื้อโฆษณาบน facebook เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจหรือส่วนตัวก็ตาม
- นอกจากนี้ ทาง Facebook ได้แจ้งว่าตนเองไม่สามารถให้ข้อมูลทางภาษีได้ หากผู้ประกอบการมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่กรมสรรพากรได้โดยตรง

หลักเกณฑ์เงื่อนไขที่มีใน พ.ร.บ. อี-เซอร์วิส

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ และมาตรา 85/6 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534

อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๑๓ วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ไว้ดังต่อไปนี้

.

ข้อ 1 ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศและได้มีการใช้
บริการนั้นในราชอาณาจักรโดยผู้ใช้ซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๑๓ วรรคสองและวรรคสามแห่งประมวลรัษฎากร ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (แบบ P.P.01.9) ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th 

โดยต้องแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน และส่งเอกสารหลักฐานฉบับภาษาอังกฤษ ตามรายการ ดังต่อไปนี้

- กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล

1) หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยต้องมีข้อความเกี่ยวกับ
ชื่อผู้ประกอบการ ประเทศที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และวันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งหนังสือดังกล่าว ต้องผ่านการรับรองมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน จากกระทรวงการต่างประเทศ หรือโนตารีพับลิค หรือ หน่วยงานอื่นตามกฎหมายของประเทศที่มีการจดทะเบียน
2) หนังสือรับรองการมีถิ่นที่อยู่เพื่อการเสียภาษีในประเทศที่จดทะเบียน
เป็นนิติบุคคล (ถ้ามี)

- กรณีผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา

1) สำเนาหนังสือเดินทาง ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง รูปถ่ายของผู้ถือหนังสือเดินทาง และเลขที่ของหนังสือเดินทาง หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกอบการ โดยต้องผ่านการรับรองมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน จากกระทรวงการต่างประเทศหรือโนตารีพับลิค หรือหน่วยงานอื่นตามกฎหมายของประเทศนั้น
2) หนังสือรับรองการมีถิ่นที่อยู่เพื่อการเสียภาษีในประเทศที่มีถิ่นที่อยู่ (ถ้ามี)

ข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการ
ตามข้อ 1 และให้ดำเนินการ ดังนี้

1) กรณีผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แสดงรายการในคำขอ
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และส่งเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ให้อนุมัติและประกาศรายชื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มบนเว็บไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th โดยให้มีผลเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนนับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีผู้ประกอบการที่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนวันที่ ๑ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป

2) กรณีผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง
ดังต่อไปนี้ ไม่ให้อนุมัติเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

- ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ประกอบการเคยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน แต่ภายหลังถูกอธิบดีกรมสรรพากรสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากแสดงรายการในคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเท็จ หรือไม่มีสถานประกอบการจริงตามที่ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ได้ประกอบกิจการ หรือไม่ใช่ผู้ประกอบการให้บริการที่แท้จริง
- ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ประกอบการไม่ได้แสดงหรือนำส่งเอกสารหลักฐานตามข้อ 1 ต่อเจ้าพนักงานสรรพากรให้ครบถ้วน หรือเอกสารหลักฐานที่นำส่งไม่สอดคล้องกับคำขอจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นที่ใช้ในการประกอบกิจการ (Business Website) ตามที่ระบุไว้ในคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (แบบ P.P.01.9) ไม่มีอยู่จริง ทั้งนี้ คำสั่งไม่อนุมัติให้มีผลนับแต่วันที่ผู้ประกอบการดังกล่าวยื่นคำขอจดทะเบียน

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ข้อ 3 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสำคัญ ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (แบบ P.P.09.9) ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

การเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสำคัญตามวรรคหนึ่ง ได้แก่กรณีดังต่อไปนี้

1) การเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ประกอบการ (Name of VAT Operator) ที่อยู่ไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการประกอบกิจการ (Business Email Address) หรือที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นที่ใช้ในการประกอบกิจการ (Business Website) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรายการเกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น การเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัทจำกัด หรือการเปลี่ยนรายชื่อผู้ติดต่อ เป็นต้น
2) การหยุดประกอบกิจการชั่วคราวเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสามสิบวัน
3) การย้ายสถานประกอบการ
4) การเลิกประกอบกิจการ รวมถึงการเลิกประกอบกิจการเพื่อโอนกิจการทั้งหมด
ให้แก่ผู้ประกอบการอื่น และการเลิกประกอบกิจการเพื่อควบเข้ากันเป็นผู้ประกอบการรายใหม่

ข้อ 4 การแจ้งเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 3 ผู้ประกอบการ
จดทะเบียนต้องแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (แบบ P.P.09.9) ให้ถูกต้องครบถ้วนและส่งเอกสารหลักฐานฉบับภาษาอังกฤษตามรายการ ดังต่อไปนี้

1) กรณีการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ประกอบการ ให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อ
2) กรณีการย้ายสถานประกอบการ ให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการเปลี่ยนแปลงที่อยู่
3) กรณีการเลิกประกอบกิจการ รวมถึงการเลิกประกอบกิจการเพื่อโอนกิจการทั้งหมดให้แก่ผู้ประกอบการอื่น หรือการเลิกประกอบกิจการเพื่อควบเข้ากันเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ให้แนบภาพถ่ายหนังสือแสดงการเลิกประกอบกิจการ การโอนกิจการ หรือการควบเข้ากันเป็นผู้ประกอบการรายใหม่

กรณีเจ้าพนักงานสรรพากรร้องขอให้มีการรับรองเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องนำเอกสารหลักฐานที่ผ่านการรับรองมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน จากกระทรวง
การต่างประเทศ หรือโนตารีพับลิค หรือหน่วยงานอื่นตามกฎหมายของประเทศนั้นมาแสดงด้วย

ข้อ 5 ให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบการแจ้งเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 3 และข้อ 4 ก่อนรับทราบหรืออนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ข้อ 6 ให้ผู้อำนวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่หรือผู้ที่ผู้อำนวยการกองบริหาร
ภาษีธุรกิจขนาดใหญ่มอบหมาย เป็นผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้ประกาศรายชื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 และลงนามรับทราบหรืออนุมัติการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 5

ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป

.


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

คู่รักนักธุรกิจอินเดียบริจาคทรัพย์สิน 890 ล้านบาท พร้อมออกบวชเข้าสู่เส้นทางศาสนา

คู่รักชาวอินเดียผู้มั่งคั่งจากรัฐคุชราตได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านรูปี (ประมาณ 890 ล้านบาท) เพื่อบวชเป็นพระ หลังได้รับแรงบันดาลใจจากการบวชของลูกชาย และลูกสาว

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

SmartSME Line