วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2567

เปิดตัวเลขวงเงินช่วยประกันรายได้ให้เกษตรกรปลูก ข้าว-มันสำปะหลัง-ข้าวโพด พร้อมช่องทางสำหรับติดต่อ

by Smart SME, 31 ตุลาคม 2564

สืบเนื่องจากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติโครงการประกันรายได้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร รวม 3 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 27,390.09 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2564/65 วงเงิน 6,811 ล้านบาท และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้ฯ ปี 64/65 จำนวน 4 โครงการ รวมเงิน 291 ล้านบาท

2.) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2564/65 วงเงินรวม 1,863 ล้านบาท และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2564/65 จำนวน 2 โครงการ วงเงินรวม 45 ล้านบาท

3.) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 วงเงินรวมทั้งสิ้น 18,378 ล้านบาท ครอบคลุมเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 4.7 ล้านครัวเรือน ปลูกมันสำปะหลัง ประมาณ 5 แสนครัวเรือน และปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประมาณ 4.5 แสนครัวเรือน 

ซึ่งรัฐบาลได้เดินหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกร พร้อมมาตรการคู่ขนานรักษาเสถียรภาพราคาพืชผลทางการเกษตรที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 รวม 3 ชนิด ซึ่งประกอบด้วย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง วงเงินรวม 2.7 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมเกษตรกรกว่า 5.66 ล้านครัวเรือน

ในส่วนของการประกันรายได้เกษตรกรทั้ง 3 โครงการนี้ใช้งบประมาณรวม 2.2 หมื่นล้านบาท สำหรับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2564/65 ใช้วงเงินรวม 6,811 ล้านบาท ดูแลเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้ครอบคลุมกว่า 5.3 แสนครัวเรือน

.

.

รายละเอียดและเงื่อนไขจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา

โครงการดังกล่าว รวมวงเงินทั้งสิ้น 54,972,72 ล้านบาท โดยจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามรายละเอียดดังนี้

- จ่ายเงินเยียวยาให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไร่ละ 1,000 บาท
- จำกัดไม่เกิน 20 ไร่ต่อครัวเรือน หรือไม่เกิน 20,000 บาท

ขั้นตอน-ช่องทางเช็กเงิน

- เข้าเว็บไซต์ https://chongkho.inbaac.com/  
- กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมกดค้นหา
- สำหรับผู้ที่ได้รับเงินระบบจะขึ้นข้อมูลว่า “โอนเงินเรียบร้อยแล้ว” โดยจะแสดงชื่อโครงการ, เลขที่บัญชี, วันที่โอน, สาขา ธ.ก.ส. และสถานะ

ทั้งนี้ หากผู้ที่ไม่ใช่เกษตรกรตรวจสอบระบบจะขึ้นข้อมูลว่า “ไม่พบข้อมูลการลงทะเบียน (โปรดติดต่อหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรตามชนิดพืชที่ได้รับสิทธิตามโครงการ)”

เงื่อนไขจ่ายเงินประกันรายได้ข้าว

นอกจากนี้ ยังมีโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดราคาและปริมาณประกันรายได้คือ ราคาความชื้นไม่เกิน 15% ไม่เกินครัวเรือนละ 40 ไร่ ยกเว้นข้าวเจ้า ไม่เกิน 50 ไร่ โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าวดังนี้

- ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน
- ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
- ข้าวเจ้า 10,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน
- ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน
- ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน

ทั้งนี้ ผู้ได้รับสิทธิต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/65 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน–31 ตุลาคม 2564 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2564-28 กุมภาพันธ์ 2565

อย่างไรก็ตาม เงินเยียวยาเกษตรกรดังกล่าวต้องรอการพิจารณาเพื่อกำหนดวันเริ่มจ่ายเงินอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ แต่มั่นใจว่าจะทันฤดูกาลผลิตในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2564 นี้

 

รายละเอียดโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2564/65

- ประกันราคาหัวมันสำปะหลังสดเชื้อแป้ง 25% ราคากิโลกรัมละ 2.50 บาท
ครัวเรือนละไม่เกิน 100 ตัน และไม่ซ้ำแปลง
- ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนปลูกมันสำปะหลังกับกรมส่งเสริมการเกษตร ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 – 31 มีนาคม 2565
- ใช้เงินทุนจาก ธ.ก.ส. และรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ย และค่าบริหารจัดการให้กับ ธ.ก.ส.

ระยะเวลาโครงการ

- เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – 31 พฤษภาคม 2566

สำหรับผลการดำเนินโครงการในปี 2563/64 ได้จ่ายเงินชดเชยส่วนต่างทั้งสิ้นรวม 9 งวด โดยโอนเงินชดเชยให้เกษตรกรแล้ว 436,817 ครัวเรือน รวม 3,057 ล้านบาทซึ่งจะสิ้นสุดการจ่ายเงินงวดสุดท้ายในเดือนพฤศจิกายนนี้

สำหรับมาตรการคู่ขนาน 4 โครงการ มีรายละเอียดดังนี้

- โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลัง ปี 2564/65 วงเงินสินเชื่อ 690 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาดชดเชยดอกเบี้ย 41.40 ล้านบาท
- โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2564/65 วงเงิน 500 ล้านบาท
- โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต๊อกมันสำปะหลัง ปี 2564/65 วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาดชดเชยดอกเบี้ย 225 ล้านบาท
- โครงการเพิ่มศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลัง ปี 2564/65 วงเงิน 10 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี เนื่องจากการปลูกมันสำปะหลังจะต้องใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือน ทำให้เกษตรกรบางส่วนที่เริ่มปลูกช้าและใช้เวลาปลูกนาน ไม่สามารถรับสิทธิโครงการได้ทัน

ดังนั้น ในที่ประชุม ครม. ครั้งล่าสุดจึงได้เห็นชอบให้สิทธิเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2562/63 คือ กลุ่มที่แจ้งปลูกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 31 มีนาคม 2563 จำนวน 8.41 หมื่นครัวเรือนให้ได้สิทธิเข้าร่วมโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2563/64

โดยค่าใช้จ่ายในการชดเชยส่วนต่างกลุ่มดังกล่าวนี้ ยังคงภายใต้กรอบวงเงินโครงการเดิมตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 18 ส.ค.2563

.


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

คู่รักนักธุรกิจอินเดียบริจาคทรัพย์สิน 890 ล้านบาท พร้อมออกบวชเข้าสู่เส้นทางศาสนา

คู่รักชาวอินเดียผู้มั่งคั่งจากรัฐคุชราตได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านรูปี (ประมาณ 890 ล้านบาท) เพื่อบวชเป็นพระ หลังได้รับแรงบันดาลใจจากการบวชของลูกชาย และลูกสาว

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

SmartSME Line